ตุลาคม 2014

หนุ่มสาวสร้างโลก (๑)
การศึกษาเพื่อความเป็นไท ถูกและดี



โดย ชลนภา อนุกูล
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2557

ยี่สิบปีที่แล้ว ระวี กุลาติ - ชายหนุ่มวัยยี่สิบ ลาออกจากบริษัทที่แคนาดา หลังจากเรียนจบด้านบริหารธุรกิจและเริ่มชีวิตทำงานไปได้ ๘ เดือน เขากลับมาที่อินเดีย ตั้งใจว่าจะไปทำเกษตรกรรมในชนบท ดำเนินชีวิตเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกอย่างที่มาซาโนบุ ฟูกุโอกะ เขียนไว้ใน ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว แต่ก็พบว่าเด็กแถวบ้านเขาอยากได้ครูสอนพิเศษ และพบว่าเด็กที่คะแนนเลขห่วยแตกในโรงเรียนเป็นเด็กที่ฉลาดเป็นกรดและเรียนรู้ไว เขาเริ่มตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับการศึกษาในโรงเรียน?

ระวีเล่าว่า ในช่วงที่อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ แต่ระบบการศึกษาแบบอาณานิคมยังคงดำรงอยู่ นักคิดอินเดีย ๔ คน ได้แก่ มหาตมะ คานธี รพินทรนารถ ฐากูร กฤษณมูรติ และศรีอรพินโท ได้ตั้งคำถามกับระบบการศึกษา

อ่านต่อ »

แถบสีวิวัฒนาการทางสังคม
การก่อประกอบองค์กรขึ้นใหม่



โดย วิศิษฐ์ วังวิญญู และ ภัทระ กิตติมานนท์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 25 ตุลาคม 2557

เรากำลังอ่านหนังสือเล่มหนึ่งอย่างเมามัน เพราะไม่ค่อยมีหนังสือที่ต่อยอดสิ่งที่กำลังค้นคว้าแบบนี้มา นานแล้ว หนังสือเล่มนี้ชื่อ Reinventing Organizations โดย Frederic Laloux และมีเคน วิลเบอร์ เขียนคำนำ โดยเขาได้ให้เครดิตหนังสือเล่มนี้อย่างมากมาย

ผู้เขียนได้แบ่งช่วงของวิวัฒนาการทางสังคมออกเป็นช่วง ๆ แทนด้วยสีต่าง ๆ และในบรรดาสีหรือช่วงวิวัฒนาการเท่าที่สอดคล้องกับงานที่เราทำอยู่ น่าจะมี

สีแดง - Impulsiveness แปลว่า ผลักดันหรือกดดัน เป็นกระทิงในผู้นำสี่ทิศ ธาตุไฟ ตัวอย่างคือ มาเฟีย

อ่านต่อ »

จักรวาลกำลังเฝ้ามองตัวเอง…ผ่านเรา



โดย โอม รัตนกาญจน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 18 ตุลาคม 2557

ในชีวิตของเราเคยมีคำถามและรู้สึกสงสัยบ้างไหมว่า เราเกิดมาทำไม? เรามีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร? ตัวเราเอง หรือมนุษย์คนอื่นนั้นเกิดมาในโลกอย่างบังเอิญเท่านั้นหรือ? …หรือชีวิตนั้นมีความหมายบางอย่างที่ยิ่งใหญ่ไปกว่านิยามของแต่ละปัจเจกบุคคล? มีเจตจำนงอันลึกซึ้งของธรรมชาติบางอย่างที่อยู่เบื้องหลังการมีอยู่ของมนุษย์และสรรพสิ่งหรือไม่

…ตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย นอกจากชีวิตวัยรุ่นโดยทั่วไปแล้ว ด้านหนึ่งผมเป็นคนที่มีความสงสัยใคร่รู้มากมายเกี่ยวกับชีวิตและคำถามข้างต้น ทำให้ผมชอบศึกษาเรียนรู้ตั้งแต่ ปรัชญา จิตวิทยา วิทยาศาสตร์ ศาสนา จนมาถึงธรรมะและการปฏิบัติสมาธิภาวนา เพื่อแสวงหาคำตอบให้กับชีวิต

อ่านต่อ »

ภาวนาผ่านโอเปร่า



โดย ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 11 ตุลาคม 2557

“ที่ร้องมานี่พี่พอใจแล้วหรอ”

ครูสอนร้องเพลงของผมพูดขึ้น หลังจากที่ผมร้องเพลงที่ไปฝึกหัดมาอย่างดีให้เธอฟัง ผมรู้สึกว่าเสียงที่เปล่งออกมามัน “ใช่” มาก รู้สึกใจฟู จึงตอบครูสาวโดยไม่เฉลียวใจว่าครูพูดประชด

“ครับ พอใจมากเลย”​

“พอใจ งั้นก็ร้องแบบนี้ต่อไปก็แล้วกัน”

ผมก็เลยอึ้งไปชั่วขณะ อุทานเบาๆ ว่า “อ้าว”​ แล้วใจที่ฟูพองเมื่อสักครู่นี้ก็แฟบเหมือนลูกโป่งหมดลม

อ่านต่อ »

Back to Top