พฤษภาคม 2017

เยียวยาใจด้วยเมตตา



โดย พระไพศาล วิสาโล
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 27 พฤษภาคม 2560

หญิงผู้หนึ่งเศร้าเสียใจมากเพราะสามีของเธอกำลังจะตายด้วยโรคร้าย เมื่อใดที่นึกถึงวันที่ไม่มีเขาอยู่ในโลกนี้ เธอยิ่งรู้สึกห่อเหี่ยว วันหนึ่งขณะที่สามีกำลังทรุดหนัก เธอพูดกับเขาว่า “ฉันจะอยู่อย่างไรเมื่อไม่มีคุณ” คำตอบของเขาคือ “นำความรักที่คุณมีให้กับผม ไปมอบให้คนอื่นๆ”

เธอพบว่าเมื่อสามีจากไป คำแนะนำของเขาช่วยเธอได้มาก การมอบความรักให้แก่ผู้อื่น ด้วยการช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยาก หรือคนที่ลำบากกว่าเธอนั้น ช่วยให้เธอคลายความเศร้าโศกไปได้ไม่น้อย มันไม่เพียงทำให้เธอหลุดจากการจมดิ่งในความทุกข์เท่านั้น ความเมตตาที่ถูกปลุกขึ้นมายังช่วยขับไล่ความเศร้าโศกไปจากใจเธอ ยิ่งกว่านั้นความสุขใจที่ได้เห็นรอยยิ้มของคนที่เธอให้ความช่วยเหลือ ยังเป็นเสมือนน้ำชโลมใจที่ทำให้กลับมามีชีวิตชีวา

ความเมตตา ความใส่ใจและเอื้ออาทรต่อผู้อื่นนั้น เป็นโอสถที่สามารถเยียวยาจิตใจของผู้ที่เศร้าโศกเพราะสูญเสียได้เป็นอย่างดี กุมารแพทย์ผู้หนึ่งสูญเสียสามีอย่างกะทันหัน ทันทีที่รู้ข่าว ใจเธอแทบสลาย เธอจมอยู่ในความเศร้าอย่างไม่รู้วันรู้คืน แม้งานศพเสร็จสิ้น ความรู้สึกหมดอาลัยตายอยากกับชีวิตก็ยังไม่จางคลาย ครั้นถึงเวลาที่ต้องไปทำงาน เธอก็เอาแต่จ่อมจมอยู่ในห้องพัก ไม่มีเรี่ยวแรงไปตรวจคนไข้ ทีแรกเพื่อนๆ ก็อยากให้เธออยู่กับตัวเองสักพัก ด้วยความหวังว่าไม่นานเธอก็จะดีขึ้น แต่ผ่านไปหนึ่งอาทิตย์ เธอก็ยังไม่ดีขึ้น เก็บตัวอยู่แต่ในห้องพักทั้งวัน

อ่านต่อ »

ความสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่างมิติภายในกับมิติภายนอก: ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับ เศรษฐกิจดิจิทัล



โดย ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 20 พฤษภาคม 2560

โลกยุคใหม่ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบทุนนิยม ดูเหมือนจะเทไหลไปให้ความสำคัญกับสิ่งต่างๆ ที่เป็นมิติภายนอกมากกว่ามิติภายใน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมิติภายนอกมันจับต้องได้ทันที มันน่าตื่นเต้น ตื่นตา เร้าใจ และที่สำคัญ มันซื้อได้ ขายได้ โดยใช้เงิน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบและวิธีการใดเป็นตัวกลาง คนจำนวนมากในระบบเศรษฐกิจแบบนี้จึงต้องขวนขวายหาเงินมาเพื่อจะให้ได้สิ่งที่อยากมีอยากได้ และเมื่อความอยากมีอยากได้มันเอ่อล้นจนขาดสติ คนก็มีแนวโน้มที่จะใช้วิธีเดินทางลัดเพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางให้เร็วที่สุด ได้ผลมากที่สุด โดยใช้ทุนน้อยที่สุด ซึ่งในทางวิชาการด้านการบริหารเรียกว่ามีประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะที่บางรายก็มุ่งแต่ผล (ประโยชน์สูงสุดส่วนตน) โดยไม่สนใจเรื่องคุณธรรม ความถูกต้องดีงามที่เป็นมิติภายใน เช่น การแอบปล่อยน้ำเสียลงคลองสาธารณะ การปลอมแปลงเอกสารทางราชการ และธนบัตร ฯลฯ

ขออนุญาตใช้ชุดภาษายุคไทยแลนด์ 4.0 ว่า คนจำนวนหนึ่ง “ติดกับดัก” ความอยากมี อยากได้ อยากเป็น แบบเร่งรีบในยุคดิจิทัล คนจำนวนหนึ่งเปลี่ยนจากการ “ทำมากได้น้อย สู่การทำน้อยได้มาก” ด้วยการโกงกิน รับสินบน การคอร์รัปชั่น แชร์ลูกโซ่ ปล้น ขโมยทรัพย์ของผู้อื่น...

อ่านต่อ »

ระบบการศึกษาซอมบี้



โดย ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 6 พฤษภาคม 2560

ผมนั่งอยู่ในการบรรยายของวิทยากรในค่ายเยาวชน เรื่องราวที่วิทยากรพูดเป็นเรื่องเกี่ยวกับปัญหาการเกษตรในอดีตและฉายภาพในเห็นอุตสาหกรรมเกษตรในปัจจุบันของประเทศไทย เรื่องราวดังกล่าวได้รับความสนใจจากเยาวชนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในวัยมัธยมต้นพอสมควร แต่พอถึงช่วงถามตอบ คำถามที่น้องๆ ถามกลับเป็นคำถามที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในการบรรยายสักเท่าไร

“อาจารย์บอกว่าให้พวกผมตั้งคำถาม แต่ทำไมเวลาผมตั้งคำถามกับครูในห้อง ครูเขาไม่ยอมตอบผมครับ”

“อาจารย์คะ มันมีเส้นแบ่งบางๆ อยู่ระหว่างการสร้างสรรค์และการลบหลู่ แล้วเราจะสร้างสรรค์อย่างไรไม่ให้ลบหลู่”

“อาจารย์คะ การที่เราออกจากนอกกรอบแค่เพียงนิดเดียว แต่ผู้ใหญ่กลับมองว่าเราไร้สาระ ทำไมล่ะคะ?”

บรรยากาศในห้องเหมือนกับเชื้อเพลิงลุกติดไฟ การแลกเปลี่ยนสนทนาเป็นไปอย่างคึกคักมีชีวิตชีวา ยิ่งเมื่อวิทยากรแบ่งปันเรื่องเล่าซึ่งตัวเขาเองถูกกดขี่มาตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียนนักศึกษา เราจะได้ยินเสียงน้องๆ เยาวชนเปล่งเสียงฮือฮาเป็นระยะ

“ตอนนั้น ครูให้ผมวาดรูปดอกไม้ ผมก็ลงมือวาดทันที พอครูมาถึงเขาบอกว่ายังไม่ได้บอกให้วาด วาดก่อนได้อย่างไร แล้วดูสิ ครูจะให้วาดดอกไม้ห้ากลีบ ทำไมวาดเจ็ดกลีบ”

“ก็บ้านผมขายดอกไม้ ผมรู้ว่าดอกไม้เจ็ดกลีบก็มี!” อีกเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นในวิชาประวัติศาสตร์ เมื่ออาจารย์ตรวจข้อสอบให้เขาผิด เขาจึงไปทักท้วงครูผู้สอน

อ่านต่อ »

Back to Top