มีนาคม 2017

ปฏิบัติการ “กล้าที่จะสอน” (๑)



โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 1 เมษายน 2560

ในช่วงสามสี่เดือนที่ผ่านมา สำนักพิมพ์สวนเงินมีมาร่วมกับสถาบันขวัญแผ่นดิน พัฒนาหลักสูตรเพื่อครูและบุคลากรทางการศึกษา ภายใต้ “โครงการ จิตวิญญาณใหม่ (The New Spirit in Education)” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก สสส. โดยใช้ชื่อว่า “กล้าที่จะสอน” เพื่อสนับสนุนพื้นที่บ่มเพาะจิตวิญญาณครู ฟื้นฟูพลังชีวิตและแรงบันดาลใจ รวมทั้งปรับเปลี่ยนทัศนคติและกระบวนการเรียนรู้ที่ให้คุณค่ากับชีวิตของผู้สอนและผู้เรียนไปพร้อมๆ กัน จนทำให้เกิดความเป็นครอบครัวหรือชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ให้คุณค่ากับความสนใจใคร่รู้ อิสรภาพในการแสวงหาความรู้ ที่ถือเอาวิชาเป็นหลัก โดยหลักสูตรทั้งหมดจะมี ๔ ครั้งด้วยกัน (ครั้งละ ๓-๔ วันในช่วง ๖ เดือน) ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานพอที่จะก่อให้เกิดพื้นที่ปลอดภัย เคารพและไว้วางใจกันได้อย่างแท้จริง เพื่อช่วยในการสืบค้นและทำความเข้าใจในตัวผู้สอนเอง จนเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน และกระบวนการเรียนรู้ที่จะสอดคล้องกับชีวิตและหวังว่าจะส่งเสริมให้เกิดแรงบันดาลใจ

ทั้งนี้ ทางผู้จัดได้ใช้แนวคิดของพาร์คเกอร์ พาล์มเมอร์ (Parker J. Palmer) จากหนังสือ กล้าที่จะสอน (The Courage to Teach) ซึ่งถอดบทเรียนการสอนของผู้เขียนและเพื่อนร่วมวิชาชีพมากว่า ๔๐ ปี ที่ถือว่าหัวใจของการศึกษาอยู่ที่หัวใจของครูและกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นทางออกอย่างหนึ่งให้กับปัญหาระบบการศึกษาที่ตีบตันอยู่ในปัจจุบัน

อ่านต่อ »

ผู้หญิงที่น่าเกลียดที่สุดในโลกกับหัวใจที่แกร่งกล้าและงดงาม



โดย ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 25 มีนาคม 2560

ผมได้ดูเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งจากรายการทีวีช่อง National Geographic ระหว่างที่ดูได้อารมณ์ ความรู้สึก และความคิดที่หลากหลาย ได้สติและปัญญา มีความรู้สึกอยากจะเผยแพร่เรื่องราวการต่อสู้ชีวิตของเธอผู้แกร่งกล้าคนนี้

ผู้หญิงคนนี้เธอมีชื่อว่า Lizzie Velasques เป็นคนอเมริกัน เกิดที่เมืองออสติน รัฐเท็กซัส เธอเกิดมาก่อนกำหนดพร้อมกับความผิดปกติซึ่งวงการแพทย์ก็ยังวินิจฉัยไม่ได้ว่ามาจากอะไร คือเธอไม่สามารถเพิ่มน้ำหนัก (ไขมัน) ให้ตัวเองได้ รูปร่างของเธอจึงผอมบางมีแต่หนังหุ้มกระดูก เหมือนมนุษย์ต่างดาว หน้าตาน่าเกลียดน่ากลัว จนตัวเธอเองพูดว่าเธอเป็นผู้หญิงที่น่าเกลียดที่สุดในโลก

ความทุกข์ทรมานทางกายจากโรคประหลาดที่ยังไม่ทราบสาเหตุ ความเจ็บป่วยทางกายที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดจนนับครั้งไม่ถ้วนตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบันอายุ ๒๕ ปี และความเจ็บปวดทางใจตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา จากการถูกเพื่อนๆ ที่โรงเรียนล้อเลียน กลั่นแกล้ง ไม่มีเพื่อนเล่น มีแต่คนรังเกียจ ไม่มีใครอยากคบ เธอต้องคอยหลบซ่อนตัวจากจากคนอื่นๆ เพราะไม่อยากเห็นสายตา ท่าทาง การซุบซิบ และไม่อยากตอบคำถามเกี่ยวกับความผิดปกติของเธอกับคนรอบข้าง

ผู้ที่อยู่เคียงข้างและเป็นกำลังใจให้เธอตลอดมาก็คือคุณพ่อคุณแม่ของเธอเอง

เธอพูดกับตัวเองบ่อยๆ ว่าเธอจะยังตายไม่ได้ เธอรวบรวมความกล้า ส่งรูปตัวเองพร้อมคำบรรยายที่ระบุว่าเธอคือ “ผู้หญิงที่น่าเกลียดที่สุดในโลก” ลงในสื่อออนไลน์ ปรากฏว่ามีคนเข้าดูเกือบ ๕ ล้านครั้งในเวลาไม่นาน

อ่านต่อ »

อย่าทำผิดในสิ่งที่ถูก



โดย พระไพศาล วิสาโล
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 18 มีนาคม 2560

“ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ตน” เป็นพุทธภาษิตที่ชาวพุทธจำนวนไม่น้อยคุ้นเคย หลายคนฟังแล้วก็โมทนาสาธุ แต่บางคนที่ช่างสังเกตหน่อยอาจสงสัยว่า ทำไมต้องมีคำว่า “ประพฤติดีแล้ว” เพราะธรรมนั้นเป็นสิ่งดีสิ่งประเสริฐ ปฏิบัติเมื่อไหร่ก็น่าจะเกิดผลดีเมื่อนั้นไม่ใช่หรือ ทำไมจึงต้องต่อท้ายว่า “ประพฤติดีแล้ว” ด้วย แสดงว่าอาจมีการประพฤติที่ไม่ดีก็ได้ นั่นก็หมายความว่า ถ้าหากประพฤติไม่ดีก็ไม่นำสุขมาให้ตน อาจจะเกิดผลตรงข้ามก็คือทำให้เกิดทุกข์ได้

ธรรมที่ประพฤติไม่ดีย่อมนำทุกข์มาให้ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น มีภาษิตหนึ่งในคาถาธรรมบทที่มีความหมายสอดคล้องกัน ก็คือ “หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดีย่อมบาดมือตนเองฉันใด ความเป็นสมณะอันบรรพชิตรักษาไม่ดี ย่อมฉุดไปนรกฉันนั้น” หญ้าคานั้นดูเผินๆ ไม่มีพิษมีภัยอะไร เพราะไม่มีหนาม แต่ถ้าจับไม่ดีมันก็บาดมือเอาได้ ความเป็นสมณะหรือความเป็นพระนั้น แม้จะเป็นสิ่งดี สิ่งประเสริฐ แต่เมื่อได้ครองเพศนี้แล้ว ใช่ว่าจะเกิดความเจริญงอกงามหรือเกิดผลดีเสมอไป ถ้าปฏิบัติไม่ถูกก็สามารถลงนรกได้ เช่น พอบวชเป็นพระแล้วมีคนกราบไหว้ เคารพนับถือมากมาย ก็หลงคิดว่าตัวเองปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว หรือเมื่อปฏิบัติดีมีคนศรัทธามีลาภสักการะเกิดขึ้น เกิดหลงติดในลาภสักการะนั้นก็จะเกิดความโลภ หลงตัวลืมตนนำไปสู่การปฏิบัติที่ผิดก็เป็นได้ เช่น ใช้ความเป็นสมณะของตัวล่อลวงให้คนหลง จะได้เอาลาภสักการะมาถวายมากๆ หรือทำยิ่งกว่านั้นคือ ใช้ความเป็นพระเพื่อหลอกให้สีกามาปรนเปรอกิเลสของตัว อันนี้เรียกว่าความเป็นสมณะที่ปฏิบัติไม่ถูกย่อมฉุดลงนรก

อ่านต่อ »

จิตวิญญาณในโลกหลังความจริง



โดย ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 11 มีนาคม 2560

พจนานุกรมออกซฟอร์ดได้ยกให้คำว่า “หลังความจริง” (Post-Truth) เป็นคำแห่งปี พ.ศ. ๒๕๕๙ มันมีความหมายว่า ความเป็นจริงทางภววิสัยส่งผลต่อความคิดความเชื่อของผู้คนน้อยกว่าอารมณ์ความรู้สึกและความเชื่อส่วนตัว พูดภาษาง่ายๆ ก็คือ คนเราย่อมเอาอารมณ์ความรู้สึกเข้าตัดสินเสมอๆ โดยไม่สนใจหลักฐานความเป็นจริงที่ปรากฏต่อตนเอง

นักจิตวิทยาได้แยกกระบวนการให้เหตุผลของมนุษย์เป็นสองระบบ ระบบแรก เราก่อร่างสร้างรูปความเชื่อของเราจาก “ญาณทัสสนะ” และระบบที่สอง ด้วยกระบวนการ “ความคิดเชิงเหตุผล” ญาณทัสสนะคือผลพวงของวิวัฒนาการดั้งเดิมที่ทำให้เราเรียนรู้ที่จะเอาตัวรอดจากสภาพแวดล้อม มันเป็นกระบวนการที่ดำเนินอยู่ในระดับจิตใต้สำนึกโดยเราไม่รู้ตัว ส่วนความคิดเชิงเหตุผลเป็นผลจากวิวัฒนาการของมนุษย์ในภายหลังที่ทำให้เราสามารถใช้เหตุผลเชิงนามธรรม ซึ่งจะถูกจำกัดด้วยความทรงจำและพัฒนาการทางปัญญา

นอกจากนั้น เขายังค้นพบว่า คนเราไม่ได้ใช้เพียงความคิดเชิงเหตุผลในการตัดสินใจทำอะไรต่างๆ ๑๐๐% เรายังใช้ญาณทัสสนะเข้ามาตัดสินในเรื่องต่างๆ โดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัว (และอาจจะอธิบายการกระทำนั้นด้วยเหตุผลในภายหลัง)

อ่านต่อ »

เล่าเรื่อง Process Work จิตวิทยากระบวนทัศน์ใหม่ ตอน โรงเรียนกระบวนกรที่พอร์ตแลนด์



โดย โอม รัตนกาญจน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 4 มีนาคม 2560

“I learn Process Work by relationship and love.” Dawn Menken

หลายปีที่ผ่านมาศาสตร์ของกระบวนกร หรือ Facilitator เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นในเมืองไทย ทั้งในแวดวงการฝึกอบรม การศึกษา และการเปลี่ยนแปลงองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และสังคม อาจเป็นเพราะว่าโลกทุกวันนี้เต็มไปด้วยความขัดแย้งและการเปลี่ยนแปลง เราอาจกำลังต้องการผู้นำที่มีความเป็นกระบวนกรมากขึ้น หมายถึงผู้นำที่สามารถหลอมรวมความแตกต่างหลากหลาย และนำพาผู้คนให้เกิดการมีส่วนร่วม เรียนรู้ และเติบโตไปด้วยกันอย่างเคารพเท่าเทียม ส่วนตัวผมเองมักจะมีพี่ๆ น้องๆ ที่รู้จักในแวดวงเขียนมาถามถึงการทำงานและการเรียนรู้ด้านนี้อยู่เป็นระยะ ผมก็มักจะเล่าให้ฟังโดยนัดพูดคุย เขียนแลกเปลี่ยนกันในโซเชียลมีเดีย และหลายท่านคิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์กับผู้สนใจในวงกว้าง จึงเป็นที่มาของบทความชิ้นนี้

อ่านต่อ »

Back to Top