สิงหาคม 2015

บทบาทของทรอม่า (ความปั่นป่วนคงค้าง) ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์



โดย วิศิษฐ์ วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 22 สิงหาคม 2558

มีผู้เข้าร่วมในหลักสูตรหนึ่งของผมคนหนึ่งเล่าว่า เธอไปเรียนมาหลายอาจารย์ในแนวทางคล้ายคลึงกันนี้ แต่เหมือนยังวิ่งวนอยู่ในเขาวงกต คือได้อะไรบางอย่าง แต่ไม่ยั่งยืน แล้วกลับมาตีบตันเหมือนเดิมเมื่อเวลาผ่านไปสองสามสัปดาห์ แต่เมื่อได้มาเรียนกับผมในเรื่องเยียวยาปม ทำให้เห็นแสงสว่าง หาทางเดินต่อไปได้


ทำไมต้องทำงานกับทรอม่า

ทรอม่าหรือปมหรือบาดแผลต่างๆ คือความปั่นป่วนที่ค้างคามาจากอดีต และพร้อมจะถูกสะกิดให้มีชีวิตขึ้นมาในปัจจุบัน เหมือนมีผีร้ายสิงสู่อยู่ในตัว และคนก็ไม่มีอำนาจบังคับควบคุม เมื่อผีร้ายกลับเข้ามา คนก็ถูกครอบครองด้วยระบบอัตโนมัติที่หลับใหลอย่างไม่เป็นตัวของตัวเอง และจะกระทำการรุนแรงทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น ทำให้การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงไม่ยั่งยืน ทำให้การปฏิบัติธรรมไม่คืบหน้า ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคน ก่อปัญหาอย่างหนักหน่วงให้กับสถาบันครอบครัวและองค์กรทุกประเภท

ในที่สุดผมได้ค้นพบว่า หากจะทำค่ายการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงให้ได้ผลอย่างยั่งยืน เราจะต้องทำงานเยียวยาปมและบาดแผลจากอดีตเหล่านี้ ข่าวดีคือ ในเวลานี้ หากประมวลผลรวบรวมงานวิจัยเรื่องดังกล่าวเข้ามาเชื่อมประสานและก่อประกอบกันเข้าแล้ว เราจะพบว่าการเยียวยาปมเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่ทำไม่ได้อีกต่อไป แต่เราอาจเรียนรู้กระบวนการเยียวยาและนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางได้ทุกๆ ภาคสนาม ไม่ว่าในเรื่องของการศึกษา สุขภาวะ การพัฒนาสังคม การเมือง หรือองค์กรต่างๆ อันหลากหลาย

อ่านต่อ »

คนไร้บ้านในสังคมที่เป็นธรรม



โดย ชลนภา อนุกูล
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 15 สิงหาคม 2558

ในปีค.ศ. ๒๐๑๓ แพ็ทริก แม็คคอนล็อก โปรแกรมเมอร์คนหนึ่งถือโอกาสออกกำลังกายด้วยการเดินไปทำงานที่อยู่ในเมืองแมนฮัตตันและพบกับ ลีโอ แกรนด์ คนไร้บ้านผิวสีอยู่ข้างถนน

หนุ่มน้อยแพ็ทริกในวัย ๒๓ ปี ต่อรองกับลีโอว่า ถ้าเขายอมไปเรียนการเขียนโปรแกรมที่ออฟฟิศของแพทริกวันละ ๑ ชั่วโมงทุกเช้าก่อนออฟฟิศเริ่มงาน โดยจะได้รับการสนับสนุนให้มีโน้ตบุ๊กขนาดเล็กพร้อมที่ชาร์จ ตลอดจนหนังสือสำหรับอ่านในช่วงที่นั่งเรียนเองอยู่ข้างถนน เขาจะได้รับเงิน ๑๐๐ ดอลลาร์

ลีโอ – คนไร้บ้าน – ยอมรับข้อเสนอ และใช้เวลา ๔ เดือนในการเรียนเขียนโปรแกรม จนกระทั่งเขียนแอพพลิเคชันสำหรับระบบแอนดรอยด์และไอโฟน และดาวน์โหลดขายได้เงินราว ๑๐,๐๐๐ ดอลลาร์

แต่ – ลีโอก็ยังเป็นคนไร้บ้าน - แม้จะเป็นคนไร้บ้านที่โด่งดัง มีสื่อมวลชนมาสัมภาษณ์ ได้ออกรายการทีวี มีผู้คนรู้จักทั่วประเทศ เขายังนอนข้างถนนแม้ในฤดูอันหนาวเหน็บ ยังต้องขอเงินซื้อข้าวจากคนอื่น เพราะไม่สามารถนำเงินของตัวเองออกมาจากธนาคารได้ ด้วยเหตุที่ไม่มีบัญชีธนาคารของตัวเอง เงินที่ได้จากการขายแอพพลิเคชันจึงอยู่ในบัญชีของแพทริก ซึ่งพยายามต่อรองให้ลีโอเปิดบัญชีธนาคารของตนเองให้ได้ภายใน ๑ ปี ถ้าทำไม่ได้ก็ขอให้เลือกศูนย์พักพิงคนไร้บ้านสักแห่งและแพทริกจะโอนเงินทั้งหมดเพื่อบริจาค ลีโอทำได้มากที่สุดก็เพียงการเดินไปจนเกือบถึงธนาคารแล้วหันหลังกลับ

อ่านต่อ »

จิตตปัญญา “สายโจร”



โดย ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 8 สิงหาคม 2558

ครั้งหนึ่งที่ผมนำหนังสือ เอนหลังฟัง ไปบริจาคที่ห้องสมุดของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และยังได้สนทนากับอาจารย์หลายท่านเรื่องการฟังและที่มาของหนังสือเล่มนี้ มีอาจารย์ท่านหนึ่งสอบถามว่า “ถ้าเราไม่อยากฟังจะทำอย่างไร เพราะกับบางคนเราก็ไม่อยากฟังเขาพูด”

ผมได้แต่หวังว่าคนที่อาจารย์ไม่อยากฟังไม่ใช่ผม (ฮา) เอาเข้าจริง คำถามนี้สะกิดใจผม ปัญหาอาจจะไม่ได้อยู่ที่ว่าจะฟังอย่างไรจึงจะได้ประสิทธิผล แต่อาจจะอยู่ที่เรา “ไม่อยากฟัง” ตั้งแต่ต้น

จากประสบการณ์ของตัวเองที่ฝึกฝนเรื่องการฟัง ผมเริ่มฝึกฝนมาจากวงสุนทรียสนทนาที่มีกฎเกณฑ์แน่นอน เช่น ต้องปล่อยให้คนในวงพูดไปอย่างน้อยสองคน จึงจะมีสิทธิ์พูดได้ หรือต้องไม่พูดแทรกระหว่างที่มีอีกคนพูด ซึ่งมีประโยชน์สำหรับผู้เริ่มต้น แต่กลับไม่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง

เพราะในชีวิตจริงเช่นชีวิตการทำงาน ไม่มีใครฟังใคร แรกๆ ที่ผมมาสนใจเรื่องการฟัง ผมพยายามจะไปเปลี่ยนแปลงคนอื่น แล้วรู้สึกเหนื่อย เพราะเรากลายเป็นผู้ควบคุมกฎ กลายเป็นคนที่รู้สึกขุ่นใจเมื่อหลายคนไม่ทำตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้ ผมเคยแม้กระทั่งเคาะระฆังกลางโต๊ะประชุม

อ่านต่อ »

Back to Top