พฤษภาคม 2015

ปฏิรูปการศึกษาจะสำเร็จได้ด้วยคุณครู ไม่ใช่คนอื่น



โดย นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 30 พฤษภาคม 2558

ผู้เขียนได้พบคุณครูในชนบท ๔๕ โรงเรียนจากสามเขตการศึกษาแล้วทำให้มีกำลังใจ มีความหวัง และเชื่อมั่นในเรื่องที่เคยเชื่อเสมอมาว่า การปฏิรูปการศึกษาจะสำเร็จได้ก็ด้วยครูธรรมดาๆ ในโรงเรียนธรรมดาๆ ตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ

มีเรื่องบางเรื่องเท่านั้นที่ครูควรรู้ และเป็นเรื่องง่ายๆ

บางที เพียงแค่เปลี่ยนวิธีการประชุมครู ให้ครูรู้วิธีการประชุมโดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง เท่านี้ก็เพียงพอ

อธิบาย

การประชุมที่เป็นอยู่ทุกวันนี้เป็นอย่างไร?

การประชุมครูไทยทั่วประเทศในภาคราชการคงไม่ต่างจากที่หลายกระทรวงกำลังเผชิญอยู่ กล่าวคือประชุมเรื่องงานอีเวนต์เสียมาก ไม่เกี่ยวอะไรกับงานในภารกิจที่ทำ

เพื่อความยุติธรรม ควรกล่าวด้วยว่า กระทรวงสาธารณสุขเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เต็มไปด้วยการประชุมจัดอีเวนต์ ต้อนรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ชี้แจงและเร่งรัดเอาผลงานและตัวชี้วัดที่ไม่เป็นจริง แต่ไม่ค่อยได้ประชุมกันเรื่องประโยชน์ของผู้ป่วยสักเท่าไรนัก

อ่านต่อ »

สนทนาข้ามพรมแดน: ความทรงจำร่วมและความหวังของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมจากฐานราก



โดย ธัญลักษณ์ ศรีสง่า
สถาบันสะพานพัฒนา
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 23 พฤษภาคม 2558

ไม่นานมานี้ ผู้เขียนมีโอกาสเข้าร่วมวงสนทนาเล็กๆ ของกลุ่มเอ็นจีโอที่มีประสบการณ์เข้มข้นและยาวนานในการทำงานเพื่อปกป้องสิทธิของกลุ่มคนที่เปราะบางทางสังคม สิทธิชุมชน และสิทธิในการดูแลและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นสมบัติร่วมกันของคนเล็กคนน้อยคนยากคนจนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ

เราใช้เวลาสองวันหนึ่งคืนกับการพูดคุยข้ามพรมแดนชีวิตและงานของแต่ละคน แบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัว เชื่อมร้อยภาพความทรงจำร่วมของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมจากฐานรากของประเทศไทย และช่วยกันร้อยเรียงหมุดหมายสำคัญของสายธารขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการทำงานทางสังคมของคนหลายคนในวงสนทนา เช่น ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๒๘ ที่มีกรณีชาวบ้านรวมตัวกันคัดค้านการปลูกยูคาลิปตัสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคัดค้านการทำประมงอวนลากอวนรุนที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔ มีกรณีคัดค้านโครงการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับราษฎรผู้ยากไร้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรม (คจก.) รวมทั้งเป็นช่วงเวลาเริ่มต้นของมหากาพย์การคัดค้านเขื่อนปากมูล หลังจากนั้นขบวนเริ่มมีการจัดการตนเองในลักษณะการเชื่อมโยงกลุ่มงานต่างๆ เข้าหากันเป็นเครือข่ายข้ามประเด็นและข้ามพื้นที่มากขึ้น เพื่อผนึกกำลังและกำหนดแนวทางการเคลื่อนไหวที่มุ่งผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาเชิงนโยบาย เช่น การรวมตัวของเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.) ในปี ๒๕๓๗ และสมัชชาคนจนในปี ๒๕๓๘ เป็นต้น

อ่านต่อ »

การศึกษาที่แท้



โดย ภัทร กิตติมานนท์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 9 พฤษภาคม 2558

ถ้าชีวิตของผมเป็นเหมือนหนังสือ เรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงนี้คงเปรียบเหมือนการขึ้นบทใหม่ จากแต่เดิมที่เรียนรู้อยู่กับชุมชนมาได้ ๔ ปี ถึงตอนนี้ บริบททั้งหลายก็เปลี่ยนแปลงไป ช่วงต่อไป ผมต้องออกมาเรียนรู้ด้วยตัวเอง ไม่มีการประคองใกล้ชิดจากลุง (วิศิษฐ์ วังวิญญู) และชุมชนอย่างที่เคยเป็นมา ในช่วงที่เกิดการปรับเปลี่ยนใหม่ๆ ต้องยอมรับว่า รู้สึกสั่นสะเทือนมาก มันเกิดขึ้นโดยเราไม่ได้ตั้งตัว แต่ทุกการเปลี่ยนแปลงในชีวิตก็ล้วนเป็นอย่างนี้ไม่ใช่หรือ? ผมนึกถึงช่วงที่ตัวเองเดินทางออกจากกรุงเทพฯ จากชีวิตในระบบมาสู่การเรียนรู้วิถีใหม่ที่ชุมชนเชียงราย ในตอนนั้น หลังจากติดอยู่ในวังวนยาเสพติดมา ๓ ปี คืนหนึ่ง ในวันที่ชีวิตดิ่งลงถึงจุดต่ำสุด การเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้น เริ่มจากแฟนที่เคยเล่นยาอยู่ด้วยกันตัดสินใจแยกทางไป แล้วจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง พ่อแม่ก็เดินทางมาหาพร้อมกับบอกว่า พวกเขารู้แล้วว่าผมติดยา ในเช้าวันนั้นเอง เราก็เดินทางออกจากกรุงเทพฯ มาสู่เชียงรายและชุมชนที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน

จากวันนั้นถึงวันนี้ กินเวลา ๔ ปีกว่าๆ เป็นช่วงเวลาที่ผมได้เรียนรู้อยู่ในโลกใบใหม่ที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง หากจะนิยาม ๔ ปีในชุมชนเป็นบทหนึ่งในหนังสือ ผมจะให้ชื่อบทว่า “การศึกษาที่แท้” เพราะนี่คือการศึกษาที่ลงลึกถึงหัวใจ ไม่ใช่การเรียนเพื่อจดจำเนื้อหาดังที่เคยเป็นมา แต่ทุกๆ บทเรียนที่เกิดขึ้นคือความเข้าใจที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงตัวตนของผมอย่างถึงราก ผมเลิกยาได้จากความสนิทสนมที่มีกับลุง ผมเริ่มเปิดตัวเองสู่โลกของการอ่านการเขียน จากคนที่เคยขยาดแขยงหนังสือเล่มหนาๆ ชื่อยากๆ มาวันนี้ ผมสามารถอ่านหนังสือภาษาอังกฤษได้อย่างเมามัน อย่างที่ไม่กลัวว่าตัวเองจะไม่เข้าใจ และที่สำคัญ จากเด็กขี้อายที่ลึกๆ ยังรู้สึกสงสัยในคุณค่าของตัวเองอยู่ตลอด ตอนนี้ผมสามารถเป็นผู้นำพาการเรียนรู้ให้กับคนอื่นๆ ได้

อ่านต่อ »

วิกฤตสามวิ



โดย ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 2 พฤษภาคม 2558

เคยสังเกตไหมว่าเวลาที่เด็กหกล้ม เขาจะหันไปมองคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ใหญ่ และในสามวินาทีนั้น ถ้าหากพ่อแม่ทำหน้าตกใจ เด็กจะร้องไห้โฮออกมาทันที แต่กลับกัน ถ้าทำเฉยๆ หรือยิ้มให้แล้วอาจจะพูดว่า "เป็นไงไหวไหมจ๊ะ" เด็กก็อาจจะลุกขึ้น ปัดฝุ่นแล้วบอกว่าไม่เป็นไรครับ/ค่ะ แล้ววิ่งเล่นต่อไป

ช่วงเวลาสามวินาทีนั้น กำหนดพฤติกรรมของเด็ก เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น เด็กยังไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไร หรือควรจะมีความรู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์นั้น พวกเขาจึงหันมาที่ผู้ใหญ่เพื่อมองหา "สัญญาณ" บางอย่างที่ตัวเองจะจับไปใช้สำหรับการแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่อเหตุการณ์นั้น และเมื่อได้ทำแบบนั้นบ่อยเข้า ก็จะเกิดเป็นแบบแผนของนิสัยประจำตัวที่เอาไว้ใช้เมื่อเจอเหตุการณ์ต่างๆ เป็นเพราะเด็กพึ่งพา "ความรู้สึก" มากกว่าผู้ใหญ่ซึ่งมักจะใช้ "ความคิด" เป็นหลักในการเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์ต่างๆ

ฟังๆ ดูเหมือนกับผมกำลังจะบอกว่าปฏิกิริยาของเด็กที่มีต่อเหตุการณ์ต่างๆ นั้น เด็กเฝ้าดูจากสังคมเป็นเกณฑ์ แทนที่จะสามารถตัดสินได้ด้วยตัวเอง อันนี้เราต้องแยกว่าปฏิกิริยาที่พูดถึงสามารถแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกก็คือความรู้สึก และส่วนที่สองคือพฤติกรรม

อ่านต่อ »

Back to Top