กรกฎาคม 2016

คุณธรรม นำความรู้ สู่ปัญญา



โดย ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 30 กรกฎาคม 2559

ประเทศไทยมีความพยายามในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษามายาวนาน แต่ไม่ได้รับความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ด้วยเหตุหลายประการ สำหรับผมที่สำคัญคือการปรับและการปฏิรูปแต่ละครั้ง ในเชิงปฏิบัติมิได้ทำการปรับปรุงหรือปฏิรูปแก่นแกนที่เป็นสาระสำคัญหรือจิตวิญญาณของการศึกษาโดยตรง แต่ไปเน้นที่การปรับเปลี่ยนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเป็นส่วนใหญ่ เช่น เรื่องการปรับโครงสร้าง การปรับเปลี่ยนระบบบริหาร การเข้าสู่ตำแหน่ง ความก้าวหน้าในอาชีพและค่าตอบแทน เป็นต้น ซึ่งเป็นมิติภายนอก เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับอำนาจ กับผลประโยชน์ กับระบบการบังคับบัญชา มากกว่าการพัฒนาคุณภาพครูอาจารย์ โดยเฉพาะจิตวิญญาณของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษาซึ่งเป็นมิติภายใน

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถือเป็นผู้บุกเบิกที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนามิติภายในโดยนำเรื่องคุณธรรมขึ้นมาเป็นคำขวัญ เป็นเสมือนเข็มทิศในการสร้างครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาของคณะคือ “ความรู้คู่คุณธรรม” ที่ศาสตราจารย์อำไพ สุจริตกุล คณบดีสมัยนั้นเป็นผู้ริเริ่ม และต่อมามีหลายสถาบันนำไปใช้ แต่น่าเสียดายที่แนวคิดที่งดงามและเหมาะสมนี้ เป็นเพียงคำพูดที่สวยหรู ดูดีแต่ในเอกสารเท่านั้น ในแง่ของการปฏิบัติและการนำไปใช้กลับไม่ได้เป็นส่วนสำคัญอย่างแท้จริง อย่างเก่งก็แค่มีการกำหนดระยะเวลาหรือกิจกรรม เช่น การเข้าค่ายคุณธรรม (เข้าวัดหรือสถานปฏิบัติธรรมหรือเทียบเคียง) ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ควรเป็นส่วนหนึ่งและเป็นส่วนสำคัญควบคู่ไปกับการเรียนการสอนในทุกรายวิชา(ความรู้) ไม่เชื่อลองไปศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาที่ปรากฏในเอกสารคำบรรยายลักษณะวิชาหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า course description ของแต่ละวิชาของแต่ละหลักสูตรดู แม้ไม่ปรากฏในลักษณะรายวิชา ซึ่งมักจะเน้นเฉพาะเนื้อหาวิชาเป็นหลัก แต่มีปรากฏในวิธีการหรือกระบวนการเรียนการสอนที่สะท้อนให้เห็นว่ามีการเน้นเรื่องคุณธรรมที่ควบคู่ไปกับความรู้หรือไม่อย่างไร ยังมิต้องพูดถึงการวัดการประเมินในแต่ละรายวิชาว่ามีเรื่องคุณธรรมหรือความดีความงามอยู่หรือไม่ หรือมีแต่เนื้อหาวิชาล้วนๆ

อ่านต่อ »

สังคม “ขัดหู ขัดตา ด่าไว้ก่อน”



โดย สมพล ชัยสิริโรจน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 23 กรกฎาคม 2559

ดูหนังดูละคร แล้วย้อนดูตัว ดูเอฟบี ดูโซเชียลมีเดียแล้วมองเห็นใจตนเอง

ในบรรดาโพสต์โพสต์ต่างๆ มากมายในเอฟบี โพสต์เล็กๆ แต่ดุเดือดโพสต์หนึ่ง เป็นภาพของนิสิตหญิงในชุดของมหาวิทยาลัยของเธอ โพสต์ข้อความที่เข้าข่ายว่าหยาบคายในสายตาของคนทั่วไป แต่ที่ยั่วยุยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ท่าทีที่ไม่แยแสต่อคำต่อว่าวิจารณ์ที่กระหน่ำตามมา

อันที่จริงผู้เขียนควรจะยกตัวอย่างถ้อยคำที่ว่า แต่ชะตากรรมของนิสิตคนนี้ ทำให้ผู้เขียนขยาดสายตาผู้อ่านตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในบรรดาคำวิจารณ์ต่างๆ ที่ขึ้นมาในโพสต์ของเธอ มีตั้งแต่ตำหนิตัวเธอที่ใช้ไม่ได้ ไม่รักตัวเอง ไม่รักสถาบัน ครูบาอาจารย์ไม่รู้จักสั่งสอน จนไปถึงว่า พ่อแม่คงไม่มี หรือมีก็มัวแต่หาเงินทองจนไม่รู้จักดูแลลูก รวมทั้งมีว่า ลูกไม่เอาไหน ทำตัวอย่างนี้ เพราะใครแนะนำสั่งสอนก็ดื้อรั้น ก็คงไม่รู้จักเชื่อฟัง

และก็อีกครั้ง ถ้อยคำที่ผู้เขียนยกมาก็โดนเจือจางล้างน้ำให้ความรุนแรงในภาษาลดระดับลง ให้ผู้เขียนรู้สึกปลอดภัย

ปรากฏการณ์นี้อาจจะเรียกได้ว่า อาการ “ขัดหู ขัดตา ด่าไว้ก่อน” ปรากฏในสื่อออนไลน์อยู่อย่างสม่ำเสมอ ในเรื่องราวและระดับความรุนแรงที่ต่างๆ กันไป

ไม่ว่านิสิตคนนี้จะทำถูกหรือผิด นั้นเป็นประเด็นหนึ่ง แต่คนด่าเขาอาจจะต้องตั้งคำถามว่า “เขาผิดหรือถูก ทำไมต้องไปด่าเขา?” ทำไมต้องตอบโต้ท่าทีของคนที่เราไม่ชอบอกชอบใจและขัดอกขัดใจด้วยความรุนแรง

อ่านต่อ »

มรดกทางจิตวิญญาณของโทมัส เมอร์ตัน



โดย ไพรินทร์ โชติสกุลรัตน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 12 มีนาคม 2559

ชื่อของโทมัส เมอร์ตัน (ค.ศ. ๑๙๑๕-๑๙๖๘) อาจไม่เป็นที่คุ้นเคยในบ้านเราเท่าไรนัก แต่ในแวดวงชาวคริสต์แล้ว พระสงฆ์คริสต์ผู้นี้เป็นนักคิดนักเขียนคนสำคัญของศตวรรษที่ ๒๐ เป็นผู้นำในการใช้คริสตธรรมมาสนับสนุนการสร้างสันติภาพ อีกทั้งยังเป็นผู้ที่ช่วยให้ชาวตะวันตกได้รู้จักศาสนาตะวันออกอย่างถ่องแท้ เมอร์ตันได้พบและสนทนาอย่างลึกซึ้งกับเพื่อนต่างศาสนา จนเป็นแรงบันดาลใจให้กับการสานสัมพันธ์ระหว่างศาสนามาจนถึงปัจจุบัน

โทมัส เมอร์ตันเกิดในฝรั่งเศส โดยมีแม่เป็นชาวอเมริกันและพ่อเป็นชาวนิวซีแลนด์ ในปี ๑๙๓๒ เมอร์ตันย้ายมาพำนักในสหรัฐอเมริกา หลังจากบวชเข้าคณะแทรปพิสต์ (คณะนักพรตที่เน้นการหลีกเร้นภาวนา) ในปี ๑๙๔๑ ด้วยความที่เขามีพรสวรรค์ในการเขียน เมอร์ตันจึงได้รับการสนับสนุนจากอธิการให้เขียนหนังสือ นั่นจึงทำให้เขาเป็นที่รู้จักของโลกภายนอก แม้ว่าตัวเขาเองแทบจะไม่ปรากฏตัวนอกอารามเลย เขามีงานตีพิมพ์เป็นหนังสือกว่า ๗๐ เล่ม มีผลงานบทกวี บทความ และจดหมายอีกมากมาย ในช่วงแรก เขาเน้นเขียนเรื่องแนวคิดในคริสตศาสนา โดยเฉพาะเรื่องการทำสมาธิภาวนา อัตชีวประวัติเรื่อง The Seven Storey Mountain ที่ว่าด้วยการแสวงหาภายในของเขา จากเด็กหนุ่มที่ใช้ชีวิตเหลวแหลก จนมาพบหนทางภาวนา สละเรื่องทางโลกและหันหน้าเข้าสู่อาราม กลายเป็นหนังสือยอดนิยม ที่นำพาคนหนุ่มสาวในยุคนั้นหันเข้าสู่ศาสนาและการภาวนา จนถึงปัจจุบันหนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ไปแล้วกว่าล้านเล่ม

แม้จะหยั่งรากลึกกับการภาวนาวิถีคริสต์ แต่เมอร์ตันก็เปิดใจเรียนรู้จากศาสนาอื่น โดยเฉพาะในช่วงปลายทศวรรษที่ ๕๐ จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต เมอร์ตันศึกษาและเขียนงานเกี่ยวกับศาสนาตะวันออกอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นเต๋า ฮินดู ซูฟี และศาสนาพุทธ เขาให้ความสนใจกับเซ็นเป็นพิเศษ เพราะพบว่าวิถีของอาจารย์เซ็นนั้น คล้ายคลึงกับวิถีนักพรตคริสต์เป็นอย่างยิ่ง เขาเขียนจดหมายแลกเปลี่ยนความเข้าใจกับ ดี.ที.ซูซูกิ หนึ่งในผู้นำเซ็นไปเผยแพร่ในโลกตะวันตกเป็นเวลาหลายปี เมื่อทั้งสองมีโอกาสพบกัน ซูซูกิชมว่าเมอร์ตันเป็นนักเขียนตะวันตกที่สามารถเข้าใจเซ็นได้ดีที่สุด

อ่านต่อ »

ความว่างเปล่าอันทรงพลัง



โดย ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 9 กรกฎาคม 2559

หลายๆ คนคงจะเคยขับรถผ่านจุดที่จะต้องชำระเงินในห้าง หรือทางด่วน เมื่อเราจ่ายเงินไปแล้ว จะมีเสียง “ขอบคุณ” ดังออกมาจากลำโพง ซึ่งเป็นเสียงที่ถูกอัดไว้ล่วงหน้า และพูดซ้ำๆ ให้ได้ยินทุกครั้ง

“ขอบคุณครับ”

แม้ว่าบางครั้ง พนักงานในตู้เก็บเงินเป็นผู้หญิง... (เอิ่ม)

ส่วนใบหน้าของพนักงานเก็บเงินในตู้ก็จะเรียบเฉย ไม่แสดงความรู้สึกใดๆ เพราะเขาหรือเธอมีหน้าที่เพียงรับเงินและทอนเงิน และไม่มีหน้าที่ในการพูด เพราะจำนวนเงินที่ต้องจ่ายก็มีระบุเป็นตัวเลขให้เห็นแล้ว

เราได้ยกหน้าที่ในการคำนวณอันซับซ้อน การสร้างภาพสามมิติ การขับรถยนต์ ไปให้กับคอมพิวเตอร์แล้ว แต่ไม่น่าเชื่อว่าในที่สุดเราได้ยกหน้าที่ในการแสดงความรู้สึกรำลึกถึงบุญคุณ ไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่แทนได้ด้วย

และก็คงจะแทบทุกคนที่เคยมีประสบการณ์ได้พบกับพนักงานร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้า ที่ถูกสั่งให้ต้องยกมือขึ้นไหว้ลูกค้าหลังจากยื่นถุงสินค้าให้เนื่องจากเป็นนโยบายของผู้บริหาร แต่ผมจะรู้สึกไม่ใคร่ดีทุกครั้ง เพราะรู้ว่าพวกเขาถูกบังคับให้ทำ โดยไม่ได้รู้สึกอยากทำเลยถ้าหากเลือกได้

“รับขนมจีบ ซาลาเปา ไหมคะ?”

เป็นวจีกรรมที่ปราศจากเจตนา ไม่ต่างกับคำ “ขอบคุณ”​ ที่เครื่องจักรไร้หัวใจพูดปาวๆ ออกลำโพง ไล่หลังรถทุกคัน

อ่านต่อ »

Back to Top