ธันวาคม 2015

สถานะ อภิสิทธิ์ และอำนาจที่แฝงเร้น (๒)



โดย โอม รัตนกาญจน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 26 ธันวาคม 2558

ต่อจากความเดิมตอนที่แล้ว (ตีพิมพ์เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๘) อีกแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจคือ Rank สื่อสารผ่านร่างกายและท่าทีที่เราปฏิสัมพันธ์กับผู้คนอยู่ทุกขณะโดยที่เราอาจไม่ค่อยสังเกตเห็น อย่างไรก็ดี เราสามารถฝึกที่จะรู้เท่าทันต่อสัญญาณของสถานะและอำนาจที่ปรากฏในตัวเองและผู้อื่นได้ในชีวิตประจำวันได้


การสังเกตสัญญาณของคนที่มี Rank หรือสถานะสูงกว่า

(สามารถสังเกตได้ทั้งในที่ประชุม องค์กร ทีมงาน ครอบครัว สังคม หรือแม้กระทั่งในความสัมพันธ์)
  1. เป็นคนกำหนดเวลา สถานที่ และระยะเวลาในการพูดคุยหรือนัดหมาย
  2. มักพูดก่อน เป็นผู้นำการสนทนา แสดงออกและพูดตอนไหนก็ได้อย่างอิสระ และมีแนวโน้มพูดมากกว่าคนอื่น
  3. เวลามีปัญหามักจะรู้สึกว่าตัวเองไม่ใช่ส่วนหนึ่งของปัญหา ลูกน้องหรือคนอื่นต้องเปลี่ยน
  4. อยากเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับหรือขอความช่วยเหลือ ชอบให้คำแนะนำหรือเทศน์สอนมากกว่าการรับฟังความรู้สึกของอีกฝ่ายจริงๆ
  5. เป็นผู้กำหนดสไตล์การสื่อสารและคาดหวังให้คนอื่นเป็นเหมือนตน
  6. สามารถสบตาผู้อื่นได้อย่างไม่ประหม่า
  7. มักใช้เหตุผลและเป้าหมายเป็นหลัก มีแนวโน้มที่จะละเลยความรู้สึกของผู้อื่น
  8. ในที่ประชุม มักจะนั่งเอนหลัง ดูมั่นใจผ่อนคลายสบายๆ แม้อยู่ในสถานการณ์ที่กลุ่มมีปัญหาหรือความขัดแย้ง
  9. สามารถที่จะแซวหยอกล้อคนอื่นหรือปัญหาที่เกิดขึ้นให้เป็นเรื่องตลกได้โดยไม่ต้องคิดมาก

อ่านต่อ »

สถานะ อภิสิทธิ์ และอำนาจที่แฝงเร้น



โดย โอม รัตนกาญจน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 12 ธันวาคม 2558

ในงาน Facilitator จัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผมทำอยู่ทุกวันนี้ มีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจและมีประโยชน์อย่างมากในการทำความเข้าใจกับพลวัตและสิ่งที่เกิดขึ้นเบื้องหลังความแตกต่างขัดแย้งในสังคม องค์กร หรือแม้กระทั่งกับความสัมพันธ์ที่เรามีต่อผู้คนรอบข้างในชีวิตอย่างมีนัยยะสำคัญ

สิ่งนี้มักถูกแฝงเร้น ยากที่จะสังเกต หากแต่มีอิทธิพลปรากฏอยู่ในทุกๆ การพูดคุยปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ อาร์โนลด์ มินเดล (Arnold Mindell) นักจิตวิทยาผู้พัฒนางาน Process Work หรือจิตวิทยางานกระบวนการ เรียกสิ่งนี้ว่า “Rank” อันหมายถึงสถานะเชิงอำนาจของบุคคลหนึ่งๆ ซึ่งเป็นตัวกำหนดการสื่อสารและความสัมพันธ์ที่เขามีกับโลกและผู้คนรอบตัว

ที่สำคัญ Rank มาพร้อมกับอภิสิทธิ์ (Privilege) ซึ่งคือผลประโยชน์และความได้เปรียบที่เราได้รับจากการมี Rank นั้น เช่น อภิสิทธิ์ที่ได้เกิดในครอบครัวชนชั้นกลาง มีความได้เปรียบเชิงโครงสร้างสังคม มีโอกาสเรียนในสถาบันที่มีชื่อเสียง มีชีวิตที่สะดวกสบาย ไม่ต้องปากกัดตีนถีบด้วยตนเอง ในขณะเดียวกันอภิสิทธิ์นี้ อีกแง่หนึ่ง ก็มีจุดมืดบอดอาจทำให้เรากลายเป็นพวกสุขนิยม ใช้ชีวิตเสพสุขไปวันๆ ไม่รับรู้ความทุกข์ยากของคนที่มีโอกาสด้อยกว่า หรือเสียเปรียบทางสังคม เช่น คนยากไร้ กลุ่มคนรากหญ้า หรือกลุ่มชายขอบของสังคม เป็นต้น

ในชีวิตประจำวัน เราสื่อสาร Rank ของเราและประเมิน Rank ของผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะจากการแต่งตัว นาฬิกา กระเป๋า ภาษาที่เราใช้ รถที่เราขับ หลายคนเวลาที่ต้องเข้างานสังคม มักนิยมถามถึงชาติตระกูลหรือการศึกษาว่าเรียนจบอะไร ปริญญาตรี โท เอก ในหรือนอกประเทศ สิ่งเหล่านี้เป็นไปอย่างอัตโนมัติ ที่น่าสนใจกว่านั้น Rank บางอย่างก็เป็นสิ่งที่มิใช่ได้รับจากภายนอก หากแต่สามารถบ่มเพาะให้เติบโตได้จากภายใน

อ่านต่อ »

อัตนิมิต



โดย ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 5 ธันวาคม 2558

มีเรื่องเล่าของนักเดินเรือในทศวรรษที่สิบเก้า ว่าได้พบเจอหมีขั้วโลกบางตัวเวลาออกล่าแมวน้ำ มันจะลื่นไถลไปบนน้ำแข็งโดยนอนคว่ำหน้า และเมื่อใกล้จะถึงเป้าหมาย มันจะพรางตัวโดยการยกขาหน้าของมันมาปิดจมูกเอาไว้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตะปบเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย

ในย่อหน้าที่แล้ว เชื่อว่าทุกคนที่อ่านต้องนึกเห็นภาพหมีขาวตัวเบ้อเริ่มกำลังนอนเอาท้องแปะบนพื้นน้ำแข็ง แล้วยกขาหน้ามาแปะจมูกตัวเองเอาไว้อย่างทุลักทุเล ซึ่งเป็นภาพที่น่าขบขัน หรือไม่ก็น่าเอ็นดู และถึงแม้ไม่ได้มีการพูดถึงสีสัน ภาพในจินตนาการของผู้อ่านก็จะต้องเป็นหิมะขาวโพลน หมีสีขาวขนปุย และที่แน่ๆ จมูกของมันต้องเป็นสีดำ

ความรู้ทางประชานศาสตร์ หรือ วิทยาการเรียนรู้ (Cognitive Sciences) บอกเราว่า การสร้างจินตภาพเหล่านี้จำเป็นต่อความเข้าใจเวลาที่เราอ่านหรือฟังเรื่องราวอะไรก็ตาม ผมขอเรียกกระบวนการนี้ว่าอัตนิมิต (Embodied Simulation)

การค้นพบเรื่องอัตนิมิตทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจเรื่องกระบวนการ “ทำความเข้าใจ” ของมนุษย์ผ่านภาษา เพราะได้ค้นพบว่ามนุษย์เราใช้มุมมองจากร่างกายของตนเองเป็นแหล่งอ้างอิงในการสร้างโลกแห่งความเข้าใจภายใน เช่นประโยคที่ว่า ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวปิดไม่มิด ถ้าหากไม่มองเป็นสำนวน แต่ให้นึกถึงช้างตายจริงๆ เราก็คงนึกถึงภาพช้างทั้งตัวนอนอยู่ และมีใบบัวใบหนึ่งวางอยู่บนตัวมัน (และแน่นอนว่าปิดไม่มิด) พวกเราส่วนใหญ่คงต้องเห็นภาพแบบนี้ คงไม่มีใครนึกเป็นภาพในระยะใกล้จนเห็นขนตาช้าง หรือเป็นภาพระยะไกลจนเห็นช้างตัวเท่ามด (ไม่ใช่สำนวน) เพราะเราต่างใช้ประสบการณ์ความเป็นมนุษย์ซึ่งในอัตนิมิตของเรา ภาพที่สบายต่อการจินตนาการก็คือภาพของช้างในระยะเหมาะสมที่เราจะเห็นด้วยตา พูดง่ายๆ เราไม่ได้มองโลกผ่านสายตาของพระเจ้า คือมองเห็นหมดทุกมุมของช้าง หรือสายตาของไส้เดือน (ถ้ามันมีตา) คือมองจากด้านใต้ผืนโลกขึ้นมา เราเลือกมุมที่จะมอง และมุมนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของความเป็นมนุษย์ และนักประชานศาสตร์ค้นพบว่ามันเกี่ยวโยงกับภาษาที่เราใช้อย่างแยกไม่ออก

อ่านต่อ »

Back to Top