มีนาคม 2015

เอาผู้นำออกจากกล่อง



โดย วิศิษฐ์ วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 28 มีนาคม 2558

ผู้นำที่ไม่สามารถออกจากกล่อง

แล้วเขาจะออกจากกล่องได้อย่างไร?

ทำอย่างไรผู้นำจึงจะสามารถออกจากกล่อง โดยสามารถทะลุกรอบคิดอันคับแคบออกไปได้

นี่คือประสบการณ์ของผมกับการทำงานกับผู้นำหรือผู้บริหารองค์กรต่างรูปแบบมานับครั้งไม่ถ้วน ผมค้นพบว่าผู้นำจะติดอยู่ในกรอบของอะไรบ้างดังนี้

สิ่งที่ผู้นำทำได้ยากคือ

หนึ่ง การเปิดโอกาสให้คนอื่นตัดสินใจ ได้เป็นองค์กรจัดการตัวเอง ในระดับเจตจำนง (Willing) คือการปล่อยให้เกิดการเรียนรู้ โดยเปิดให้คนคนนั้นไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ให้เป็นองค์กรจัดการตัวเอง ในวิวัฒนาการขององค์กร เมื่อกลายเป็นวิวัฒนาการระดับสูงสุดเท่าที่เป็นได้ องค์กรจะเปิดให้คนทำงานได้มีโอกาสตัดสินใจในการทำงานของตัวเอง ในระบบการศึกษาคือการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้เอง

อ่านต่อ »

เสื้อนี้สีอะไร? : มุมมองจิตวิวัฒน์



โดย ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 21 มีนาคม 2558

เร็วๆ นี้มีข่าวในโลกโซเชียลมีเดียที่ดูเหมือนเป็นเรื่องชวนหัวที่เอาไว้หยอกกันเล่นแล้วก็ผ่านไป แต่อันที่จริงเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ต่อความเข้าใจทางด้านจิตวิวัฒน์อย่างน่าฉกฉวยเอามาสนทนาก่อนที่จะจืดจางไปในเวลาไม่นานเช่นเดียวกับเรื่องอื่นใดในโลกโซเชียลมีเดีย

เรื่องนั้นก็คือเรื่องของสีเสื้อปริศนา สำหรับรูปประกอบในคอลัมน์นี้อาจจะไม่เห็นเป็นสี แต่เชื่อว่าทุกคนสามารถพิมพ์ค้นหาในอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้คำค้นว่า “เสื้อนี้สีอะไร” ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าโดยแท้จริงแล้วเสื้อนี้สีอะไร แต่อยู่ที่ว่าคนในโลกนี้มองเห็นสีเสื้อที่อยู่ในภาพไม่เหมือนกัน โดยแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกเห็นเสื้อนี้เป็นสีขาว-ทอง อีกกลุ่มหนึ่งเห็นเป็นสีน้ำเงิน-ดำ และเมื่อเรื่องนี้เริ่มเข้ามาเป็นกระแส ฝ่ายที่เห็นไม่เหมือนอีกฝ่ายต่างก็เกิดอาการสับสน บางคนสงสัยว่าอีกฝ่ายล้อตนเองเล่น หรือแกล้งปดว่าเห็นเป็นสีอื่น ต้องใช้เวลาอยู่นานทีเดียวจึงจะยอมรับตามข้อมูลที่ได้มาจากหลายแหล่งว่า คนในโลกนี้ล้วนมองเห็นภาพนี้เป็นสีต่างกัน แต่ในเมื่อมองกี่ครั้งก็ยังเห็นสีเหมือนเดิม ผมคนหนึ่งก็อดจะคิดไม่ได้ว่าคนที่มองเห็นไม่เหมือนเรานั้นมีความผิดปกติ ส่วนเรานั้นเป็น “คนปกติ” เพราะเป็นเรื่องปกติที่คนเรามักจะคิดเข้าข้างตัวเองเอาไว้ก่อน

อ่านต่อ »

ประชาธิปไตยในวิถีไทย


โดย ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 7 มีนาคม 2558

ผมได้รับเชิญจากลูกศิษย์ให้ไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิเสวนาเรื่อง “ประชาธิปไตยในวิถีไทย” ในวันศุกร์ที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๘ ผมตอบรับเพราะความเป็นครูกับลูกศิษย์ และหัวข้อน่าสนใจดี แต่เมื่อกลับมานั่งพิจารณาว่าจะพูดอะไรให้ตรงกับหัวข้อ และจะมีประเด็นอะไรที่น่าสนใจไม่เหมือนกับคนอื่น จะเชื่อมโยงความเป็นพลเมืองไทยกับความเป็นพลเมืองโลกดีหรือไม่ เพราะสำหรับผม ความเป็นพลเมืองไทยมีมิติของวัฒนธรรมไทยที่เป็นวิถีไทยอยู่ แตกต่างจากความเป็นพลเมืองโลกที่ให้ความสำคัญกับสิทธิและการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองตามวิถีตะวันตกภายใต้ระบอบที่เรียกว่าประชาธิปไตย

ที่สำคัญ ผมไม่อยากจะพูดเรื่องประชาธิปไตยในวิถีไทย ในลักษณะ “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ” ที่เรามักได้ยินนักการเมืองหรือนักวิชาการพูดกันโดยทั่วไป เพราะมีความหมายไปในทางลบ มีลักษณะของการเสียดสีอยู่ในที

อ่านต่อ »

Back to Top