ตุลาคม 2017

ศิลปะของการสูญเสีย



โดย ชลนภา อนุกูล
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 28 ตุลาคม 2560

พวกเราแต่ละคนคงเคยทำของหายกันมาไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นดินสอ ปากกา หมวก ร่ม แว่นตา กระเป๋าสตางค์ บัตรประจำตัวประชาชน บัตรเอทีเอ็ม กุญแจบ้าน ฯลฯ ของเหล่านี้บางทีก็หายซ้ำแล้วซ้ำเล่า ราวกับว่าเป็นของที่ถูกสร้างหรือทำขึ้นมาสำหรับมีไว้หายยังไงยังนั้น ของเหล่านี้พอหายบ่อยขึ้น หลายคนก็เริ่มชิน ความหงุดหงิดโมโหหรือความเสียดายก็น้อยลงกว่าครั้งแรก-แรก แล้วก็ใช้ชีวิตกันต่อไป

ของบางอย่างไม่หาย แต่เราก็คงเคยทำจานชามหล่นแตก แก้วเจียระไนหรือเซรามิกสะสมชิ้นโปรดหลุดมือ อุบัติเหตุบนท้องถนนทำให้หน้ารถยุบไปทั้งคัน บ้านของใครบางคนก็ไหม้ไปทั้งหลังต่อหน้าต่อตา ไฟเผาข้าวของหมดสิ้น รวมทั้งลูกหมาอัลเซเชียนครอกใหม่ที่เพิ่งลืมตาออกมาดูโลก เมื่อข้าวของในชีวิตเสียหายบ่อยครั้งขึ้น รุนแรงขึ้น ก็มีภูมิคุ้มกันในชีวิตมากขึ้น แล้วก็ใช้ชีวิตกันต่อไป

เมื่ออายุมากขึ้น ก็คงเริ่มตระหนักกันว่า นอกจากข้าวของแล้ว เวลาก็ยังหายได้ด้วย ผู้ใหญ่แต่ละคนล้วนสูญเสียวัยเยาว์ ผู้สูงอายุล้วนสูญเสียวัยหนุ่มสาว และพวกเราทุกคนล้วนเคยเสียเวลาให้กับหลายเรื่องและหรือหลายคน กระนั้น แม้ว่าวันเวลาเหล่านั้นจะน่าเสียดาย แต่ก็ไม่สามารถซื้อของใหม่มาทดแทนเหมือนข้าวของ การสูญเสียเวลาในทุกเวลานาทีในปัจจุบันขณะก็ทำให้เกิดความเคยชิน จนหลายครั้งไม่รู้สึกถึงความเสียดายด้วยซ้ำ แต่พวกเราก็ใช้ชีวิตกันต่อไป

อ่านต่อ »

การพลิกตนไปมาระหว่างโลกคู่ขนาน



โดย วิศิษฐ์ วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 2 กันยายน 2560

ที่ผมเขียนหัวข้อนี้ จะเล่าว่ามันเกิดได้จริง ทำได้จริง และได้เกิดขึ้นแล้ว สิ่งหนึ่งที่ผมฝึกก่อนหน้านี้ คือการดำรงอยู่กับอาการปั่นป่วนต่างๆ (urges) มันเป็นอาการทางกาย ความรู้สึกแย่ที่ปรากฏในร่างกายของเรา แต่กาย ใจ ความคิด (หรือเรื่องราว) มีความผูกพันกันอย่างแยกไม่ออกหรือแยกยากมาก ดังฝรั่งบัญญัติคำว่า neurobiology โดยเอาเรื่องเซลล์ประสาทมาควบรวมอยู่กับชีวภาพ คือเอาสิ่งที่เกิดในร่างกายมาควบรวมกับอารมณ์และความคิดนั่นเอง

ปีเตอร์ เลอวีน (Peter A. Levine) บอกว่าทรอม่าเป็นอาการช็อกทางกาย คือร่างกายแช่แข็ง ถ้าร่างกายได้คลี่คลายออก ทรอม่าก็จะคลี่คลายและหายไปในที่สุด เหมือนกวางเจอเสือก็จะแกล้งตายหรือแช่แข็งตัวเอง ต่อเมื่อเสือจากไปแล้ว กวางจะสั่นทั้งตัวอยู่ครู่หนึ่งแล้วก็ออกจากอาการช็อกได้อย่างสิ้นเชิง จนต่อมามีคนสร้างกระบวนการช่วยให้ร่างกายสั่นเพื่อใช้บำบัดทรอม่า เรียกว่า TRE (Tension & Trauma Release Exercises)

ส่วน The Little Book of Big Change ของเอมี่ จอห์นสัน (Amy Johnson) ผมได้เรียนรู้เรื่อง urges ว่าเมื่อเราดำรงอยู่กับมัน ไม่ปัดทิ้ง ไม่หลีกหนี ความปั่นป่วนเหล่านี้จะสามารถคลี่คลายได้

อ่านต่อ »

จิตอาสาข้ามพรมแดน



โดย ธัญลักษณ์ ศรีสง่า
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 14 ตุลาคม 2560

เมื่อกล่าวถึงความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน ภาพที่นำเสนอส่วนมาก คือความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการเมืองที่เกิดจากการเจรจาสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้นำหรือผู้แทนของแต่ละประเทศในระดับนโยบาย แต่ประเด็นคำถามที่น่าสนใจคือ ความร่วมมือที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ ยังมีมิติอื่นๆ อีกหรือไม่

จากการทำงานร่วมกันของศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี ๒๕๕๙-๒๕๖๐ ในโครงการศึกษาคุณธรรมในอาเซียน: จิตอาสาในอาเซียนภาคพื้นทวีปและภาคพื้นสมุทร พบว่าความร่วมมือที่สำคัญในอีกมิติหนึ่งของผู้คนในภูมิภาคอาเซียน คือ มิติทางสังคม โดยคุณค่าร่วมที่เชื่อมร้อยผู้คนในภูมิภาคนี้เข้าไว้ด้วยกัน คือความเอื้ออาทรและการแบ่งปัน (Caring and Sharing) ผ่านกระบวนการเป็น “จิตอาสา” ของกลุ่มหรือองค์กรภาคประชาสังคม

เพื่อให้เกิดพื้นที่กลางในการแลกเปลี่ยนถึงการเชื่อมร้อยผู้คนในภูมิภาคอาเซียนจากงานจิตอาสา ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายจัดงานประชุมนานาชาติ “ส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คุณธรรมผ่านงานจิตอาสา: ASEAN Caring and Sharing Community” เมื่อวันที่ ๑๒-๑๓ กันยายน ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุม ๑๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ่านต่อ »

จิตวิญญาณสหกรณ์ (๒): สานต่อให้ถูกต้อง



โดย ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 7 ตุลาคม 2560

เมื่อผู้ที่ทำงานสหกรณ์รู้ เข้าใจ และศรัทธาในอุดมการณ์ หลักการ แนวคิดและแนวปฏิบัติของสหกรณ์ เขาและเธอก็จะคิด พูด และทำงานสหกรณ์ด้วยจิตอาสา อย่างมีจิตสำนึกสาธารณะ คำนึงถึงประโยชน์สุขส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง จึงจะได้ชื่อว่าเป็นนักสหกรณ์ที่มีจิตวิญญาณสหกรณ์

ผู้บริหารสหกรณ์จึงควรต้องเป็น หรือพร้อมที่จะเป็นผู้เรียนรู้ เพื่อให้เป็นผู้รู้ ผู้เข้าใจ และศรัทธาในอุดมการณ์และหลักการของสหกรณ์ ทำงานด้วยการยึดมั่นในอุดมการณ์และหลักการของสหกรณ์ ไม่ใช่เข้ามาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง หรือสร้างอาณาจักรของตนเอง

สมาชิกสหกรณ์พึงต้องเรียนรู้ เข้าใจ และศรัทธาในอุดมการณ์และหลักการของสหกรณ์ เรียนรู้ เข้าใจ และปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ของการเป็นสมาชิกตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์ ไม่ใช่เข้ามาเพียงเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน เรียกร้องปันผลและเงินเฉลี่ยคืนสูงๆ เท่านั้น แต่ต้องรักษา ใช้สิทธิและหน้าที่ทั้งในฐานะสมาชิกและเจ้าของสหกรณ์

เครือข่ายสหกรณ์ทุกรูปแบบและทุกลักษณะต้องยึดมั่นในอุดมการณ์และหลักการของสหกรณ์ โดยเฉพาะการให้ความร่วมมือและการให้ความช่วยเหลือระหว่างกัน

อ่านต่อ »

Back to Top