พฤศจิกายน 2014

เสือใบ(ไม้)



โดย ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 29 พฤศจิกายน 2557

ถ้าพวกคุณเคยไป “คุ้มเสือ Tiger Kingdom” ที่ภูเก็ต หรือเชียงใหม่ คุณอาจจะสงสัยว่าพวกเขาทำอย่างไรจึงสามารถทำให้คนเข้าไปถ่ายรูปกับเสือโคร่งตัวใหญ่ๆ ที่ตะปบคุณเพียงครั้งเดียวก็คอหัก

ที่ผมสงสัยไปกว่านั้นคือ เขาทำอย่างไรจึงจะต้อนเสือให้กลับออกจากกรงใหญ่ ซึ่งมีสระว่ายน้ำ มีพื้นที่ให้พวกเสือวิ่งเล่นกันอย่างสนุกสนาน กลับไปอยู่ในกรงแคบๆ

แล้วผมก็ต้องแปลกใจ เพราะวิธีการไม่ได้มีอะไรมาก เพียงแค่ “เบี่ยงเบนความสนใจของเสือ” ให้ไปสนใจที่พวงใบไม้ซึ่งพวกเขาเอาใบไม้มาต่อกับไม้ยาวๆ แล้วฟาดไปมา คล้ายกับที่เราเห็นเขาเชิดมังกรตอนตรุษจีน ตัวมังกรจะวิ่งตามแท่งไม้ที่ส่วนปลายสมมุติให้เป็นแก้วมณีไปทุกหนทุกแห่ง เช่นเดียวกัน เมื่อเสือสนใจพวงใบไม้นี้แล้ว เขาก็จะพาดใบไม้ไปที่กรง พร้อมกับเปิดประตูกรงออก เสือคงนึกว่าใบไม้นั้นจะหนีตนเข้าไปในกรง ก็เลยกระโจนตามเข้าไปในกรง แล้วผู้คุมก็ปิดกรงลงมา ก็แค่นั้น

อ่านต่อ »

ทักษะชีวิตที่ดีมิใช่หมายถึงเป็นคนดี



โดย นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 22 พฤศจิกายน 2557

การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ มุ่งพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะการเรียนรู้ และทักษะไอทีไปพร้อมกัน

ทักษะชีวิตที่ดีมิได้หมายถึงนิสัยดี มิได้หมายถึงคุณสมบัติดีๆ เช่น ความเมตตากรุณา รักษาศีลถือความสัตย์ หรือหมายถึงความเป็นคนเก่งประสบความสำเร็จในชีวิต

ทักษะชีวิต (life skills) ที่ดีหมายถึงความสามารถที่จะมองไปข้างหน้า กำหนดเป้าหมายและเดินไปให้ถึงจุดนั้น หากเป็นถนน ก็หมายถึงการกำหนดจุดหมายปลายทาง เดินทางไปให้ถึง หากพบอุปสรรคระหว่างทางก็แก้ไขแล้วไปต่อให้ถึงที่หมาย ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อุปสรรคหมายถึงมีอะไรเสียหายก็ซ่อม หรือหากพบสิ่งกีดขวางที่ไม่สามารถข้ามไปได้ก็ถึงเวลาเลี้ยวเข้าซอยแล้วหาทางมุดออกมาใหม่

แต่ทักษะชีวิตมิได้หมายถึงถนนหนทาง ทักษะชีวิตหมายถึงการดำเนินชีวิต

อ่านต่อ »

กัลยาณมิตรจิตตปัญญาประเมิน ๒: เริ่มต้นเดินทาง


โดย ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2557

กัลยาณมิตรจิตตปัญญาประเมิน (Amicable Contemplative Assessment-ACA) นวัตกรรมทางการประเมินที่ผู้เขียนริเริ่มพัฒนาทั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติไว้ ได้มีโอกาสทดลองนำไปใช้อย่างเต็มรูปแบบแล้วกับโครงการประเมินผล โครงการพัฒนาการเกษตรยั่งยืนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตโครงการจัดรูปที่ดินกลาง กรมชลประทาน

ผู้เขียนรู้สึกตื่นเต้นและภูมิใจมากที่การประเมินแนวใหม่นี้มีโอกาสได้นำไปทดลองใช้ในภาคสนาม (มหาสารคาม ศรีสะเกษ กาญจนบุรี และพิษณุโลก) เพื่อจะได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง แล้วนำประสบการณ์ตรงเหล่านั้นมาพัฒนาทั้งแนวคิด แนวปฏิบัติ และกระบวนการประเมิน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในภาควิชาการและภาคปฏิบัติ ผู้เขียนจึงมุ่งมั่นตั้งใจทำโครงการนี้ร่วมกับทีมงานและชุมชนเป้าหมายอย่างเต็มที่และอย่างมีความสุข


อ่านต่อ »

พิษจากผลแห่งความดี



โดย พระไพศาล วิสาโล
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 8 พฤศจิกายน 2557

สมัยหนึ่ง พระองคุลิมาล ซึ่งเพิ่งบวชใหม่ ได้สนทนาธรรมกับพระนันทิยะ พระนันทิยะได้เล่าให้ฟังว่าพระพุทธองค์ได้สอนอะไรแก่ท่านบ้าง ตอนหนึ่งมีความว่า “เมื่อผู้ใดสรรเสริญเยินยอหรือบูชาเราด้วยลาภสักการะ จงนึกว่าลาภสักการะหรือชื่อเสียงนั้นเป็นผลแห่งความดี หรือเป็นเพราะผู้อื่นสำคัญว่าเราดี” แล้วท่านกล่าวต่อไปว่า “ผลแห่งความดีนั้นย่อมเป็นพิษแก่ผู้ที่ไม่พิจารณา แล้วหลงใหลยึดอยู่ในสิ่งนั้น จนกลายเป็นประมาทมัวเมา”

เวลาทำความดีแล้วมีคนยกย่อง มีลาภสักการะเกิดขึ้น คนส่วนใหญ่มักเผลอคิดไปว่าเป็นเพราะเรา หรือเป็นเพราะกู แต่พุทธภาษิตดังกล่าวเตือนให้เราตระหนักว่า ลาภสักการะนั้นเกิดขึ้นไม่ใช่เป็นเพราะเรา แต่เป็นเพราะความดีที่เราทำต่างหาก ความดีที่ทำนั้นเรียกว่าธรรมะ ข้อนี้เป็นสิ่งที่เราต้องแยกให้ดี หาไม่จะเกิดความหลงตัวว่าเป็นเพราะเรา สุดท้ายก็ทำให้ลืมตน

อ่านต่อ »

Back to Top