2016

การสนทนาที่ “ดีต่อใจ”



โดย ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 31 ธันวาคม 2559

เร็วๆ นี้ผมได้พูดคุยกับรุ่นน้องที่ทำละครด้วยกันคนหนึ่ง หลังๆ ผมพบว่าเขาเอาใจออกห่างและไม่สนใจจะเข้ามาทำงานให้กับกลุ่มสักเท่าใด เขาเป็นนักคิดที่เยี่ยมยอดแต่ก็ปิดบังความรู้สึกของตนเองโดยไม่รู้ตัว แต่เมื่อต้องแบทเทิลกันด้วยคำพูด น็อตบางตัวก็หลุดออก เขาก็เก็บอาการไม่อยู่

“ผมผิดหวังในตัวพี่ กลุ่มละครที่ทำงานด้านผู้ถูกกดขี่ แต่พี่กลับเป็นคนที่กดขี่เสียเอง”

การสาดกระสุนใส่กันด้วยคำพูดนั้น คนเราทำโดยไม่รู้ตัว เราไม่รู้ว่าอะไรสั่งให้ทำ และถ้อยคำที่ใช้ก็เปิดเผยความคิดที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในจิตใต้สำนึกของเรา คำว่า “ผิดหวัง” นั่นคือ “ยาพิษ” เราดีๆ นั่นเอง ไม่ต่างอะไรกับการผสมยาพิษในน้ำเปล่าให้เขาดื่ม เพราะมันได้แฝงฝังคำตำหนิเอาไว้โดยมิเปิดเผยฐานที่มั่นแห่งความรู้สึกของตนเอง

ผมตอบง่ายๆ ว่า “ผมรู้สึกเสียใจ ในการกระทำของเขาครั้งนี้ ที่ทำโดยไม่ปรึกษาและละเลยความคิดเห็นของคนในทีม” ฟังดูเผินๆ ดูเหมือนว่าผมกำลังสาดกระสุนใส่เขา แต่จริงๆ ไม่ใช่ เพราะผมกำลังแบ่งปันความรู้สึกของตัวเอง โดยไม่ต้องโยนอารมณ์ซึ่งเหมือนเศษชิ้นเนื้อเน่าๆ ให้เป็นภาระแก่เขา

สิ่งที่เขาทำต่อไปก็คือการตั้งคำถามให้กับการกระทำของผม เช่น

“ผมขอถามถึงจุดยืนของพี่ว่า พี่ทำเพื่อสังคมจริงหรือ?”

อ่านต่อ »

บริษัทมหาชนสู่กระบวนการทางจิตตปัญญาเต็มรูปแบบ (๒)



โดย วิศิษฐ์ วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 17 ธันวาคม 2559

การทำงานกับองค์กรต่างๆ เพื่อไปสู่องค์กรแห่งจิตตปัญญาเต็มรูปแบบนั้น ผมจะหล่อหลอมปัญญาทั้งสามแบบไปด้วยกัน คือ “สูตะ” คือการฟัง การอ่าน “จินตะ” คือการคิดค้น การสร้างและเชื่อมโยงแผนที่ในเรื่องต่างๆ เข้าด้วยกัน และ “ภาวนา” คือการใคร่ครวญลงลึก ผ่านการกระทำและประสบการณ์

เรื่องการอ่านและการสร้างแผนที่ ผมกลับไปที่แนวคิดของเคน วิลเบอร์ เรื่อง I, WE, IT ในเรื่อง IT หรือโครงสร้างขององค์กร ผมมองไปที่วิวัฒนาการองค์กรสีเทอควอยซ์1 และใช้หนังสือ Reinventing Organizations ของ Frederic Laloux เป็นหลัก ซึ่งเชื่อมโยงเรื่อง WE หรือวัฒนธรรมองค์กรเข้ามาด้วย โดยเครื่องมือด้านซอฟต์ไซด์ (soft side) หรือไม้อ่อนของการพัฒนาองค์กร จะใช้เครื่องมือทางจิตตปัญญา เช่น ไดอะล็อกและการสืบค้นด้านบวก เป็นต้น ซึ่งรู้จักกันดีในเมืองไทยอยู่แล้ว

แต่ Reinventing Organizations อาจเป็นอีกสองสามขั้นบันไดไปข้างหน้าที่ยังยากแก่การเข้าใจอยู่ เพราะเป็นซอฟต์ไซด์มากไปสำหรับองค์กรที่คุ้นเคยกับฮาร์ดไซด์ (hard side) ผมเลยหาหนังสืออีกเล่มสองเล่มเพื่อมาตอบโจทย์ดังกล่าว เพราะผมคิดว่าหน้าที่ของปัญญาชนคือการระบุทางออกหรือคำตอบให้แก่ยุคสมัย ในที่นี้คือการหาคำตอบให้แก่องค์กรที่ต้องการจะเป็นองค์กรจิตตปัญญาอย่างสมบูรณ์แบบ ว่าพวกเขาจะเป็นได้อย่างไร และในกรณีที่พวกเขายังไม่สามารถขบเคี้ยว ย่อยความเป็นองค์กรสีเทอควอยซ์ไปเป็นสารอาหารได้ เราอาจจะหาสะพานที่ช่วยให้ขบเคี้ยว กลืนกิน และย่อยเข้าไปได้ในที่สุด และต้องเป็นการระบุที่เรียบง่ายตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อมและเสียเวลามาก ผมค้นหาและได้หนังสือมาเล่มหนึ่งที่จะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างซอฟต์ไซด์กับฮาร์ดไซด์เข้าหากันได้เป็นอย่างดี คือ Good to Great ของ จิม คอลลินส์ (Jim Collins) Good to Great

จิม คอลลินส์ กับทีมสิบกว่าคนทำวิจัย ๕ ปี เพื่อคัดเลือกบริษัทจากฟอร์จูน 500 ให้เหลือ ๑๑ แห่ง ที่ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องยั่งยืน ไม่ว่าสถานการณ์จะพลิกผันไปอย่างไรก็ตาม และสามารถส่งต่อไม้ให้คนรุ่นต่อไปเข้ามาบริหารด้วยความยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันด้วย หนึ่งในสิบเอ็ดบริษัทคือ เจเนอรัลอิเล็กทริก (GE) ซีอีโอคือ แจ็ค เวลช์ (Jack Welch) ผู้เขียนหนังสือ Winning ซึ่งผมพบว่ามันเป็นสะพานที่จะมาหลอมรวมซอฟต์ไซด์กับฮาร์ดไซด์ได้อย่างกลมกลืนและเนียนมากๆ ได้ทั้งประสิทธิภาพ การดูแลคนอย่างเป็นองค์รวม คือได้ความสุข ได้ความหมายของการมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ด้วย

อ่านต่อ »

เรียนรู้อยู่กับความตาย



โดย ธัญลักษณ์ ศรีสง่า
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 10 ธันวาคม 2559

"คนที่หันหลังให้ความจริง จะถูกความจริงโบยตี ความตายคือความจริงที่ไม่มีใครหนีพ้น เมื่อระลึกความจริงนี้ได้ต้องเผชิญ ความตายไม่น่ากลัวเท่ากับความกลัวตาย"

ส่วนหนึ่งของการบรรยายโดยพระไพศาล วิสาโล ในหลักสูตรอบรมการเขียนหนังสืออนุสรณ์งานศพ ‘Book of memorial’ 19 พฤศจิกายน 2559 ที่จัดโดยเครือข่ายพุทธิกา กระตุ้นเตือนให้ผู้เข้าร่วมตระหนักถึงความจริงข้อนี้ในชีวิตที่มักจะหลงลืมกัน

ประมาณสองเดือนที่แล้ว ผู้เขียนเห็นโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์หลักสูตรอบรมเขียนหนังสืออนุสรณ์งานศพของเครือข่ายพุทธิกาปรากฏบนสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยความสนใจส่วนตัวที่มองว่าหนังสืออนุสรณ์งานศพเป็นงานเขียนที่ทำให้เข้าใจชีวิตของผู้ตาย และสภาพสังคมที่แวดล้อมชีวิต ประกอบกับหลักสูตรนี้จัดโดยเครือข่ายพุทธิกา ซึ่งจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องความตายมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตัดสินใจสมัครเข้ารับการอบรม

การอบรมจัดระหว่างวันที่ 19-20 พฤศจิกายน และ 4 ธันวาคม 2559 ในระยะเวลา 3 วัน แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 ในวันแรก เป็นการเรียนรู้เรื่องความตาย ผ่านการบรรยาย “เรื่องความตายในทรรศนะพระไพศาล วิสาโล” โดยพระไพศาล วิสาโล หลังจากนั้นเป็นกิจกรรมไพ่ไขชีวิต และสมุดเบาใจ ที่ทำให้เกิดกระบวนการใคร่ครวญกับชีวิตและความตาย

การบรรยายของพระไพศาล วิสาโล กระตุกให้เราคิดว่า ควรเตรียมตัวรับกับความตายที่พร้อมจะมาเยือนเมื่อไรก็ได้ การเตรียมตัวที่สำคัญ คือ การเตรียมสติ ซึ่งต้องให้เวลากับการเตรียม และฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง พระไพศาลเปรียบเทียบความตายกับการสอบไว้อย่างน่าสนใจว่า “ความตาย คือการสอบไล่ครั้งสุดท้ายของวิชาชีวิต ไม่มีทางแก้ตัว ตกแล้วตกเลย ที่สำคัญคือไม่รู้จะสอบเมื่อไร และคนส่วนใหญ่ไม่ให้เวลากับการเตรียม”

กิจกรรมไพ่ไขชีวิต ทำให้เราทบทวนชีวิตที่ผ่านมา และวางแผนสิ่งที่ตั้งใจจะทำให้สำเร็จก่อนตาย ขณะที่สมุดเบาใจ คือ การแสดงเจตจำนงในการ “ตายดี” ด้วยการวางแผนการดูแลรักษา การจัดการร่างกาย และงานศพด้วยตนเอง โดย ปทานุกรมความตาย ที่จัดทำโดยโครงการสื่อสารสร้างความตระหนักรู้วิถีสู่การตายอย่างสงบ เครือข่ายพุทธิกา อธิบายความหมายของการ “ตายดี” ไว้ว่า เป็นการตายที่ปลอดจากความทุกข์ทรมานที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทั้งของผู้ป่วย ญาติ และผู้ให้การรักษา

เจตจำนงในการตายดี นอกจากเป็นความประสงค์ส่วนตัวแล้ว ยังเป็นสิทธิของบุคคลตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 ที่บัญญัติไว้ว่า “บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ โดยการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง”

การเรียนรู้ในช่วงนี้ จึงทำให้เห็นว่าเรื่องความตาย นอกจากเป็นการใคร่ครวญทบทวนชีวิตในระดับบุคคลแล้ว ยังเป็นสิทธิของทุกคนในการเลือกที่จะ “ตายดี” ด้วย

ช่วงที่สองอยู่ในวันที่ 2 และ 3 ของการอบรม เป็นการเรียนรู้เรื่องการเขียนหนังสืออนุสรณ์งานศพ ครูในช่วงนี้ คือ คุณอรสม สุทธิสาคร และคุณวีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง ซึ่งมาให้ความรู้ผ่านการบรรยาย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทั้งในเชิงประเด็นและเทคนิคการเขียน เช่น การตั้งชื่อเรื่อง การแบ่งหัวข้อ การเขียนบรรยายให้เห็นภาพ ควบคู่ไปกับการยกตัวอย่างหนังสืออนุสรณ์งานศพแบบต่างๆ รวมทั้งให้ผู้เข้าอบรมฝึกเขียนในประเด็นเหตุการณ์สำคัญในชีวิต

ผู้เขียนพบว่า การปูพื้นฐานให้ใคร่ครวญเรื่องความตายมาจากการอบรมช่วงแรก มีความหมายอย่างมากกับช่วงฝึกเขียน เพราะทำให้การเขียนเป็นกระบวนการสืบค้นเข้าไปในชีวิตของตนเอง หรือคนที่เราเขียนถึงในมิติที่ลึกซึ้งมากขึ้น

หลังจากอบรมวันที่ 2 ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนต้องกลับไปทำ “การบ้าน” คือ เขียนหนังสืออนุสรณ์งานศพส่งกลับมาให้ครูตรวจภายใน 1 สัปดาห์ และมาพบกันอีกครั้งในการอบรมวันที่ 3 เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับงานเขียน โดยเป็นกระบวนการเรียนรู้ผ่านการแนะนำของครูทั้ง 2 ท่าน และวงคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเขียนของแต่ละคน รวมทั้งปิดท้ายด้วยการเสริมเทคนิคการเขียน เพื่อนำไปพัฒนางานต่อไป

ก่อนจบการอบรมมีการเปิดวงให้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 3 วัน เสียงสะท้อนจากนักเรียนรุ่นแรกพบว่า ประทับใจกับกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงการเข้าใจเรื่องการเขียนหนังสืออนุสรณ์งานศพ แต่ทำให้เกิดการใคร่ครวญเรื่องความตายทั้งจากประสบการณ์ของตนเอง และเรียนรู้จากเพื่อนผ่านกระบวนการกลุ่ม

การอบรมเขียนหนังสืออนุสรณ์งานศพ จึงเป็นการเรียนรู้อยู่กับความตาย ที่เหมาะสมกับผู้ที่ใช้การเขียนเป็นกระบวนการใคร่ครวญชีวิต ขณะเดียวกันก็เป็นหลักสูตรที่เปิดพื้นที่ให้คนรักการเขียนได้ลองมาสัมผัส มาเรียนรู้ เปรียบเหมือน “หลักสูตรเบื้องต้น” เรื่องความตาย ซึ่งอาจพัฒนาความสนใจไปสู่การเรียนรู้เรื่องความตายในระดับลึกต่อไปในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ถ้ามองจากสังคมกระแสหลัก คำถามหนึ่งที่อาจเกิดขึ้น และเป็นคำถามเชิงท้าทาย คือ ทำไมจึงต้องเรียนรู้เรื่องความตาย และการเรียนรู้เรื่องความตายมีความสำคัญอย่างไร

การตอบคำถามนี้ นอกจากการมีประสบการณ์ตรงผ่านการอบรมแล้ว กระบวนกรที่ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการเผชิญความตายอย่างสงบ จากเครือข่ายพุทธิกา กล่าวถึงความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ไว้ ในชุดความรู้การอบรมและกระบวนกรแนวจิตตปัญญาศึกษา เล่ม 8 การเผชิญความตายอย่างสงบ จัดทำโดยศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ว่า

“ความเข้าใจเรื่องความตาย และการเตรียมตัวเผชิญความตายอย่างสงบ ไม่ใช่เรื่องของเราแต่เพียงคนเดียว หากเป็นเรื่องของสังคมโดยรวมด้วย เราต้องช่วยกันศึกษาเผยแพร่ให้คนในสังคมมีความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่ถูกต้อง เห็นความตายเป็นเรื่องธรรมชาติ ช่วยให้มีความรู้เรื่องชีวิตหลังความตาย ให้ตระหนักอย่างลึกซึ้งในความงามและคุณค่าของชีวิตและความตาย ช่วยให้คนในสังคมมีความรัก ความเอื้ออาทรและเมตตาต่อกัน”

การเรียนรู้เรื่องความตายจึงมีความสำคัญเชื่อมโยงทั้งในระดับบุคคล และระดับสังคม เมื่อแต่ละบุคคลตระหนักว่าความตายเป็นจุดหมายปลายทางที่ต้องเผชิญ จะทำให้เห็นถึงความสำคัญของเวลาชีวิตที่เดินผ่านไปในทุกขณะ นำไปสู่การเลือกดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า และเมื่อวิธีคิดนี้ต่อประกอบเป็นภาพรวมของสังคมแล้ว จะนำไปสู่การสร้างสังคมที่ลดการเบียดเบียน และเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันมากขึ้น

สงครามชีวิต สนามรบในจิต



โดย สมพล ชัยสิริโรจน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 3 ธันวาคม 2559

เราเคยบ้างไหมลืมตาตื่นขึ้นมาแต่ละเช้าแล้วแทบจะอยากหลับตาลง ด้วยความเหนื่อยล้าในใจครอบงำ เมื่อจำต้องนึกถึงหน้าตาของผู้คนที่จะต้องผจญด้วยในวันนั้นๆ นับตั้งแต่หน้าของคนที่นอนอยู่ข้างๆ หน้าของลูกเล็กเด็กแดงหรือเติบใหญ่ในห้องข้างบน จนถึงหน้าผู้คนที่ต้องทำงานด้วยจะเป็นลูกน้องหรือลูกพี่ก็ตาม ยังไม่รวมไปถึงหน้าญาติพี่น้องอย่างน้อยบางคน หรือหน้าคนรถคนรับใช้ หรือแม้แต่ยามหน้าหมู่บ้านก็ตาม

หน้าแต่ละคนที่ต่างเชื้อชวนให้เราหงุดหงิดรำคาญใจ จนเหมือนเป็นอริปฏิปักษ์ฝ่ายตรงกันข้ามในยามศึก ที่กระตุ้นให้เราจำต้องสวมเสื้อเกราะและจับอาวุธเข้าต่อกรกับเจ้าของใบหน้าเหล่านั้น

แต่ละคนต่างเรียงหน้ากันเข้ามาตั้งแต่เราตื่นนอนจนกลับไปล้มลงนอน ราวกับเป็นข้าศึกที่แสนจะไม่นึกคิดอะไรให้ใกล้เคียงกับที่เราคาดหวังและต้องการ ต่างก็ทำอะไรตามใจชอบอย่างที่ไม่ตอบโจทย์ของเราเลย เราอยากให้ทำอะไรให้เสร็จไปโดยเร็ว แต่ละคนก็ยืดยาดเชื่องช้า หรือในทางตรงกันข้าม เราอยากให้ทำอะไรอย่างค่อยเป็นค่อยไป ก็มีแต่คนเร่งรัดเร่งรีบ เราอยากจะพูดอะไรตรงไปตรงมาให้เข้าใจตรงตามใจเรา ก็มีแต่คนอ่อนไหวรู้สึกโดนกระทบหัวใจง่ายเหลือเกิน หรือในทางตรงกันข้าม เราอยากให้ใครต่อใครทะนุถนอมใจเรา ก็มีแต่คนพูดจาฟาดฟันเชือดเฉือน เราอยากให้ใครต่อใครสุภาพมีสัมมาคารวะ เราก็เจอแต่คนเอะอะปึงปังทำอะไรใส่หน้าเราจนหน้าชา หรือในตรงกันข้าม เราเป็นคนตรงไปตรงมา ก็เจอแต่คนต่อมน้ำตาตื้น พูดอะไรนิดหน่อยก็น้ำหูน้ำตาไหล น่ารำคาญ จนรู้สึกว่า วันๆ ใบหน้าทั้งหลายรอบตัวนั้นกำลังระรานเราไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

อ่านต่อ »

ประชาธิปไตยและความยั่งยืน



โดย ประชา หุตานุวัตร
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2559

เมื่อผมเขียนเรื่อง “ข้อคิดจากการไปเกาหลี” ในคราวก่อนนั้น (ตีพิมพ์ในมติชน เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๙) ได้รับเกียรติจากคอลัมนิสต์ชื่อดัง คือคุณอธึกกิต สว่างสุข (เจ้าของนามปากกา ใบตองแห้ง) กรุณาเขียนถึงด้วยความกรุณา ประเด็นหลักของคุณอธึกกิตก็คือ “คำพูดตรงนี้สะท้อนทัศนะพวกฝ่ายก้าวหน้าในอดีตอย่างชัดเจน ไม่ว่าคนที่ยังอยู่ตรงกลางๆ อย่างอดีตพระประชา หรือพวกเครือข่ายหมอประเวศที่โดดเข้ามาหนุนประชารัฐประหาร พวก NGO พิภพ สมเกียรติ สมศักดิ์ บรรจง ฯลฯ ที่โดดเข้าร่วมพันธมาร ทัศนะที่เหมือนกันคือล้วนไม่เห็นความสำคัญของ "ประชาธิปไตย" เพราะมองแต่ว่ายังไงมันก็ทุนนิยม มันแก้วิกฤติสังคมมนุษย์ไม่ได้ ต้องแก้ด้วยธรรมะ ด้วยการพึ่งตัวเอง ด้วยการตื่นรู้ สร้างสังคมใหม่ขึ้นจากชุมชนฐานรากที่พวกตนไปทำขึ้น”

“วิธีคิดแบบนี้ตรงกันอย่างน่าประหลาด ระหว่างซ้ายเก่ากับสายพุทธ (รสนาโมเดล เคลื่อนไหวประชาธิปไตยหลัง ๑๔ ตุลาแล้วไปสร้างชุมชนวิปัสสนา) คือพวกนี้ปฏิเสธ "รัฐ" ไม่เชื่อเรื่องการสร้างรัฐที่มีระบบ มีหลักเกณฑ์ มีกติกา มีเสรีภาพในการต่อสู้ต่อรองเพื่อจัดสรรผลประโยชน์ (อุดมการณ์คอมมิวนิสต์จริงๆ ก็ไม่ใช่สร้างรัฐ แต่ทำลายรัฐ) หากจะใช้เสรีภาพประชาธิปไตย ก็ใช้เพื่อเป็น "เครื่องมือ" เท่านั้น ไม่ได้ถือเป็นอุดมคติ”


ผมขอเรียนชี้แจงว่า ผมไม่ได้คิดอย่างที่คุณอธึกกิตตีความนะครับ

ประการแรก ผมเห็นความสำคัญอย่างยิ่งของประชาธิปไตยทั้งแบบตัวแทนและแบบทางตรง และผมเห็นเผด็จการเป็นสิ่งเลวร้ายในตัวมันเอง ไม่ว่าเผด็จการฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา หรือเผด็จการโดยธรรม

ประการที่สอง ผมเห็นความสำคัญของ “เรื่องการสร้างรัฐที่มีระบบ มีหลักเกณฑ์ มีกติกา มีเสรีภาพในการต่อสู้ต่อรองเพื่อจัดสรรผลประโยชน์”

อ่านต่อ »

พัฒนราชา: บรมครูแห่งแผ่นดิน



โดย ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 19 พฤศจิกายน 2559

ครู ตามความเข้าใจของคนทั่วๆ ไป คือผู้ที่มีความรู้ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนหรือลูกศิษย์ในห้องเรียน ในสถานศึกษา

ครูเก่ง คือครูที่มีความรู้ในวิชาที่สอนอย่างลุ่มลึก แตกฉาน เป็นผู้มีเทคนิคการสอนการถ่ายทอดที่ช่วยให้ผู้เรียน เรียนด้วยความสนใจ ใคร่ติดตาม และเข้าใจในสิ่งที่เรียน

ครูดี คือครูที่มีความรักความเมตตาต่อลูกศิษย์ ช่วยเหลือและพัฒนาลูกศิษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ขึ้น อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างเหมาะสมกับสถานภาพและศักยภาพของตนเอง

ครูในอุดมคติ คือครูที่มีคุณสมบัติของครูดีและครูเก่ง

ครูของครู คือผู้ที่สอนลูกศิษย์ให้ไปเป็นครู

ครูของครูที่ดีและเก่ง คือครูที่สอนลูกศิษย์ให้ไปเป็นครูที่ดีและเก่ง
อครูของครูในอุดมคติ คือครูที่มีความสุขในการสอนให้ลูกศิษย์เป็นคนที่มีความสุข ความดี และความเก่ง

ในหลวงของปวงชนชาวไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นยิ่งกว่าครูของครูในอุดมคติในความหมายที่ให้ไว้

อ่านต่อ »

เปลี่ยนความขัดแย้งเป็นความเข้าใจ ด้วยการสื่อสารอย่างสันติ



โดย ไพรินทร์ โชติสกุลรัตน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 5 พฤศจิกายน 2559

ไอค์ แลสเซเทอร์ (Ike Lasater) ทนายความผู้มากประสบการณ์ในการเจรจาไกล่เกลี่ยเล่าว่า ครั้งหนึ่ง เขาเดินอยู่ในตัวเมืองซานฟรานซิสโกกับเพื่อนผู้หญิงสองคน ทันใดนั้น ชายคนหนึ่งก็เดินเข้ามาประชิด ท่าทางดูก้าวร้าว มือซ้ายกำหมัดอยู่ข้างตัว ผมเผ้าดูสกปรกเหมือนนอนกลางถนนมา คล้ายจะเมายาหรือเมาเหล้า ไอค์เปลี่ยนเข้าสู่โหมดพร้อมสู้ทันที เพราะคิดว่าชายคนนี้คงจะเข้ามาต่อยเขาแน่ ไอค์คิดว่าเขาเรียนไอกิโดมานักต่อนัก คราวนี้ถึงเวลาล้มเจ้าหมอนี่แล้ว

ไอค์เกือบจะลงมืออยู่แล้ว แต่เขากลับเปลี่ยนใจในชั่วพริบตา เขาตั้งสติและพูดกับชายคนนั้นว่า “เวลาที่คุณเข้ามาใกล้ขนาดนี้ ผมรู้สึกกลัว คุณช่วยถอยออกไปสัก ๒-๓ ฟุตได้ไหม” ชายคนนั้นเบิกตากว้างเล็กน้อย ยืดตัวขึ้นแล้วถอยหลังออกไป

ไอค์ถามต่อว่าเขาต้องการอะไร “ฉันต้องการเงิน” ชายคนนั้นพูดแล้วก็แบมือซ้ายที่กำไว้ออก ในมือมีเหรียญไม่กี่เหรียญ

ไอค์รู้สึกทั้งโล่งใจ ทั้งรำคาญใจ ทั้งงง เขายังไม่อยากให้เงินชายคนนั้น ใจเขายังไม่เปิดพอ ไอค์ตระหนักรู้สิ่งที่เกิดขึ้นภายในใจ และเริ่มรู้สึกสงสัย เขาถามชายคนนั้นว่า “คุณต้องการเงินเพราะคุณอยากได้ความช่วยเหลือใช่ไหม”

ชายคนนั้นหน้าตาอ่อนโยนลง แล้วกล่าวคำเหล่านี้ “ใช่แล้ว ฉันต้องการความช่วยเหลือ ฉันต้องการความใส่ใจ ฉันต้องการความอ่อนโยน ฉันต้องการความรัก”

อ่านต่อ »

อย่าให้ความรักกลายเป็นความมุ่งร้าย



โดย ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 29 ตุลาคม 2559

หลายปีมาแล้ว ผมเคยสอบถามกับอาจารย์ทางจิตวิญญาณของผมท่านหนึ่งว่า ความรักที่เรามีต่อ “ในหลวง” สามารถเรียกว่า “เมตตา” ได้หรือไม่? ท่านบอกว่าความเมตตาก็คือความปรารถนาดีที่เรามีต่อผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่โดยไม่เลือกตัวบุคคล ถ้ายังเลือกอยู่ว่าจะให้ใครและไม่ให้ใครอย่างนั้นจะเรียกว่าเมตตาไม่ได้

จากการศึกษา ผมพบว่าความเมตตาก็คือสภาวะของความเป็นมิตร ความเป็นเพื่อน ในขณะนั้นจิตใจไม่มุ่งร้าย หมายถึงไม่ปรารถนาจะทำให้เขาได้รับความเจ็บปวดทั้งกายและใจ สภาพแบบนี้จึงเรียกว่า “เมตตา”

ขณะที่ผมนั่งเขียนข้อเขียนนี้ เป็นเวลาสิบวันพอดีที่พ่อหลวงของชาวไทยได้เสด็จสวรรคต บรรยากาศของความโทมนัสได้แผ่ปกคลุมจิตใจของคนไทยทั่วทั้งประเทศ แต่กลับมีปรากฏการณ์บางอย่างซึ่งผมเห็นว่าน่าเป็นห่วง นั่นก็คือการแปรเปลี่ยนของความรักไปเป็นความมุ่งร้ายต่อบุคคลบางกลุ่มซึ่งเราเข้าใจว่าเขาไม่ได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี เช่น ไม่ได้แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำ อีกทั้งยังมีข่าวที่น่าตกใจว่ามีชายผู้หนึ่งขับรถออกจากบ้านพร้อมด้วยปืนพกสองกระบอก และบอกว่าจะใช้ปืนของเขายิงบุคคลที่ไม่แสดงออกถึงความรักในหลวงให้ถึงแก่ชีวิต...

ผมจึงเกิดข้อสงสัยว่า...

ทำไมความรักจึงแปรเปลี่ยนเป็นความมุ่งร้าย...

อ่านต่อ »

วิถีแห่งสัตบุรุษ



โดย โอม รัตนกาญจน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 22 ตุลาคม 2559

วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ ประเทศไทยได้ประสบกับการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ผมอยากใช้โอกาสนี้เขียนเพื่อน้อมเกล้าไว้อาลัยถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสะท้อนถึงหัวใจที่กรุณาและยิ่งใหญ่ในตัวพระองค์ ไม่แปลกเลยที่พสกนิกรไทยหลายสิบล้านต่างโศกเศร้า เพราะพระองค์ท่านเป็นดั่งพ่อของคนไทยทั้งชาติ สิ่งที่ท่านได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจทั้งหมดตลอด ๗๐ ปีของการครองราษฎร์ ไม่อาจจะบรรยายได้หมดสิ้น ที่อยากกล่าวถึงที่สุด นอกเหนือจากความเป็นพระมหากษัตริย์ หรือพ่อหลวงของปวงชนชาวไทย คือ คุณสมบัติที่ยิ่งใหญ่ของในหลวง ที่เรียกว่า ความเป็นสัตบุรุษ (Eldership)

อาร์โนล มินเดล อาจารย์ของผมคนหนึ่งผู้พัฒนางานจิตวิทยากระบวนการ (Process Work) เพื่อการขับเคลื่อนโลกและสังคม ได้ใช้เวลากว่า ๔๐ ปี ในชีวิตเพื่อศึกษาและสร้างกระบวนการบ่มเพาะผู้นำที่เรียกว่า “สัตบุรุษ” เขาพบว่าคนที่เป็นสัตบุรุษนั้นหาได้ยากยิ่งในโลก และสัตบุรุษนั้นเองคือผู้ที่จะนำพามนุษยชาติไปสู่สันติภาพ การอยู่ร่วมและความสงบสุขอันแท้จริง


สัตบุรุษคือใคร

สัตบุรุษคือ ผู้ที่มองเห็นผู้คนในโลกและสังคมที่เขาอยู่เป็นดั่งลูกและครอบครัว คือผู้นำที่ไปพ้นผู้นำ กล่าวคือ ผู้นำส่วนใหญ่นั้น ทำงานเพื่อความสำเร็จและการยอมรับ แต่สัตบุรุษทำงานอย่างข้ามพ้นตัวตน เขาไม่ได้ดำรงอยู่เพื่อตนเอง ดั่งคำสอนของเต๋าที่กล่าวว่า “ฟ้าดินยืนยง เพราะมิได้ดำรงอยู่เพื่อตนเอง” หากจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดขึ้น มหาตมะ คานธี แม่ชีเทเรซ่า ท่านดาไลลามะ ท่านเหล่านี้ล้วนเป็นตัวอย่างของสัตบุรุษ ท่ามกลางโลกที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง สับสน และผู้คนที่ตกทุกข์ได้ยาก ภารกิจของสัตบุรุษที่มีร่วมกันอันหนึ่งคือ การสร้าง “ความรู้สึกของการมีบ้าน” ให้แก่ทุกคน สัตบุรุษนั้นยิ่งใหญ่กว่าผู้นำ สัตบุรุษคือ ผู้ที่มีหัวใจของพระโพธิสัตว์ มีจิตของมหาบุรุษ ถ้าจะพูดให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างผู้นำและสัตบุรุษ อาจเปรียบเทียบได้ว่า

อ่านต่อ »

บริษัทมหาชนสู่กระบวนการทางจิตตปัญญาเต็มรูปแบบ (๑)



โดย วิศิษฐ์ วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 15 ตุลาคม 2559

ตอนนี้ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานกับบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งที่พร้อมจะนำพาตัวเองไปสู่การบริหารจัดการองค์กรด้วยกระบวนการจิตตปัญญาอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเท่าที่ผมทำงานมา รวมทั้งที่ได้ยินได้ฟังจากเพื่อนๆ ในวงการฝึกอบรมแบบจิตตปัญญา ผมยังไม่เคยพบเจอบริษัทมหาชนเช่นนี้ จึงอาจนับว่าองค์กรแห่งนี้เป็นองค์กรแรกที่ต้องการจะเดินทางสายนี้อย่างเต็มรูปแบบ ผมเลยอยากทำบันทึกเรื่องราวของการพบเจอและทำงานร่วมกันนี้เอาไว้ ว่าผมวางโครงในการทำงานกับองค์กรแห่งนี้อย่างไรบ้าง

อาจจะเนื่องจากผมได้ทำงานกับองค์กรธุรกิจมานานและหลากหลายรูปแบบ ประสบการณ์ของผมจึงตกผลึกจนกระทั่งทฤษฎีองค์ความรู้ที่นำมาใช้ได้ถูกกลั่นสกัด จนได้ความเรียบง่ายระดับบริสุทธิ์ที่มีประสิทธิภาพและทรงพลัง ดังจะค่อยๆ เรียบเรียงออกมาให้เพื่อนร่วมทางได้อ่านและเรียนรู้ร่วมกัน


นักรบสู่แม่ทัพสู่มนุษย์ที่แท้

ผมขึ้นหัวเรื่องแค่คำสามคำก่อน คือ แม่ทัพ นักรบ และคุรุ

ในองค์กรธุรกิจ (หรือแม้แต่องค์กรรูปแบบใดๆ ก็ตาม เช่น รัฐและเอ็นจีโอ เป็นต้น) คนทำงานเก่งถูกโปรโมทหรือเลื่อนชั้นขึ้นมาเพื่อรับตำแหน่งที่สูงขึ้น แต่ความเก่งนั้นยังเป็นความเก่งเฉพาะตัว กล่าวคือ เขาหรือเธอคนนั้นเป็นเพียงนักรบที่เก่งกล้าคนหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถครองใจคน นำพาทัพ นำพาหน่วยงานในสังกัดไปสู่ความสำเร็จอย่างพร้อมเพรียงกันเป็นแผงได้ กล่าวคือ เขายังไม่ได้บรรลุถึงขีดขั้นความเป็นแม่ทัพ


แทรกเรื่องสี่ทิศแบบก้าวหน้า

ก่อนจะเอ่ยถึงสี่ทิศ1และจะได้นำมาใช้ในภาคประยุกต์อย่างพิสดารนี้ ผมอยากจะกล่าวถึงที่มาที่ไปและเอ่ยถึงกิตติคุณของบางท่านที่เกี่ยวข้องไว้ ณ ที่นี้

อ่านต่อ »

ฝันกลางวัน ฝันถึง “เสียงของหัวใจ” เสียงที่หายไป



โดย สมพล ชัยสิริโรจน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 8 ตุลาคม 2559

ในสังคมที่เร่งรีบ และเรียกร้องประสิทธิภาพสูงสุด อาการ “ฝันกลางวัน” ดูเป็นเรื่องฟุ่มเฟือยเวลาและไร้สาระเกินจะใส่ใจ หากใครมีอาการเหม่อลอย จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัวด้วยแล้ว ยิ่งกลายเป็นคน “ไม่เอาไหน” หรือ “ไร้ค่า” ไปในสายตาของผู้คนที่จดจ่อ หมายมั่นปั่นมือให้ตนเองประสบความสำเร็จจนมั่งคั่งจึงมั่นคง

แต่อาการฝันกลางวันนั้น ใกล้ตัวคนสมัยใหม่มากกว่าที่คิด หากไม่ติดภาพว่าคนฝันกลางวันต้องทำตาลอย ราวไร้จุดหมายในชีวิต

ลองนึกภาพของการจราจรที่คนขับรถต่างๆ แย่งชิงพื้นที่กันเพื่อเคลื่อนไปข้างหน้า หากรถที่เรากำลังขับเข้าคิวอยู่รอไฟเขียวเพื่อเลี้ยวขวา แล้วจู่ๆ ก็มีรถอีกคันแซงขึ้นมาทางซ้ายแล้วปาดหน้าเบียดเข้ามาในเลนของเรา จนเราต้องเหยียบเบรกกะทันหัน เสียงผรุสวาทดังขึ้นในใจ มืออยากกระแทกแตรให้เสียงดังสนั่น เพื่อประท้วงไอ้คนขับรถไม่มีมารยาท ด้วยสติสัมปชัญญะอันครบบริบูรณ์จึงยั้งมือไว้ แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดจินตนาการขึ้นมา เห็นตนเองเปิดประตูลงจากรถ เดินตรงไปขวางไอ้รถคันดังกล่าว เปิดประตูแล้วกระชากคนขับลงมา ชกหน้าสักหมัด และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงฝันกลางวันกลางถนน แล้วเราก็ตื่นขึ้น มองรถที่ตัดหน้าเคลื่อนตัวผ่านเราไปอย่างสง่างาม

ลองตัดภาพมาที่ทำงาน ขณะที่ประชุมกันอย่างเคร่งเครียดเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสายการผลิต จนอาจจะทำให้ส่งมอบสินค้าไม่ทันกำหนด เจ้านายประธานในที่ประชุม แทนที่จะเร่งระดมความคิดหรือให้ทิศทางว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร แต่เริ่มสาธยายคุณงามความดีของตนและผู้บริหารในยุคของตน แล้วบ่นต่อว่า คนสมัยนี้ช่างไม่เอาไหน สู้คนยุคก่อนไม่ได้ ยกเรื่องแล้วเรื่องเล่าขึ้นมาไม่จบไม่สิ้น จนเวลาจะสิ้นไป เราในฐานะฝ่ายผลิตต้องลงไปแก้ปัญหา ก็เกิดจินตนาการอันบรรเจิดโดยฝันไปว่า ตนลุกขึ้นมากลางห้อง เดินตรงไปที่ประธานแล้วจับคอเขา (หรือเธอ) ก็ตาม เขย่าๆ แล้วพูดใส่หน้าว่า “จะบ่นอีกนานไหม ผีเจาะปากให้พูดหรือไง” แล้วภาพฝันก็สะดุดลง เมื่อประธานหันมาชี้หน้าถามว่า “มีอะไรจะชี้แจงไหม” แล้วเราก็กระแอมกระไอ ก่อนที่จะตอบคำถามตะกุกตะกัก

อ่านต่อ »

จิตสำนึกของการอยู่ร่วม: กระบวนการเชื่อมความสัมพันธ์ของแรงงานข้ามชาติและคนในสังคมไทย



โดย ธัญลักษณ์ ศรีสง่า
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 1 ตุลาคม 2559

ปรากฏการณ์ที่แรงงานข้ามชาติเดินทางเข้ามาทำงานในไทย เป็นประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจและได้รับการศึกษามากขึ้น ล่าสุดปลายเดือนสิงหาคม 2559 มีการเปิดเผยผลสำรวจการประกอบอาชีพค้าขายรายย่อยของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ๆ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าแรงงานข้ามชาติกำลังก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการ โดยเป็นเจ้าของร้านกิจการทั้งในห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด ตลาดสด และตลาดชุมชน 1

บทบาททางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นของแรงงานข้ามชาติ ถ้ามองด้วยกรอบของรัฐชาติ อาจนำไปสู่ความวิตกกังวล แต่ถ้าพิจารณาจากโครงสร้างกำลังแรงงาน จะพบว่าสังคมไทยมีความจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติ อารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน คาดการณ์ว่า “ถึงอย่างไรยังจำเป็นต้องใช้แรงงานเหล่านี้ ในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร แปรรูปสัตว์น้ำอยู่ เพราะความสามารถของเทคโนโลยีอนาคตยังยากต่องานเฉพาะประเภทนี้ เช่น เครื่องจักรคงไม่สามารถแกะกุ้งได้ ซึ่งก็ไม่ได้เป็นผลเสียอะไร เพราะคนกลุ่มนี้เข้ามาทดแทนแรงงานที่ขาด รวมถึงนำเงินมาจับจ่ายซื้อของ ทำให้เศรษฐกิจไทยเกิดการหมุนเวียนดีขึ้น และทำให้ความสัมพันธ์ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีการติดต่อซื้อสินค้ากันมากขึ้นด้วย” 2

เมื่อแรงงานข้ามชาติเข้ามาอยู่ร่วมกับคนในสังคมไทย ความสัมพันธ์ของการอยู่ร่วมกันจะเป็นอย่างไร และมีเงื่อนไขอะไรที่ทำให้อยู่ร่วมกันได้ ผู้เขียนอยากชวนให้คิดถึงประเด็นคำถามเหล่านี้ เพื่อนำไปสู่การทำความเข้าใจแรงงานข้ามชาติในอีกแง่มุมหนึ่ง

อ่านต่อ »

ประเทศไทย 5.0



โดย ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 24 กันยายน 2559

ช่วงแรกที่ผมได้ยินคำว่า “ไทยแลนด์ 4.0” ผมก็สงสัยใคร่รู้ว่ามันคืออะไรกันแน่ เพราะฟังดูทันสมัยเข้ากับยุคดิจิตอล เก๋ และแปลกดี ยิ่งได้ยินว่า ไทยแลนด์ 4.0 จะขับเคลื่อนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงก็ยิ่งสนใจเพิ่มมากขึ้น เพราะได้ยินมาหลายรัฐบาลว่าจะนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ แต่จริงๆ ก็ไม่ใช่ เพราะไปใช้ทุนนิยมมากกว่า

เมื่อสนใจก็ติดตามศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมว่าไทยแลนด์ 4.0 คืออะไร และโดยเฉพาะการขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จากการอ่านและการฟัง เบื้องต้นพอจะเข้าใจและสรุปคร่าวๆ สั้นๆ ได้ว่า ไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ “โมเดลโครงสร้างเศรษฐกิจ” ของประเทศไทยภายในอีก 3-5 ปีข้างหน้า กล่าวคือตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีการปรับ/พัฒนาโมเดลโครงสร้างเศรษฐกิจมาสามครั้ง จากโมเดลประเทศไทย 1.0 (เน้นภาคเกษตรกรรม) เป็นโมเดลประเทศไทย 2.0 (เน้นภาคอุตสาหกรรมเบา) และในปัจจุบันเป็นโมเดลประเทศไทย 3.0 (เน้นภาคอุตสาหกรรมหนัก) ไปสู่โมเดลประเทศไทย 4.0 ที่จะปรับเปลี่ยน/ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไปเป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมหรือ Value-Based Economy เพื่อที่จะได้ก้าวพ้นกับดักต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโมเดลประเทศไทย 3.0 ได้แก่ “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” “กับดักความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง” และ “กับดักความไม่สมดุลในการพัฒนา”

ยิ่งอ่านไป ศึกษาไป ก็ยิ่งมีคำถามเพิ่มมากขึ้น ทั้งในเรื่องของตรรกะ ความสมจริงของสถานการณ์ของสังคมไทยในปัจจุบัน และความเป็นไปได้ที่ไทยแลนด์ 4.0 จะเป็นจริงในอนาคตอันใกล้ 3-5 ปีข้างหน้า

อ่านต่อ »

ข้อคิดจากการไปเกาหลี



โดย ประชา หุตานุวัตร
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 10 กันยายน 2559

เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญจาก NextGEN Korea กลุ่มคนหนุ่มสาวของเกาหลีซึ่งอยู่ในเครือข่ายชุมชนนิเวศโลก (Global Ecovillage Network) ให้ไปจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในโลกปัจจุบัน เป็นการเรียนรู้ชุดแรกของโครงการการศึกษาเพื่อออกแบบชุมชนนิเวศ (Ecovillage Design Education) ซึ่งมีทั้งหมด ๔ ชุด เขาใช้ชุดการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ๖ วันเป็นชุดเปิดโครงการ

คนที่มาเรียนมีตั้งแต่นักศึกษาไปจนถึงคนทำงานวัยกลางคน ส่วนใหญ่เป็นคนวัยยี่สิบปลายๆ ถึงสามสิบต้นๆ เต็มไปด้วยกำลังวังชา จบมหาวิทยาลัยแล้วทำงานในกระแสหลักมาระยะหนึ่ง แต่ไม่เห็นว่าจะช่วยให้ชีวิตมีความหมายลึกซึ้งได้ หลายคนจึงออกเดินทาง โดยไปเยี่ยมชุมชนนิเวศ (Ecovillage) ต่างๆ ทั่วโลก แล้วกลับมาตั้งขบวนการในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง

คนที่มารับผมจากสนามบินอายุเพียง ๒๔ ปี มีชื่อเล่นว่า แฮรี (Haeri) คล้ายชื่อผู้ชาย แต่เขียนคนละแบบ เธอเดินทางตะเวนชุมชนนิเวศในยุโรปมาแล้ว ๑ ปีก่อนเรียนจบมหาวิทยาลัย เธอเป็นสมาชิกและทำงานให้กับพรรคเขียว (Green Party) ของเกาหลี ทำหน้าที่ให้การศึกษาและหาสมาชิกพรรค เราได้คุยกันระหว่างนั่งรถเมล์หลายชั่วโมงกว่าจะถึงที่จัดอบรม

เธอเป็นผู้เข้าเรียนคนหนึ่ง ผมถามว่าเธอมาเรียนทำไม เธอบอกว่าเธอต้องการเชื่อมโยงพรรคเขียวกับขบวนการจัดตั้งชุมชนระดับรากหญ้า พรรคเธอลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อคราวที่แล้วเป็นครั้งแรก แม้จะไม่ได้ที่นั่งในรัฐสภา แต่การทำงานของพรรคก็ยังเข้มแข็ง เธอบอกว่าพรรคหวังผลระยะยาว คือก้าวขึ้นมาเป็นพรรคหลักในสังคมเกาหลีสำหรับคนรุ่นต่อไป แทนที่พรรคเก่าสองพรรคใหญ่ในปัจจุบันที่หมดความหมายสำหรับสังคมเกาหลีในอนาคตเสียแล้ว เพราะได้แต่แย่งอำนาจกันไปมา และไม่มีอุดมการณ์เป็นเรื่องเป็นราว นอกจากปล่อยให้ทุนใหญ่ครอบงำการเมือง และดำเนินนโยบายเพื่อทุนใหญ่เป็นหลัก ช่องว่างระหว่างคนรวยคนจนถ่างออกตลอดเวลา และสิ่งแวะล้อมต่างๆ ยิ่งเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ

อ่านต่อ »

โยคะแห่งภควัทคีตา



โดย ไพรินทร์ โชติสกุลรัตน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 3 กันยายน 2559

ภควัทคีตา เป็นหนึ่งในคัมภีร์ที่ชาวฮินดูรักที่สุด การสนทนาระหว่างอรชุนกับพระกฤษณะก่อนมหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรจะเริ่มขึ้นนั้น มีความลึกซึ้งทางจิตวิญญาณที่เป็นดั่งกุญแจไขไปสู่การวิวัฒน์ของจิต เป็นแรงบันดาลใจและเป็นแผนที่ให้แก่ผู้แสวงหาทางจิตวิญญาณทั่วโลก

ภควัทคีตา เป็นส่วนหนึ่งของมหากาพย์มหาภารตะ ซึ่งอาจจะเป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลก อาจารย์เขมานันทะ (โกวิท เอนกชัย) อธิบายถึงนัยของมหากาพย์ไว้ในหนังสือ ลิงจอมโจก ว่า “เป็นการนำเรื่องจริงในประวัติศาสตร์มาห่อหุ้มใหม่พร้อมกับดัดแปลงตัวละครให้เป็นคุณค่าทางศีลธรรมหรือโลกุตรธรรม เหล่าวีรบุรุษในมหากาพย์ถูกปัดความเป็นคนออกไปสิ้น เหลือแต่ความเป็นทิพยลักษณะ (Divinity) สำหรับฮินดูธรรม และเป็นคุณธรรม หรือบารมีสำหรับพุทธธรรม”

ดังนั้น การจะอ่านเรื่องราวเหล่านี้ให้เข้าถึงสัญลักษณ์ลึกซึ้งที่ซ่อนอยู่ จึงต้องอาศัยความกระจ่างทางจิตวิญญาณ ผนวกกับความแตกฉานในภาษาที่มหากาพย์ใช้ซ่อนความหมายต่างๆ ไว้ อรรถาธิบายจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดสำหรับผู้เริ่มต้น หนังสือ The Bhagavad Gita: God Talks with Arjuna ของท่านปรมหังสา โยคานันทะ ได้รับการยอมรับว่า เป็นหนึ่งในอรรถาธิบายภควัทคีตาชิ้นเอกของโลก เป็นเรื่องน่ายินดีที่ โยคะแห่งภควัทคีตา หนังสือฉบับย่อของ The Bhagavad Gita: God Talks with Arjuna ได้รับการถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาไทยแล้วด้วยความงดงามยิ่ง

ท่านปรมหังสา โยคานันทะ (ค.ศ.๑๘๙๓-๑๙๕๒) เป็นบุคคลสำคัญที่นำโยคะ-ศาสตร์แห่งจิตวิญญาณอันเก่าแก่ของอินเดียไปเผยแพร่ในโลกตะวันตก โยคะตามวิถีดั้งเดิมที่ท่านสอนมิใช่แค่เพียงการฝึกกายหรืออาสนะเท่านั้น หากแต่เป็นหนทางการพัฒนาจิตไปสู่การหลุดพ้นจากพันธนาการของสังสารวัฏ เป็นหนทางสากลที่ผู้แสวงหาไม่ว่าศาสนาใดก็ฝึกได้ หนังสือ อัตชีวประวัติของโยคี ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวชีวิตตามวิถีแห่งโยคะของท่าน ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนังสือคลาสสิกทางจิตวิญญาณเล่มหนึ่งของโลก มีการแปลไปแล้ว ๔๐ กว่าภาษา ตีพิมพ์ไปแล้วกว่า ๔ ล้านเล่ม ท่านนำเสนอโยคะศาสตร์ มรดกอันสืบทอดมาแต่โบราณให้คนยุคใหม่เข้าใจอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และเข้าถึงได้

อ่านต่อ »

สังคม(ไม่)ปลอดเชื้อ



โดย ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 27 สิงหาคม 2559

ผมเพิ่งกลับจากแคนาดาไปอบรมหลักสูตร Theatre for Living ซึ่งเป็นการใช้กระบวนการละครเพื่อสร้างสังคมที่มีสุขภาวะ ระหว่างการอบรมได้สนทนากับเพื่อนฝูงร่วมชั้นเรียน และได้พบว่าประเทศแคนาดาที่เพิ่งถูกจัดให้เป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุดในโลกโดยกลุ่มประชากรมิลเลนเนียล (อายุระหว่าง ๑๘ ถึง ๓๕ ปี)* ก็มีเรื่องเลวร้ายที่ไม่น่าเชื่อซุกซ่อนอยู่เช่นกัน

ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙ รัฐบาลแคนาดาได้ออกกฎให้เด็กชาวอินเดียนแดงซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองของแคนาดาทุกคนจะต้องไปเข้าโรงเรียนซึ่งจัดตั้งขึ้นร่วมกับองค์กรศาสนาคริสต์ ในโรงเรียนดังกล่าวนักเรียนชาวอินเดียนแดงจะถูกห้ามไม่ให้พูดภาษาของตัวเอง ห้ามดำเนินพิธีกรรมใดๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมของตนเอง และที่สำคัญเด็กจะถูกนำออกจากชุมชนของตนเองไปอยู่ยังโรงเรียนประจำ

“โรงเรียนขโมยเด็ก” คำของแมนนี่ปรากฏขึ้นในใจ

นักวิชาการบางคนเรียกกระบวนการดังกล่าวว่าเป็น “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทางวัฒนธรรม” และที่เลวร้ายกว่านั้นก็คือ มีรายงานมากมายในปัจจุบันที่ยืนยันได้ว่า เด็กอินเดียนแดงที่ถูกบังคับให้เข้าโรงเรียนเหล่านั้นถูกละเมิดและถูกทำทารุณกรรมจนตายไปมากกว่า ๖,๐๐๐ คน ที่น่าแปลกใจก็คือ โรงเรียนประจำแห่งสุดท้ายเพิ่งถูกปิดไปเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๙๖ หรือเมื่อ ๒๐ ที่แล้วนี่เอง เร็วๆ นี้ทางรัฐบาลแคนาดาเพิ่งออกมาขอโทษอย่างเป็นทางการในเรื่องดังกล่าว แต่หลายๆ คนกลับรู้สึกว่ารัฐบาลทำน้อยไปและสายเกินไป

ที่ผมพูดเรื่องนี้ก็เพราะว่า ภายใต้สังคมที่ดูมีความสงบสุขของแคนาดานั้น มีเรื่องที่เป็นเหมือนผีร้ายที่ตามหลอกหลอนทุกๆ คนในสังคมอยู่ อย่างน้อยก็ในระดับจิตใต้สำนึก นอกจากนั้นบรรดาผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวก็ยังมีชีวิตอยู่ในสังคมโดยแบกเอาประสบการณ์เลวร้ายนั้นเอาไว้กับตัว ไม่ได้หายไปไหน ถ้าเราเชื่อเรื่องการพึ่งพาอาศัยกันและกันลึกลงไปถึงระดับจิตใจ อย่างที่ยุงพูดถึงเรื่องจิตใต้สำนึกรวมหมู่ของสังคม (Collective Unconscious) เราคงจะเห็นได้ว่ามันเป็นเหมือนกับสารกัมมันตรังสีที่แผ่เอารังสีร้ายออกมาตลอดเวลา

อ่านต่อ »

เป็นมิตรกับความเครียด



โดย พระไพศาล วิสาโล
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 20 สิงหาคม 2559

ความเครียดเป็นปัญหาสำคัญของคนในยุคนี้ มันไม่เพียงส่งผลต่อจิตใจเท่านั้น หากยังเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วย มีการศึกษาพบว่าร้อยละ ๕๐-๗๕ ของความเจ็บป่วยที่ผลักดันให้ผู้คนไปหาหมอนั้นสืบเนื่องจากความเครียด ใช่แต่เท่านั้นเมื่อพิจารณาจากสาเหตุการตายแล้ว กล่าวได้ว่าความเครียดเป็นภัยที่ร้ายแรงกว่าเหล้าหรือบุหรี่เสียอีก

อย่างไรก็ตาม ความเครียดมิใช่สิ่งเลวร้ายไปเสียหมด ความเครียดหากอยู่ในระดับพอประมาณก็ส่งผลดีได้ เช่น กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เป็นที่รู้กันว่าหากเรียนแบบสบายๆ ไม่มีการบ้านยากๆ หรือฝึกทำสิ่งที่แปลกใหม่ไม่คุ้นเคย ( พูดง่ายๆ คือ ถ้าไม่ออกจาก “ไข่แดง” เสียบ้าง) พัฒนาการในทางสติปัญญาหรือทักษะก็เกิดขึ้นได้ยาก ในทำนองเดียวกันความเครียดที่เกิดจากเส้นตายหรือการแข่งขัน นอกจากไม่เป็นโทษแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อการงานด้วย ทำให้ผู้คนเอาศักยภาพที่มีอยู่มาใช้อย่างเต็มที่

แนวคิดดังกล่าวเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันแนวคิดนี้กำลังถูกตั้งคำถามมากขึ้น งานวิจัยล่าสุดชี้ว่าสิ่งสำคัญมิได้อยู่ที่ระดับความเครียด แต่อยู่ที่มุมมองของเราที่มีต่อความเครียดต่างหาก ความเครียดอย่างเดียวกัน หากเรามองมันต่างกัน ปฏิกิริยาในร่างกายก็ออกมาต่างกัน ทำให้มีผลต่อสุขภาพและการทำงานต่างกันไปด้วย

เป็นที่รู้กันว่าเมื่อมีภัยคุกคาม คนเราจะมีปฏิกิริยาสองอย่าง คือ ไม่สู้ก็หนี ในภาวะดังกล่าวหัวใจจะเต้นเร็ว เส้นเลือดจะหดตัว เลือดจะถูกสูบฉีดเลือดไปยังกล้ามเนื้อมากขึ้น ขณะที่สมองจะจดจ่ออยู่กับภาพรวมและมองข้ามรายละเอียด ในกรณีที่สถานการณ์ไม่เลวร้ายมาก และหากเรามองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมิใช่ภัยคุกคาม แต่เป็นสิ่งท้าทายความสามารถ ร่างกายจะมีปฏิกิริยาแตกต่างกัน แม้หัวใจยังคงเต้นเร็ว แต่สมองจะคมชัดขึ้น และมีฮอร์โมนบางอย่างหลั่งออกมาเพื่อช่วยในการฟื้นตัวและการเรียนรู้ โดยเส้นเลือดยังคงเปิดกว้าง ในทางตรงข้าม แม้เจอสถานการณ์อย่างเดียวกัน (เช่น ทำข้อสอบ พูดในที่ชุมชน หรือเสนอแผนงาน) แต่เรามองว่ามันเป็นสิ่งเลวร้าย รู้สึกเหมือนกับว่ากำลังถูกกดดันบีบคั้น ร่างกายจะมีปฏิกิริยาอีกแบบหนึ่ง ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพและงานที่กำลังทำอยู่

อ่านต่อ »

พลิกชีวิตด้วยนิวโรไซน์



โดย วิศิษฐ์ วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 13 สิงหาคม 2559

เมื่อจิตเดิมแท้ถูกโจรสลัดปล้น

จิตเรานั้นเป็นจิตเดิมแท้ ส่องสว่าง สุข สงบ เบิกบาน เป็นธรรมชาติพื้นฐานอยู่แล้ว

แต่มีโจรสลัดสองพวก พวกแรกคือ โหมดค่าตั้งต้น ที่ดำเนินไปด้วยอัตโนมัติที่หลับใหล

เราจะต้องเข้าใจว่า สมองมีกลไกเพื่อให้ชีวิตของเราง่ายขึ้น สิ่งใดที่เราทำเป็นประจำ สมองจะช่วยจดจำ สร้างวงจรอัตโนมัติไว้ เพื่อให้เราทำงานง่ายขึ้นในครั้งต่อไป จนกลายเป็นวงจรอัตโนมัติ แต่เนื่องจากมันเป็นไปอย่างอัตโนมัติ มันจึงหลับใหล

ในอัตโนมัติที่หลับใหลนี้ สมองส่วนหน้าไม่ต้องตื่นขึ้นมาทำงาน เพราะสมองส่วนต่างๆ ดำเนินไปเอง ด้วยมีความจำของวงจรอัตโนมัติอยู่ สมองจึงแทบไม่ค่อยรับรู้เรื่องราวใหม่ๆ หากแต่ดาวน์โหลดการรับรู้เดิมๆ มา ดังนั้นการรับรู้จึงเป็นเพียงการประมาณการ และโน้มเอียงที่จะนำอคติเดิมๆ เข้ามาก่อประกอบ หากเราทำงานอยู่ในโหมดอัตโนมัติที่หลับใหล หรือโหมดค่าตั้งต้น มันจะอยู่ในความคุ้นชินเดิมๆ เหมือนเราเดินละเมอ เหมือนเราใช้ชีวิตอย่างหลับใหล ไม่ตื่น อยู่แต่ในกล่อง ไม่ออกไปนอกกล่อง ชีวิตจึงไม่มีการเรียนรู้และการพัฒนาตัวเอง

โจรสลัดพวกที่สอง คือทรอม่า หรือปม หรือบาดแผลในอดีต โดยเฉพาะในวัยเยาว์

เวลาเกิดทรอม่า คือเมื่อมีสิ่งใดเข้ามากระทบจิตใจอย่างรุนแรง ท่วมท้นเกินกว่าจิตใจจะรับได้ มันจะเกิดอาการช็อก สมองส่วนที่ใช้ในการพูดซึ่งเป็นสมองส่วนเดียวกับที่ใช้ในการประมวลผลจะหยุดทำงาน คลิปวิดีโอของการรับรู้ต่างๆ เลยไม่ก่อประกอบเป็นประสบการณ์ แต่เป็นเศษเสี้ยวความทรงจำต่างๆ ที่ไร้ความหมาย โดยสมองจะบันทึกไว้นอกเหนือจากระบบความทรงจำปกติ ทำให้เสี้ยวเศษความทรงจำเหล่านี้กลายเป็นโจรสลัดคอยปล้นสะดมความเป็นปกติและความแจ่มใสของจิตใจพื้นฐานไปครั้งแล้วครั้งเล่า

อ่านต่อ »

ชุมชนราชทรัพย์: กลุ่มผู้หญิงและการพัฒนาแบบนำร่วมในพื้นที่เมือง



โดย ธัญลักษณ์ ศรีสง่า
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 6 สิงหาคม 2559

พื้นที่เมืองเป็นศูนย์รวมของเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา เทคโนโลยี หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง เมืองเป็นแหล่งรวม “ความเจริญ” ทางวัตถุ พร้อมกับเป็นแหล่งรวมของปัญหาหลากหลายรูปแบบ วิถีชีวิตของผู้คนในเมืองต่างเร่งรีบ มีความเป็นปัจเจกสูง ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายสำหรับคนทำงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่เมือง

ในพื้นที่เมืองผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างไร มีหลักคุณธรรมหรือชุดคุณค่าอะไร ที่ยึดโยงผู้คนให้อยู่ร่วมกันได้ จากคำถามนี้นำมาสู่การทำ “โครงการศึกษากระบวนการพัฒนาชุมชนเมือง: ชุมชนราชทรัพย์ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร” โดยทีมวิจัยและจัดการความรู้ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) โดยมองผ่านบทเรียนของชุมชนราชทรัพย์ ชุมชนเมืองที่มีประสบการณ์ในการทำงานพัฒนามาอย่างเข้มข้น

ชุมชนราชทรัพย์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านบางโพ พื้นที่รอยต่อระหว่างกรุงเทพฯ และนนทบุรี วันที่พวกเราเข้าไป ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เขตบางซื่อ มาจัดโครงการฝึกอบรมทำน้ำหมักชีวภาพในชุมชน คุณรุจิรัตน์ หาญรวีกุลนันท์ หรือพี่แหม่ม ประธานชุมชนราชทรัพย์ และคุณธนิดา ทองสุข หรือพี่ปิ๋ว ประธานกลุ่มแม่บ้าน พร้อมกับสมาชิกกลุ่มกำลังเตรียมสถานที่ และอาหารอย่างขะมักเขม้นที่ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน

เมื่อถึงเวลานัด พี่แหม่ม และพี่ปิ๋วเดินมานั่งล้อมวงพร้อมพูดคุย พวกเราเริ่มจากนำข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนที่เขียนเป็นเส้นเวลา (Timeline) มาเป็นสื่อกลางชวนคุย ซึ่งข้อมูลส่วนมากเป็นมุมมอง “คนนอก” ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคมที่บอกเล่าเรื่องราวของชุมชนราชทรัพย์ การสนทนาในครั้งนี้พวกเราจึงตั้งใจว่าจะรับฟังเรื่องเล่าที่มาจากแง่มุมของ “คนใน” ชุมชนอีกทางหนึ่ง

ชุมชนราชทรัพย์เริ่มก่อรูปขึ้นมาในทศวรรษที่ ๒๕๒๐ พี่แหม่ม และพี่ปิ๋วเล่าว่า ผู้คนในชุมชนมาจากหลายพื้นที่ ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนช่วงแรกเป็นแบบต่างคนต่างอยู่ แบ่งตามพื้นที่ในซอย เป็นต้นซอย กลางซอย ท้ายซอย “สัญญาณ” ของความเป็นชุมชน เริ่มจากการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี ๒๕๒๖ ที่ท่วมมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท้ายซอย จนถึงถนนใหญ่หน้าปากซอยนานเป็นเดือน คนในชุมชนจึงร่วมแรงร่วมใจกันสร้างสะพานไม้ เพื่อใช้เป็นทางเดินในชุมชน และชุมชนยังเผชิญกับน้ำท่วมใหญ่อีกครั้งในปี ๒๕๓๘ ซึ่งนอกจากทำสะพานไม้ใช้เดินทางในชุมชนแล้ว ชาวชุมชนท้ายซอยยังร่วมกันทำแนวกันน้ำจากแม่น้ำด้วย

อ่านต่อ »

คุณธรรม นำความรู้ สู่ปัญญา



โดย ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 30 กรกฎาคม 2559

ประเทศไทยมีความพยายามในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษามายาวนาน แต่ไม่ได้รับความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ด้วยเหตุหลายประการ สำหรับผมที่สำคัญคือการปรับและการปฏิรูปแต่ละครั้ง ในเชิงปฏิบัติมิได้ทำการปรับปรุงหรือปฏิรูปแก่นแกนที่เป็นสาระสำคัญหรือจิตวิญญาณของการศึกษาโดยตรง แต่ไปเน้นที่การปรับเปลี่ยนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเป็นส่วนใหญ่ เช่น เรื่องการปรับโครงสร้าง การปรับเปลี่ยนระบบบริหาร การเข้าสู่ตำแหน่ง ความก้าวหน้าในอาชีพและค่าตอบแทน เป็นต้น ซึ่งเป็นมิติภายนอก เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับอำนาจ กับผลประโยชน์ กับระบบการบังคับบัญชา มากกว่าการพัฒนาคุณภาพครูอาจารย์ โดยเฉพาะจิตวิญญาณของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษาซึ่งเป็นมิติภายใน

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถือเป็นผู้บุกเบิกที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนามิติภายในโดยนำเรื่องคุณธรรมขึ้นมาเป็นคำขวัญ เป็นเสมือนเข็มทิศในการสร้างครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาของคณะคือ “ความรู้คู่คุณธรรม” ที่ศาสตราจารย์อำไพ สุจริตกุล คณบดีสมัยนั้นเป็นผู้ริเริ่ม และต่อมามีหลายสถาบันนำไปใช้ แต่น่าเสียดายที่แนวคิดที่งดงามและเหมาะสมนี้ เป็นเพียงคำพูดที่สวยหรู ดูดีแต่ในเอกสารเท่านั้น ในแง่ของการปฏิบัติและการนำไปใช้กลับไม่ได้เป็นส่วนสำคัญอย่างแท้จริง อย่างเก่งก็แค่มีการกำหนดระยะเวลาหรือกิจกรรม เช่น การเข้าค่ายคุณธรรม (เข้าวัดหรือสถานปฏิบัติธรรมหรือเทียบเคียง) ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ควรเป็นส่วนหนึ่งและเป็นส่วนสำคัญควบคู่ไปกับการเรียนการสอนในทุกรายวิชา(ความรู้) ไม่เชื่อลองไปศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาที่ปรากฏในเอกสารคำบรรยายลักษณะวิชาหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า course description ของแต่ละวิชาของแต่ละหลักสูตรดู แม้ไม่ปรากฏในลักษณะรายวิชา ซึ่งมักจะเน้นเฉพาะเนื้อหาวิชาเป็นหลัก แต่มีปรากฏในวิธีการหรือกระบวนการเรียนการสอนที่สะท้อนให้เห็นว่ามีการเน้นเรื่องคุณธรรมที่ควบคู่ไปกับความรู้หรือไม่อย่างไร ยังมิต้องพูดถึงการวัดการประเมินในแต่ละรายวิชาว่ามีเรื่องคุณธรรมหรือความดีความงามอยู่หรือไม่ หรือมีแต่เนื้อหาวิชาล้วนๆ

อ่านต่อ »

สังคม “ขัดหู ขัดตา ด่าไว้ก่อน”



โดย สมพล ชัยสิริโรจน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 23 กรกฎาคม 2559

ดูหนังดูละคร แล้วย้อนดูตัว ดูเอฟบี ดูโซเชียลมีเดียแล้วมองเห็นใจตนเอง

ในบรรดาโพสต์โพสต์ต่างๆ มากมายในเอฟบี โพสต์เล็กๆ แต่ดุเดือดโพสต์หนึ่ง เป็นภาพของนิสิตหญิงในชุดของมหาวิทยาลัยของเธอ โพสต์ข้อความที่เข้าข่ายว่าหยาบคายในสายตาของคนทั่วไป แต่ที่ยั่วยุยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ท่าทีที่ไม่แยแสต่อคำต่อว่าวิจารณ์ที่กระหน่ำตามมา

อันที่จริงผู้เขียนควรจะยกตัวอย่างถ้อยคำที่ว่า แต่ชะตากรรมของนิสิตคนนี้ ทำให้ผู้เขียนขยาดสายตาผู้อ่านตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในบรรดาคำวิจารณ์ต่างๆ ที่ขึ้นมาในโพสต์ของเธอ มีตั้งแต่ตำหนิตัวเธอที่ใช้ไม่ได้ ไม่รักตัวเอง ไม่รักสถาบัน ครูบาอาจารย์ไม่รู้จักสั่งสอน จนไปถึงว่า พ่อแม่คงไม่มี หรือมีก็มัวแต่หาเงินทองจนไม่รู้จักดูแลลูก รวมทั้งมีว่า ลูกไม่เอาไหน ทำตัวอย่างนี้ เพราะใครแนะนำสั่งสอนก็ดื้อรั้น ก็คงไม่รู้จักเชื่อฟัง

และก็อีกครั้ง ถ้อยคำที่ผู้เขียนยกมาก็โดนเจือจางล้างน้ำให้ความรุนแรงในภาษาลดระดับลง ให้ผู้เขียนรู้สึกปลอดภัย

ปรากฏการณ์นี้อาจจะเรียกได้ว่า อาการ “ขัดหู ขัดตา ด่าไว้ก่อน” ปรากฏในสื่อออนไลน์อยู่อย่างสม่ำเสมอ ในเรื่องราวและระดับความรุนแรงที่ต่างๆ กันไป

ไม่ว่านิสิตคนนี้จะทำถูกหรือผิด นั้นเป็นประเด็นหนึ่ง แต่คนด่าเขาอาจจะต้องตั้งคำถามว่า “เขาผิดหรือถูก ทำไมต้องไปด่าเขา?” ทำไมต้องตอบโต้ท่าทีของคนที่เราไม่ชอบอกชอบใจและขัดอกขัดใจด้วยความรุนแรง

อ่านต่อ »

มรดกทางจิตวิญญาณของโทมัส เมอร์ตัน



โดย ไพรินทร์ โชติสกุลรัตน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 12 มีนาคม 2559

ชื่อของโทมัส เมอร์ตัน (ค.ศ. ๑๙๑๕-๑๙๖๘) อาจไม่เป็นที่คุ้นเคยในบ้านเราเท่าไรนัก แต่ในแวดวงชาวคริสต์แล้ว พระสงฆ์คริสต์ผู้นี้เป็นนักคิดนักเขียนคนสำคัญของศตวรรษที่ ๒๐ เป็นผู้นำในการใช้คริสตธรรมมาสนับสนุนการสร้างสันติภาพ อีกทั้งยังเป็นผู้ที่ช่วยให้ชาวตะวันตกได้รู้จักศาสนาตะวันออกอย่างถ่องแท้ เมอร์ตันได้พบและสนทนาอย่างลึกซึ้งกับเพื่อนต่างศาสนา จนเป็นแรงบันดาลใจให้กับการสานสัมพันธ์ระหว่างศาสนามาจนถึงปัจจุบัน

โทมัส เมอร์ตันเกิดในฝรั่งเศส โดยมีแม่เป็นชาวอเมริกันและพ่อเป็นชาวนิวซีแลนด์ ในปี ๑๙๓๒ เมอร์ตันย้ายมาพำนักในสหรัฐอเมริกา หลังจากบวชเข้าคณะแทรปพิสต์ (คณะนักพรตที่เน้นการหลีกเร้นภาวนา) ในปี ๑๙๔๑ ด้วยความที่เขามีพรสวรรค์ในการเขียน เมอร์ตันจึงได้รับการสนับสนุนจากอธิการให้เขียนหนังสือ นั่นจึงทำให้เขาเป็นที่รู้จักของโลกภายนอก แม้ว่าตัวเขาเองแทบจะไม่ปรากฏตัวนอกอารามเลย เขามีงานตีพิมพ์เป็นหนังสือกว่า ๗๐ เล่ม มีผลงานบทกวี บทความ และจดหมายอีกมากมาย ในช่วงแรก เขาเน้นเขียนเรื่องแนวคิดในคริสตศาสนา โดยเฉพาะเรื่องการทำสมาธิภาวนา อัตชีวประวัติเรื่อง The Seven Storey Mountain ที่ว่าด้วยการแสวงหาภายในของเขา จากเด็กหนุ่มที่ใช้ชีวิตเหลวแหลก จนมาพบหนทางภาวนา สละเรื่องทางโลกและหันหน้าเข้าสู่อาราม กลายเป็นหนังสือยอดนิยม ที่นำพาคนหนุ่มสาวในยุคนั้นหันเข้าสู่ศาสนาและการภาวนา จนถึงปัจจุบันหนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ไปแล้วกว่าล้านเล่ม

แม้จะหยั่งรากลึกกับการภาวนาวิถีคริสต์ แต่เมอร์ตันก็เปิดใจเรียนรู้จากศาสนาอื่น โดยเฉพาะในช่วงปลายทศวรรษที่ ๕๐ จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต เมอร์ตันศึกษาและเขียนงานเกี่ยวกับศาสนาตะวันออกอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นเต๋า ฮินดู ซูฟี และศาสนาพุทธ เขาให้ความสนใจกับเซ็นเป็นพิเศษ เพราะพบว่าวิถีของอาจารย์เซ็นนั้น คล้ายคลึงกับวิถีนักพรตคริสต์เป็นอย่างยิ่ง เขาเขียนจดหมายแลกเปลี่ยนความเข้าใจกับ ดี.ที.ซูซูกิ หนึ่งในผู้นำเซ็นไปเผยแพร่ในโลกตะวันตกเป็นเวลาหลายปี เมื่อทั้งสองมีโอกาสพบกัน ซูซูกิชมว่าเมอร์ตันเป็นนักเขียนตะวันตกที่สามารถเข้าใจเซ็นได้ดีที่สุด

อ่านต่อ »

ความว่างเปล่าอันทรงพลัง



โดย ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 9 กรกฎาคม 2559

หลายๆ คนคงจะเคยขับรถผ่านจุดที่จะต้องชำระเงินในห้าง หรือทางด่วน เมื่อเราจ่ายเงินไปแล้ว จะมีเสียง “ขอบคุณ” ดังออกมาจากลำโพง ซึ่งเป็นเสียงที่ถูกอัดไว้ล่วงหน้า และพูดซ้ำๆ ให้ได้ยินทุกครั้ง

“ขอบคุณครับ”

แม้ว่าบางครั้ง พนักงานในตู้เก็บเงินเป็นผู้หญิง... (เอิ่ม)

ส่วนใบหน้าของพนักงานเก็บเงินในตู้ก็จะเรียบเฉย ไม่แสดงความรู้สึกใดๆ เพราะเขาหรือเธอมีหน้าที่เพียงรับเงินและทอนเงิน และไม่มีหน้าที่ในการพูด เพราะจำนวนเงินที่ต้องจ่ายก็มีระบุเป็นตัวเลขให้เห็นแล้ว

เราได้ยกหน้าที่ในการคำนวณอันซับซ้อน การสร้างภาพสามมิติ การขับรถยนต์ ไปให้กับคอมพิวเตอร์แล้ว แต่ไม่น่าเชื่อว่าในที่สุดเราได้ยกหน้าที่ในการแสดงความรู้สึกรำลึกถึงบุญคุณ ไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่แทนได้ด้วย

และก็คงจะแทบทุกคนที่เคยมีประสบการณ์ได้พบกับพนักงานร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้า ที่ถูกสั่งให้ต้องยกมือขึ้นไหว้ลูกค้าหลังจากยื่นถุงสินค้าให้เนื่องจากเป็นนโยบายของผู้บริหาร แต่ผมจะรู้สึกไม่ใคร่ดีทุกครั้ง เพราะรู้ว่าพวกเขาถูกบังคับให้ทำ โดยไม่ได้รู้สึกอยากทำเลยถ้าหากเลือกได้

“รับขนมจีบ ซาลาเปา ไหมคะ?”

เป็นวจีกรรมที่ปราศจากเจตนา ไม่ต่างกับคำ “ขอบคุณ”​ ที่เครื่องจักรไร้หัวใจพูดปาวๆ ออกลำโพง ไล่หลังรถทุกคัน

อ่านต่อ »

หัวใจที่มีหู



โดย จารุปภา วะสี
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559

ในการทำงานเรื่องความเป็นธรรมทางเพศ เพื่อป้องกันและขจัดความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับใครก็ตามด้วยเหตุจากเพศที่เขาและเธอเกิดมาเป็น หรือเลือกเป็น เครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งของคนทำงานคือการฟัง แบบที่เรียกว่า “ฟังด้วยหัวใจ”

การฟังด้วยหัวใจ ช่วยให้เสียงที่มีธรรมชาติเป็นเพียงแรงสั่นสะเทือนต่อเนื่องมีความหมายต่อเรา

และความหมายนั้นทำให้เรารู้สึกบางอย่าง และเกิดความเชื่อมโยงบางอย่างกับเสียงที่ได้ยิน

หลักการสำคัญที่สุดของการฟังด้วยหัวใจ คือการรับฟังคู่สนทนาในฐานะมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน และทั้งสองฝ่ายสามารถใช้อำนาจร่วมกันในพื้นที่สนทนาได้อย่างแท้จริง

ก่อนอื่น คนฟังต้องเรียนรู้เทคนิคการ Grounding เสียก่อน การกราวดิ้ง คือการกลับมามีสติและหยั่งรากลงในปัจจุบันขณะ คือการพาจิตใจล่องลอยไปตามการชักนำของความคิดและความรู้สึกต่างๆ ให้กลับมาตั้งมั่นอยู่ที่นี่ เวลานี้

เทคนิคการกราวดิ้งมีหลายวิธี ที่ใช้ได้ผลดีและเป็นประโยชน์ในระยะยาว คือการกลับมารู้สึกตัวที่ร่างกายและลมหายใจของเราเอง เริ่มจากหายใจเข้าออกให้ลึกและยาวหลายๆ ครั้ง จากนั้นค่อยๆ ไล่ความรู้สึกไปที่ร่างกายแต่ละส่วนตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า สัมผัสความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ที่ร่างกายสัมผัสกับเสื้อผ้า พื้น และสิ่งแวดล้อม รับรู้ท่าทางที่ร่างกายเป็นอยู่ รับรู้ความรู้สึกโปร่งเบา แข็งตึง หรือเจ็บปวดที่เกิดในร่างกายส่วนต่างๆ แล้วใช้ลมหายใจส่งความปรารถนาดีไปที่อวัยวะที่แข็งตึงและเจ็บปวดเหล่านั้นให้หย่อนคลาย

อ่านต่อ »

ตัวป่วน หรือ Change Agent?



โดย โอม รัตนกาญจน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 18 มิถุนายน 2559

ในอาชีพของกระบวนกร (Facilitator) หรือนักฝึกอบรม เราอาจต้องเจอกับผู้เข้าร่วมอบรมตัวป่วนที่สร้างความอึดอัดและสถานการณ์ยากๆ ให้กับเราอยู่ไม่มากก็น้อย ผมเป็นคนหนึ่งที่ล้มลุกคลุกคลาน ลองผิดลองถูก ล้มเหลวกับเรื่องนี้มาหลายปี ช่วงแรกๆ ถึงกับท้อ แต่หลังๆ ผมฝึกตัวเองให้เป็นคนที่เวลาเจอกับปัญหายากๆ แทนที่จะเอาความล้มเหลวมานั่งตำหนิ ตัดพ้อตัวเอง ก็มักจะเอาโจทย์เหล่านั้นไปปรึกษากับอาจารย์ที่เป็นโค้ชเพื่อเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เข้าใจสถานการณ์ยากๆ เหล่านั้นในแง่มุมเชิงลึกและเป็นไปเพื่อการเติบโตได้มากขึ้น จึงอยากเขียนเล่าให้ฟังในที่นี้ เผื่อจะได้มุมมองที่เป็นประโยชน์กับหลายคนที่ต้องเจอกับสถานการณ์คล้ายๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นวิทยากร นักฝึกอบรม ที่ปรึกษา ผู้นำ ผู้บริหาร หรือแม้กระทั่งผู้ที่ต้องจัดประชุมในองค์กรและอยู่กับปัญหาของผู้คนเป็นกิจวัตร

ในมุมมองของงานจิตวิทยากระบวนการ (Process Work) เชื่อว่าตัวป่วนหรือตัวสร้างปัญหา (Trouble maker) นั้น ไม่ว่าเขาจะอยู่ในองค์กร ครอบครัว หรือในห้องอบรมก็ตาม แท้จริงแล้ว เขาเป็นผู้นำพาแก่นสารสำคัญที่จะช่วยทำให้ระบบกลับเข้าสู่ภาวะสมดุล (Balance the system) แม้ว่าสิ่งที่เขาสื่อสารหรือแสดงออกนั้นจะเป็นเหมือนหนามทุเรียน คือไม่ค่อยน่าฟังหรือเป็นมิตรด้วยเท่าไหร่นัก พูดในอีกแง่มุมหนึ่ง เขาคือกระจกสะท้อนปัญหาสำคัญขององค์กร ที่ไม่ค่อยได้ถูกหยิบยกขึ้นมารับรู้ พูดถึงหรือแก้ปัญหากันอย่างจริงจัง

ในการอบรมให้กับองค์กรหลายครั้ง โดยเฉพาะการเรียนที่ผู้เข้าร่วมถูกเกณฑ์มา ผมมักจะพบคนที่อยู่ในบทบาทของกบฏ (Rebel) ในที่นี้หมายถึงคนที่ไม่ให้ความร่วมมือในเวิร์คช็อป เป็นเด็กหลังห้อง วิพากษ์วิจารณ์ ท้าทาย ทั้งกับวิทยากร ผู้บริหาร หรือองค์กร เขามักจะนั่งกอดอกอยู่แถวหลัง ไม่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม เข้าห้องสาย ออกก่อนเวลา มีท่าทีอึดอัดแบบจำใจอยู่ เต็มไปด้วยเสียงพร่ำบ่นและความไม่พอใจอยู่ภายใน ผู้เข้าร่วมตัวป่วนในรูปแบบกบฏนี้ เพียงแค่คนเดียวในคลาส พลังลบของเขาก็อาจรบกวนให้เราเสียสมาธิรำคาญใจได้ไม่น้อย แม้ว่าผู้เข้าร่วมที่เหลือจะโอเคกับเราก็ตาม ผมขอยกตัวอย่างหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่พบเจออยู่บ่อยๆ ให้ท่านผู้อ่านเห็นภาพ

ไม่นานมานี้ผมได้จัดเวิร์คช็อปให้กับองค์กรแห่งหนึ่ง เรื่องภาวะผู้นำและการคลี่คลายความขัดแย้งในองค์กรยุคใหม่ ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่เป็นระดับผู้จัดการ หลายคนมาด้วยความสนใจใคร่รู้ อีกหลายคนมาเพราะเป็นนโยบายบริษัท แต่ก็มาด้วยใจที่เปิดพร้อมเรียนรู้ เพราะเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงองค์กรที่สำคัญ

อ่านต่อ »

คุณธรรมแต่กำเนิด



โดย พระไพศาล วิสาโล
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 11 มิถุนายน 2559

"ทำอย่างไรจึงจะปลูกฝังคุณธรรมให้แก่เด็กได้?” เป็นคำถามที่อยู่ในใจของพ่อแม่และครูบาอาจารย์จำนวนไม่น้อย คำถามนี้มีนัยยะว่าคุณธรรมเป็นสิ่งที่เด็กไม่มีอยู่แต่เดิม ดังนั้นจึงต้องสร้างขึ้นมา แต่ในความเป็นจริง คุณธรรมบางอย่างมีอยู่ในตัวเด็กตั้งแต่แบเบาะ หนึ่งในนั้นคือความเอื้ออาทรหรือเมตตากรุณา

เมื่อทารกแรกเกิดเห็นหรือได้ยินทารกอีกคนร้องไห้ เขาจะร้องไห้ตามเหมือนกับว่ารู้สึกเป็นทุกข์ไปด้วย (แต่มักจะไม่ร้องหากได้ยินเสียงร้องของตนเอง) ส่วนเด็กที่อายุ ๑๔ เดือนขึ้นไป จะไม่เพียงร้องไห้เมื่อได้ยินอีกคนร้องเท่านั้น แต่จะพยายามเข้าไปช่วยเด็กคนนั้น เด็กยิ่งโต ก็จะร้องไห้น้อยลง แต่จะพยายามช่วยมากขึ้น

เคยมีการทดลองให้เด็กอายุหกเดือนกับสิบเดือนดูภาพเคลื่อนไหวของวงกลมวงหนึ่งซึ่งพยายามไต่เขา บางครั้งก็มีสามเหลี่ยมช่วยดันวงกลมขึ้นไปจนถึงยอด แต่บางครั้งก็มีสี่เหลี่ยมผลักวงกลมลงมาจนถึงพื้น ตัวการ์ตูนทั้งสามล้วนมีนัยน์ตาสองข้างเสมือนคน เด็กดูภาพเหล่านี้ครั้งแล้วครั้งเล่าจนเบื่อ หลังจากนั้นผู้ทดลองก็เอาถาดมาให้เด็กเลือก ด้านหนึ่งของถาดเป็นของเล่นคล้ายตัวสามเหลี่ยมที่ชอบช่วย อีกด้านเป็นของเล่นคล้ายตัวสี่เหลี่ยมที่ชอบแกล้ง ปรากฏว่า เด็กสิบเดือน ๑๔ ใน ๑๖ คนเลือกตัวสามเหลี่ยม เช่นเดียวกับเด็กหกเดือนทั้ง ๑๒ คน การทดลองดังกล่าวชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เด็กนั้นเห็นว่าการช่วยเหลือเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นจึงชอบตัวที่ช่วยเหลือผู้อื่น

พฤติกรรมของเด็กเหล่านี้ไม่มีใครสอน แต่ล้วนแสดงออกในทิศทางเดียวกัน คืออยากช่วยเหลือ และชื่นชอบการช่วยเหลือ นั้นหมายความว่าความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นั้นติดตัวเด็กมาตั้งแต่แรกเกิดก็ว่าได้ อย่าว่าแต่เด็กเลย แม้แต่สัตว์ก็มีคุณธรรมดังกล่าวเช่นกันโดยไม่จำเป็นต้องมีใครมาสอน

อ่านต่อ »

สมองส่วนหน้าที่รัก



โดย วิศิษฐ์ วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 4 พฤษภาคม 2559

บทความนี้ได้จากร่างเนื้อหาที่ผมเตรียมเพื่อจะไปพูดเรื่องสมองกับคุณหมอวิโรจน์ ตระการวิจิตในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙ โดยผมเริ่มจากโจทย์แล้ววินิจฉัยพร้อมเสนอทางออกดังนี้ครับ

โจทย์

การทำอะไรหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน หรือ multitasking เป็นเรื่องดีหรือไม่? เราจะสามารถใช้สมองอย่างเต็มประสิทธิภาพได้อย่างไร ได้ข่าวมาว่า สมองของคนทั่วไปทำงานเพียงห้าเปอร์เซ็นต์ของศักยภาพเต็มที่เท่านั้น

วินิจฉัย
พื้นที่ใช้งานจำกัดของสมองส่วนหน้า


จากอ่านและย่อยหนังสือ Your Brain At Work (ปลุกสมองให้คล่องงาน) โดยเดวิด ร็อค (David Rock) ในเรื่องสมองส่วนหน้า หรือ executive brain รวมทั้งความเข้าใจต่างๆ ที่ผมได้สั่งสมมาจากการอ่านหนังสือว่าด้วยเรื่องนิวโรไซน์ (ประสาทวิทยาศาสตร์) หลายต่อหลายเล่ม ผมได้ความเข้าใจบางอย่างที่คิดว่ามีประโยชน์และอยากนำมาเล่าให้ฟังครับ

สมองส่วนหน้าได้สร้างพื้นที่ขึ้นมา และเป็นพื้นที่ของจิตสำนึก (consciousness) ที่ตื่นและรับรู้เรื่องราวต่างๆ ได้ คิดได้ จินตนาการได้ สัมผัสและรับรู้สิ่งที่อายตนะต่างๆ ส่งมาได้ รับรู้อารมณ์ความรู้สึกได้

สมองส่วนหน้านี้มีพื้นที่จำกัด หากคิดเป็นหน่วยของ “บิท” แบบคอมพิวเตอร์ สมองส่วนหน้าก็สามารถประมวลผลได้ทีละสองพันบิท ส่วนสมองที่เหลือทั้งหมดสามารถประมวลผลได้เป็นระดับล้านล้านบิท เดวิด ร็อค เปรียบเทียบว่าถ้าพื้นที่สมองส่วนหน้าเทียบเท่าเงินหนึ่งดอลลาร์ สมองส่วนที่เหลือจะมีพื้นที่ทำงานเท่ากับเงินหมุนเวียนในสหรัฐอเมริกาทั้งหมด แต่จะอยู่ในระดับจิตใต้สำนึกหรือจิตไร้สำนึก หากจะนำผลลัพธ์การทำงานของสมองส่วนอื่นมาใช้ ต้องผ่านสมองส่วนหน้าก่อนจึงจะนำมาใช้งานได้

เพราะฉะนั้น เราต้องใช้พื้นที่หรือเวทีของสมองส่วนหน้านี้อย่างมัธยัสถ์และให้ประโยชน์สูงสุด

อ่านต่อ »

รัญจวน อินทรกำแหง จากเหรียญตรามาสู่ธุลีดินอย่างสง่าสงบงาม



โดย ประชา หุตานุวัตร
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 28 พฤษภาคม 2559

ชีวิต ๙๕ ปี ของอาจารย์รัญจวน อินทรกำแหง เป็นชีวิตที่มีค่าน่าศึกษายิ่งนักในหลากหลายมิติทั้งทางโลกและทางธรรม ท่านอยู่ในโลกทั้งสมัยเก่าและสมัยใหม่ ทั้งไทยและเทศ คลุกคลีกับทั้งชนชั้นสูงและชาวบ้าน อยู่ในโลกฆราวาส และโลกนักบวช เป็นนักคิดนักเขียนและนักปฏิบัติ

ท่านเกิดปลายรัชกาลที่๖ เป็นลูกทหารระดับนายพันเอกชั้นพระยาฯ มารดาเป็นสตรีชาววัง แต่ชีวิตก็ไม่ได้ราบเรียบนัก บิดาออกจากราชการมาประกอบธุรกิจแล้วไม่ประสบความสำเร็จ แต่มารดาท่านมีวิสัยทัศน์ไกลก่อนยุคสมัย มุ่งมั่นจะให้ลูกสาวได้รับการศึกษาอย่างดีเพื่อจะได้เป็นตัวของตัวเอง ในที่สุดสาวน้อยรัญจวน อินทรกำแหงก็เรียนจบได้ประกาศนียบัตรวิชาครูเป็นก้าวแรก ได้เป็นครูหัวเมืองสิบกว่าปีตั้งแต่อายุ๑๙ปี แล้วก็ย้ายเข้ามาเป็นครูในกรุงเทพฯเพื่อดูแลมารดาไปด้วยเมื่อเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้ว

จากนั้นไม่นานก็ย้ายเข้ามาทำงานในกระทรวงศึกษาธิการ จนได้รับทุนไปศึกษาต่อด้านจนจบปริญญาโทด้านบรรณรักษ์ศาสตร์จากสหรัฐอเมริกา เมื่อกลับมาหน้าที่การงานก็งอกงามขึ้นตามลำดับ แม้จะมีเรื่องให้ฟันฝ่าหลายอย่าง แต่ก็อาศัยความพากเพียรและซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้ง ตามแบบอย่างของคุณธรรมสมัยนั้นที่ยังไม่สั่นคลอนเท่าปัจจุบัน

นอกจากงานในหน้าที่ราชการแล้ว อาจารย์รัญจวนก็ใช้เวลาและพลังไม่น้อยในงานอาสาสมัครเกี่ยวกับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และสมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย ในที่สุดเมื่ออายุ ๔๘ ปี ก็ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จตุตถจุลจอมเกล้า อย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว เพราะไม่ได้ขวนขวาย คนในระบบหรือคนที่เชื่อคุณค่ากระแสหลักย่อมถือว่านี่เป็นเกียรติประวัติที่สำคัญของชีวิต

อ่านต่อ »

หลักสูตรปริญญาเอกเน้นอะไร?: คนเก่งหรือคนดี?



โดย ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 21 พฤษภาคม 2559

ชีวิตผมผ่านการเรียนระดับปริญญาเอกสองครั้ง ครั้งแรกเป็นนิสิตปริญญาเอกสาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษารุ่นแรกที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนจบครบรายวิชา และสอบผ่านขั้นตอนต่างๆ ตามที่หลักสูตรกำหนด เหลือแต่วิทยานิพนธ์ อาจารย์ก็ชวนให้เป็นอาจารย์ที่คณะ ผมก็สมัครเป็นอาจารย์ และก็ได้เป็นอาจารย์ที่คณะ สอนอยู่หนึ่งปีก็สอบชิงทุนของจุฬาฯ ไปเรียนปริญญาเอกสาขาวิชาปรัชญาการศึกษาที่มหาวิทยาลัยมินนิโซต้า ซึ่งเป็นการเรียนปริญญาเอกครั้งที่สองของผม ที่มินนิโซต้าผมได้โอกาสเรียนทางด้านการศึกษาและการวิจัยอนาคตด้วย

การเรียนปริญญาเอกทั้งสองครั้ง ตามหลักสูตรที่แต่ละแห่งกำหนด ที่เน้นเหมือนกันคือการเน้นความเป็นนักวิชาการ มีกฎ ระเบียบ มาตรฐาน ประเพณี พิธีการ และพิธีกรรมมากมาย

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา โดยเฉพาะระดับปริญญาเอกเน้นความเป็นเลิศ (ความเก่ง)ทางวิชาการ แต่น่าสนใจว่า ทำไมไม่เน้นความเป็นเลิศทางความดีความงามด้วย

ทำไมต้องแยกความเป็นเลิศทางวิชาการออกจากความดีความงาม?

ความรู้ควรเคียงคู่กับคุณธรรมหรือไม่?

มีแต่ความรู้ แต่ขาดคุณธรรม ขาดความดีความงาม ก็อาจใช้ความรู้นั้นๆ เพื่อตอบสนองประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง ใช้ความรู้ที่มีไปทำร้าย ทำลายผู้อื่น สิ่งแวดล้อม สังคม และสรรพสิ่งได้ ศาสตร์ที่มีก็กลายเป็นศาสตราวุธที่มีอำนาจทำลายร้ายแรงได้

หรือระบบการศึกษายุคใหม่ในปัจจุบัน ถูกครอบด้วยระบบคิดและวิธีปฏิบัติของทุนนิยมไปโดยเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแล้ว?

ต้องเก่งเหนือผู้อื่น ต้องมุ่งสู่ความเป็นที่หนึ่ง ต้องชิงความได้เปรียบ ต้องเอาตัวรอด ต้องยึดผล (Result Based) โดยไม่คำนึงถึงวิธีการที่ได้มาว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงามหรือไม่

หรือการศึกษากลายเป็นธุรกิจไปแล้ว? การจัดการศึกษาต้องคุ้มทุนหรือมีกำไร ถ้าไม่คุ้มทุน เพราะลูกค้าน้อย ไม่มีกำไรก็ต้องปิดกิจการ (หลักสูตร)

สาขาวิชาปรัชญาการศึกษาถูกปิดเพราะลูกค้าลด สาขาบริหารการศึกษาเปิดมากมายเพราะลูกค้ามาก

ตกลงการศึกษาเป็นกระบวนการในการสร้างและพัฒนาคนหรือเป็นการค้า การดำเนินธุรกิจทางการศึกษา?

ตกลงการศึกษาระดับปริญญาเอกเป็นกระบวนการในการปรับวุฒิ และเพิ่มโอกาสในการเป็นผู้บริหาร หรือสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการควบคู่กับการเป็นคนดีมีคุณธรรมทั้งผู้เรียนและผู้สอน

ผมโชคดี มีโอกาสได้ทำโครงการวิจัยที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่งในปีนี้ คือ “โครงการวิจัยและประเมินผลการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก” ใช้วิธีวิจัยที่หลากหลาย เช่นการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ Oral History แบบสอบถาม การประชุมกลุ่ม Focus Group และการประชุมทีมวิจัย งานวิจัยนี้ยังดำเนินการอยู่ ยังไม่เสร็จ มีวัตถุประสงค์หลักสามประการคือ

๑. เพื่อสังเคราะห์ปรัชญาแนวคิดการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกในประเทศคัดสรร ได้แก่ อังกฤษ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

๒. เพื่อศึกษาพัฒนาการของการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกของประเทศไทย

๓. เพื่อประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกของสถาบันอุดมศึกษาไทย

โดยมารยาทและธรรมเนียมปฏิบัติผมยังไม่สามารถเปิดเผยผลการวิจัยได้ แต่ผมนำมาเล่าเป็นส่วนเสริมบทความนี้ว่า งานวิจัยชิ้นนี้ทั้งในเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ และการทำ Focus Group กับผู้ทรงคุณวุฒิ ก็เน้นเรื่องของความเป็นนักวิชาการ และความเป็นเลิศทางวิชาการเป็นหลัก ยังไม่พบว่ามีการจัดการหลักสูตรระดับปริญญาเอกในประเทศคัดสรร และของไทยซึ่งมีการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาเอกมากกว่าหนึ่งพันสองร้อยหลักสูตร ระบุว่ามีการเน้นในเรื่องความเป็นคนดีควบคู่ไปกับความเป็นเลิศทางวิชาการอย่างชัดเจน

ตกลงเรื่องความดี ความเป็นคนดี ไม่ใช่คุณลักษณะที่พึงประสงค์และ/หรือสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนระดับปริญญาเอกใช่หรือไม่? หรือทึกทักว่าผู้เรียนเป็นคนดีอยู่แล้วจึงไม่มีการเน้นเรื่องนี้ในหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นส่วนของปัจจัย (Input) กระบวนการ (Process) หรือผลผลิต (Output) ยังมิต้องพูดถึงผลลัพธ์ (Outcome) และผลกระทบ (Impact) ของการจัดการหลักสูตรระดับปริญญาเอก

และที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือ เรื่องความดี ความเป็นคนดี ควรเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้สอนในระดับปริญญาเอกหรือไม่ หรือจะดูแค่ว่ามีคุณวุฒิตรงตามสาขาที่จะสอนหรือไม่เท่านั้น

ทั้งหมดที่เขียน เป็นข้อสังเกตที่ผมตั้งขึ้นมา เป็นการสะท้อนจากประสบการณ์ตรงของตนเองที่ผ่านการเรียนระดับปริญญาเอกมาสองหลักสูตร และการสอนระดับปริญญาเอกทั้งที่จุฬาฯ และมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศ

การจ้างและรับจ้างทำรายงาน และวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของนิสิตนักศึกษาและอาจารย์ คงไม่มีปรากฏเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ ถ้าความดีและความเป็นคนดีเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ หรือสมรรถนะที่พึงมีของผู้เรียนและผู้สอนระดับปริญญาเอก

คู่ชีวิต: ของขวัญ หรือ ระเบิดเวลา



โดย สมพล ชัยสิริโรจน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 14 พฤษภาคม 2559

ในการแนะนำคู่แต่งงานใหม่ ทั้งคู่พึงเข้าใจบทเรียนบทแรกคือ แม้นว่าทั้งสองจิตใจตรงกันและปรารถนาใช้ชีวิตร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ราวกับเป็นคนเดียวกันนั้น มิได้หมายความว่า ทั้งคู่จะกลายเป็นหนึ่งเดียวกัน จะรู้สึกนึกคิดไปในทางเดียวกันจนสามารถรู้ใจกันและกันในทุกเรื่องตลอดเวลา

โจทย์สำคัญของชีวิตคู่มิใช่เพียงจะอยู่ร่วมกันอย่างไรให้เป็นสุขอย่างเกื้อกูล รักใคร่กัน แต่ทั้งสองยังเป็นสุขที่ได้ดำรงตนอย่างเป็นตัวของตัวเองไปพร้อมกัน

ชีวิตคู่หลายคู่ล่มสลายไปเพราะไม่เพียงแต่ไม่สัมพันธ์กัน แต่เป็นเพราะต่างไม่มีโอกาสเป็นตัวของตัวเองเช่นกัน

ความจริงที่ซ่อนเร้นในบทเรียนบทแรกคือ ต่างคนต่างแตกต่างกัน แม้นจะมีอะไรคล้ายคลึงกัน แต่ความแตกต่างจากนี้ต่างหากดึงดูดให้เขาและเธอมาเป็นคู่ชีวิตกัน

เช่น “กวี” ชายหนุ่มผู้รักเสียงดนตรี เป็นนักดนตรีนักร้องมาตลอดชีวิต ตกหลุมรัก “จิตต์” ลูกสาวคนโตของครอบครัวคนค้าขาย จิตต์รู้จักช่วยพ่อแม่ขายของมาตั้งแต่เรียนประถม ส่วนกวีร้องเพลงโชว์ในงานสังสรรค์ครอบครัวตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ

กวีหาได้เรียนรู้ที่จะทำกิจกรรมอื่นใด นอกจากร้องเพลงเล่นดนตรีตามที่ตนรักและมีใจให้ ด้วยว่าทุกครั้งที่เขาขึ้นเวที ป๋า แม่ และพี่ๆ ต่างก็ปรบมือเป่าปากเอาใจเชียร์

จิตต์รู้ว่า เธอต้องทำงานหนักเพื่อให้เตี่ยกับแม่ อาก๋ง อาม่ารัก เธอเรียนดี ขายของเก่ง มีชั้นเชิงจนเตี่ยเอ่ยปากว่า “ลื้อน่าจะเกิดเป็นลูกผู้ชาย”

อ่านต่อ »

ความเป็นมนุษย์ของเรา



โดย ชลนภา อนุกูล
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 30 เมษายน 2559



“โอ้โห บ้านดูดี อยู่ดีกว่าคนไทยเสียอีกนะนี่” – เสียงหนึ่งลอยมาระหว่างเดินเยี่ยมชมศูนย์อพยพบ้านแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

ประโยคดังกล่าวกระตุกให้เห็นความคุ้นชินบางอย่างที่แทบจะกลายเป็นค่านิยมอัตโนมัติในตัวเรา นั่นคือ ถ้าเป็นผู้ลี้ภัย - เขา/เธอต้องเป็นคนจนยาก เป็นผู้มาขออยู่อาศัยในแผ่นดินของเรา ดังนั้นเอง เขา/เธอจึงไม่ควรมีคุณภาพชีวิตที่เท่าเทียมหรือดีกว่าพวกเราคนไทย

คำถามคือ มาตรฐานของการเป็นมนุษย์ และคุณภาพชีวิตที่ไม่ทำให้คนคนหนึ่งต้องใช้ชีวิตต่ำกว่าความเป็นมนุษย์ เราควรกำหนดไว้ให้เฉพาะคนสัญชาติไทยเท่านั้นล่ะหรือ?

ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีผู้ลี้ภัยอยู่ในค่ายอพยพ ๙ แห่ง ใน ๔ จังหวัด จำนวนราวหนึ่งแสนคน ร้อยละ ๙๐ เป็นชาวกะเหรี่ยง สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) มีบทบาทหลักในการดูแลผู้ลี้ภัยเหล่านี้ร่วมกับรัฐบาลไทยและเอ็นจีโอ

สงครามระหว่างรัฐบาลพม่ากับกองทัพกะเหรี่ยงในเมียนมาร์ผลักดันให้กลุ่มชาติพันธุ์นี้ข้ามดินแดนมายังฝั่งไทย นโยบายพม่านิยมที่กำลังทำให้เมียนมาร์เป็นของชนชาติพม่า ได้กีดกันกลุ่มชาติพันธุ์อื่น รวมทั้งกะเหรี่ยงออกไปจากประเทศ ส่วนนโยบายไทยนิยม ที่ให้คุณค่าเฉพาะคนที่มีสัญชาติไทย บัตรประชาชนไทย ก็กีดกันผู้คนเหล่านี้ออกไปจากการคุ้มครองดูแลให้มีคุณภาพชีวิตเท่าเทียมพลเมืองของตน

อ่านต่อ »

ฮิตเลอร์ในตัวเรา



โดย ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 30 เมษายน 2559

เร็วๆ นี้ ผมได้ชมภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ตั้งคำถามเล่นๆ ว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าหาก "เอดอล์ฟ ฮิตเลอร์" กลับมามีชีวิต มีตัวเป็นๆ อีกครั้ง ณ ประเทศเยอรมนี ในยุคปัจจุบัน ภาพยนตร์นั้นมีชื่อภาษาเยอรมันว่า Er ist wieder da หรือ แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "ดูซิว่า ใครกลับมาแล้ว?" ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างความฮือฮาในระหว่างถ่ายทำ เพราะแทนที่ชาวเยอรมันผู้ได้พบเห็นนักแสดงที่แต่งกายเป็นฮิตเลอร์จะรู้สึกสะอิดสะเอียน กระอักกระอ่วนใจ ชิงชังรังเกียจ กลับมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่โบกมือทักทาย ยิ้มให้ ขอถ่ายรูปเซลฟี่กับเขา แถมยังมีคนทำท่าเคารพเขาด้วยการยกมือขวาขึ้นเหนือศีรษะ ซึ่งเป็นท่าทางที่ตราไว้ในกฎหมายเยอรมันว่าห้ามทำในที่สาธารณะ อย่างเด็ดขาด (แน่นอนยกเว้นสำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์ที่ได้รับอนุญาตเป็นพิเศษ)

ปรากฏการณ์นี้สร้างความฉงนฉงายให้กับผมและต้องยอมรับว่าสร้างความรู้สึกป่วนใจอย่างบอกไม่ถูก การได้เห็นพฤติกรรมของผู้คนที่ให้ความเป็นกันเองกับเผด็จการที่ฆ่าชาวยิวเป็นล้านๆ คน ถึงแม้จะเป็นแค่นักแสดง ทำให้ผมสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับผู้คนเหล่านี้ หรือพวกเขาเป็นพวกสมองเม็ดถั่วที่แยกแยะไม่ได้ว่าอะไรถูกอะไรผิด พวกเขาไม่มีสามัญสำนึกของความเป็นมนุษย์หรอกหรือจึงได้เพิกเฉยในเรื่องที่เห็นอยู่ว่าผิดจริยธรรมชัดๆ พวกเขาอาจจะเป็นคนตัดหญ้าหรือชาวนาที่มีการศึกษาต่ำใช่ไหม แต่เปล่าเลย นักแสดงที่แสดงเป็นฮิตเลอร์ผู้นี้ ได้รับการยอมรับจากชาวเยอรมันในทุกระดับชั้น และลักษณะท่าทางการพูดอันมีอำนาจและฉลาดสุดๆ ทำให้ผู้คนที่กำลังหัวเราะเยาะเขาสงบลงและนิ่งฟังอย่างตั้งใจ เหมือนมีแสงออร่าบางอย่างออกมาจากตัวเขา

อ่านต่อ »

ความสุขจากความสัมพันธ์ กระบวนการสร้างวัฒนธรรมของการอยู่ร่วมกันในสังคม



โดย ธัญลักษณ์ ศรีสง่า
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 23 เมษายน 2559

ความสุขในชีวิตคืออะไร อาจเป็นคำถามที่ใช้ทบทวนชีวิตตนเอง หรือถามคนใกล้ชิดเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวในชีวิต คำตอบที่มีต่อคำถามนี้ นอกจากทำให้รู้ว่าความสุขคืออะไร ยังทำให้เข้าใจมุมมองที่ผู้ตอบแต่ละคนมีต่อความสุข รวมทั้งทำให้เข้าใจความหมายเกี่ยวกับความสุขของสังคมได้อีกด้วย

ผู้เขียนได้ยินเรื่องราวการทำวิจัยเรื่องความสุขของผู้สูงอายุในภูมิภาคอาเซียน1 จาก พรรณภัทร ปลั่งศรีเจริญสุข เพื่อนที่เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เธอลงภาคสนามเพื่อศึกษาความสุขของผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ไตหรือไทจาก ๕ ประเทศ คือ เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และเวียดนาม และเบื้องต้นพบว่า ความสุขของผู้เฒ่าไทเหล่านั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบตัวเหมือนกัน โดยแบ่งที่มาของความสัมพันธ์ได้เป็น ๕ ประเภท คือ ๑. Area การได้อยู่ในพื้นที่ที่ใกล้ชิดกับลูกหลาน อยู่ในชุมชนที่ตนเองมีส่วนร่วมในกิจกรรม ๒. Belief การได้ทำตามความศรัทธา ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม ๓. Communication การได้สื่อสารความรู้ของตนเองให้ลูกหลานและสังคม ๔. Development ความภูมิใจที่ความรู้ความสามารถของตนเป็นที่ยอมรับและนำไปพัฒนาต่อยอดได้ และ ๕. Enjoy Happiness การได้ทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมและทำงานที่มีความสุข เช่น ฟ้อนรำ การละเล่น ทอผ้า ขายของ

หลังจากคุยกันถึงงานวิจัยของเธอแล้ว เราได้ช่วยกันออกแบบกิจกรรม “๑๐๐ ปีแห่งความสุข” เพื่อทำความเข้าใจกับความสุขของคนไทยในพื้นที่ชานกรุงเทพฯ บ้าง2 โดยใช้มุมมองเชิงประวัติศาสตร์ที่ผู้เขียนสนใจมาทำเส้นเวลาความสุข (Happiness Timeline) ที่บรรจุเรื่องราวจากประวัติชีวิตของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประมาณ ๗๐ คน ซึ่งหลากหลายทั้งเพศ วัย บทบาททางสังคม และพื้นที่ชุมชน

อ่านต่อ »

ทำบุญแต่ห่างธรรม



โดย พระไพศาล วิสาโล
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 9 เมษายน 2559

เคยเข้าใจกันว่าการทำบุญเป็นเรื่องของคนรุ่นปู่ย่าตายายหรือรุ่นพ่อรุ่นแม่ เมื่อคนเหล่านี้แก่ตัวหรือล้มหายตายจากไป การทำบุญก็จะลดน้อยถอยลง แต่ดูเหมือนว่าทุกวันนี้การทำบุญไม่ได้ลดน้อยลงเลย หรือถึงลดน้อยลงก็ไม่มากนัก คนรุ่นลูกซึ่งบัดนี้กลายเป็นพ่อคนแม่คนก็ยังนิยมทำบุญกันอยู่ สิ่งบ่งชี้อย่างหนึ่งก็คือปัจจุบันเครื่องสังฆทานหาได้ง่ายตามห้างใหญ่ๆ ไม่ได้กระจุกอยู่ในร้านสังฆทานหรือเสาชิงช้าดังแต่ก่อน

การนิยมทำบุญตามวัดวาอารามนั้นเป็นเรื่องดี หากเป็นการต่อยอดจากความดีที่เคยทำกันเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว แต่หากการทำบุญดังกล่าวกลับทำให้ความดีที่เคยทำหรือพึงกระทำลดน้อยถอยลง ก็คงจะถือว่าเป็นเรื่องดีไม่ได้ ที่น่าเป็นห่วงก็คือ นี้คือแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้น

ครอบครัวหนึ่งมีแม่ที่ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ การดูแลแม่ตกเป็นหน้าที่ของลูกสาวคนสุดท้อง ซึ่งทิ้งอาชีพการงานมาพยาบาลแม่นานนับสิบปี โดยที่พี่ๆ แทบจะไม่ได้มาช่วยเหลือเลยนอกจากให้เงินค่าดูแล วันหนึ่งน้องสาวมีธุระนอกบ้าน จึงขอให้พี่สาวมาช่วยดูแลแม่แทนเธอสักวัน คำตอบที่ได้รับจากพี่สาวคือ ไม่ว่างเพราะจะไปทำบุญที่วัดแห่งหนึ่งชานเมือง

การที่พี่สาวอยากทำบุญที่วัดนั้นเป็นเรื่องน่าอนุโมทนา แต่ไม่ถูกต้องแน่หากเข้าใจว่าการทำบุญต้องทำที่วัดหรือทำกับพระเท่านั้น การดูแลแม่ก็เป็นการทำบุญเช่นกัน คำตอบดังกล่าวของพี่สาวสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจเกี่ยวกับบุญที่คับแคบและคลาดเคลื่อน ซึ่งเกิดกับผู้คนเป็นจำนวนมาก จะว่าไปแล้วก่อนที่จะทำบุญกับพระที่วัด สิ่งหนึ่งที่ควรทำคือการทำบุญกับพ่อแม่ที่บ้าน การไปทำบุญกับพระ โดยไม่สนใจพ่อแม่ที่เจ็บป่วยนั้น ย่อมไม่ใช่วิสัยของผู้ใฝ่ธรรม

อ่านต่อ »

ความท้าทายกับเสน่ห์แห่งการเริ่มต้นงานกระบวนการ



โดย วิศิษฐ์ วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 2 เมษายน 2559

วาระที่ผมได้กลับมาใคร่ครวญกับงานกระบวนการว่าด้วยการเริ่มต้น ผมจะบอกลูกศิษย์ที่มาเรียนว่า เวลาจัดกระบวนการให้กับองค์กรหนึ่งใด ช่วงที่ยากที่สุดคือช่วงเริ่มต้น อาจจะเป็นครึ่งวันแรกของงานสองวัน หรือหนึ่งวันแรกของงานสามสี่วัน เพราะมันเป็นรอยต่อที่จะเชื่อมโลกสองโลกเข้าด้วยกัน คือโลกของมนุษย์ธรรมดาทั่วไปในโลกใบนี้ ยุคสมัยนี้ ซึ่งรับชะตากรรมความเป็นไปอย่างที่เห็นและเป็นอยู่ กับโลกของมนุษย์ที่ฝึกฝนทางจิตใจ ที่สามารถออกแบบชีวิตของตัวเอง ไม่ปล่อยให้ไหลไปตามยถากรรม เป็นเหยื่อของชะตากรรมอย่างไม่สามารถถอนตัวออกมาได้ โดยบางทีเราก็ไม่รู้ว่า ตัวเองตกอยู่ในกรงขัง ผู้คนในโลกนั้นอาจจะรับรู้แต่เพียงว่า สิ่งที่เป็นไปและสิ่งที่เขาประสบก็คือ “ความเป็นจริง” เขาไม่รู้เลยว่า เพียงเปลี่ยนเลนส์ที่ใช้มอง ความเป็นจริงก็สามารถแปรเปลี่ยนได้ ไม่ได้เป็นไปอย่างที่พวกเขาเห็นเท่านั้น

ลองตรองดูนะครับว่ามันยากแค่ไหนกัน


ความหลากหลายของเครื่องมือนำพา

เรามีเครื่องมืออะไรบ้างที่จะนำพาพวกเขาให้สามารถเห็นว่า มีโลกอีกใบหนึ่งอยู่ และพวกเขาสามารถมีตัวเลือก ไม่จำต้องอยู่ในโลกใบเดิมแต่เพียงอย่างเดียว เครื่องมือหนึ่งก็คือ กิจกรรมเล็กๆ ที่สร้างบรรยากาศ ประกอบด้วยแสง สี เสียง ที่ทำให้พวกเขาผ่อนคลาย และเข้าสู่คลื่นสมองที่ผ่อนคลาย คือคลื่นอัลฟา1 และกิจกรรมเล็กๆ ที่สร้างพื้นที่ปลอดภัย ที่ทำให้โหมดปกป้องหรือกลไกป้องกันตัวเองผ่อนคลายลง เหล่านี้เป็นเครื่องมือแรกๆ ที่ต้องใช้ บางทีเราอาจเรียกมันว่า เครื่องเคียง หรือ อาหารเรียกน้ำย่อยก็ได้ แต่ยังไม่ใช่อาหารจานหลัก

กิจกรรมเล็กๆ นี้ก็เช่นการเดินและหยุด นำด้วยเสียงระฆัง เราจะเปิดเพลงประกอบเป็นเพลงบรรเลงเย็นชื่นใจให้คลื่นสมองที่วุ่นวายแบบเบต้าแก่ๆ คลายลงเป็นเบต้าอ่อนๆ และเพิ่มอัลฟา แสงในห้องก็ปรับให้อ่อนลง รุกรานรุกเร้าน้อยลง ให้ผู้เข้าร่วมมีพื้นที่อันอบอุ่นอบอวลสบายๆ เวลาเดินและหยุดก็มีเสียงกระบวนกรนำพาให้กลับมาอยู่กับตัวเอง กลับมาอยู่กับลมหายใจ กลับมาเช็คความตึงหย่อนของกล้ามเนื้อ และน้อมนำให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลมหายใจ หายใจลึกขึ้น ยาวขึ้น เป็นต้น ระหว่างการเดิน ก็ให้จับคู่กันบ้าง หาประเด็นที่เมื่อคุยกันถามไถ่กันแล้วจะรู้สึกเป็นมิตรต่อกันมากขึ้น

อ่านต่อ »

เด็กน้อยผู้บอบบาง... ที่ยังรอคอยอ้อมกอดจากเรา



โดย โอม รัตนกาญจน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 26 มีนาคม 2559

ไม่นานนี้ ผมได้สูญเสียคุณยาย ผู้เป็นบุคคลอันเป็นที่รักของผมไป ช่วงชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก ส่วนใหญ่แล้ว ผมโตมากับท่าน ยายจึงเป็นเหมือนแม่ของผมคนหนึ่งเช่นกัน ผมจึงอยากเขียนบทความชิ้นนี้อุทิศให้แด่การจากไปของยาย ด้วยความรัก ความผูกพันที่มีจากหลานชายคนหนึ่ง ที่สำคัญ ผมเชื่อว่าหากท่านได้อ่านบทความนี้ อาจจะเห็นเรื่องราวของผมเป็นบทเรียน สะท้อนอยู่ในตัวท่าน และมีประโยชน์กับชีวิตครอบครัวของท่านไม่มากก็น้อย

หากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านเห็นภาพ ถ้าพูดถึงยาย สำหรับผมและสมาชิกในครอบครัวแล้ว ท่านถือว่าเป็นแม่บ้านชั้นเลิศ ใส่ใจดูแลความเป็นอยู่ของลูกหลานทุกคนอย่างดี ทำอาหารเก่ง เป็นผู้หญิงคล่องแคล่ว ชอบจัดการ ทำงานบ้านและสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง เป็นที่น่าชื่นชมของทุกคน แต่ในอีกมุมหนึ่ง ท่านเป็นคนที่มีบุคลิกนิสัยแตกต่างจากคนอื่นในครอบครัวโดยสิ้นเชิง กล่าวคือท่านเป็นคนที่เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก โผงผาง เจ้าอารมณ์ โกรธ หงุดหงิดง่าย แต่ละวันไม่แน่นอน ทำให้ลูกหลานส่วนใหญ่รวมถึงผม แม้อยากพูดคุย ใช้เวลาใกล้ชิด แต่ก็ไม่สามารถอยู่ด้วยได้นาน เพราะความเป็นคนเจ้าอารมณ์ของท่าน ในชีวิตคู่ของท่าน ตากับยายผมอยู่บ้านเดียวกัน ถึงกับไม่คุยกันกว่า ๒๐ ปี เพราะบุคลิกนิสัยใจคอที่แตกต่างสุดขั้ว

นอกจากนั้น มีหลายด้านในความเป็นท่าน ที่ผมและลูกๆ หลานๆ ไม่ค่อยเข้าใจนัก ยกตัวอย่างเช่น สมัยสักสิบปีที่ผ่านมา ยายมักจะโทรหาผมและทุกคนในบ้านด้วยท่าทีจริงจังเพื่อสั่งซื้อของอย่างหนึ่ง นั่นคือยาอมสเตร็ปซิลแก้เจ็บคอ ทุกวัน วันละหลายๆ รอบ ที่น่าแปลกใจคือ มีวันหนึ่งผมอยู่บ้าน เห็นท่านอยู่ทั้งวันก็ดูปกติดี แต่พอตกเที่ยง ผมได้ยินยายไอเสียงดังมากจนผมตกใจกลัวท่านเป็นอะไร เลยเดินขึ้นไปหาที่ห้อง พบว่ายายกำลังยกหูโทรศัพท์หาแม่ผมเพื่อฝากซื้อยาอมสเตร็ปซิล ตอนนั้นผมรีบบอกยายว่า “ยาย ผมเพิ่งซื้อมาให้เมื่อวานเอง กล่องใหญ่เลย หมดแล้วหรอครับ” ยายผมตอบกลับมาว่า “เออ! แกไม่ต้องยุ่งหรอก ชั้นซื้อเผื่อไว้” ตอนนั้นผมมองไปที่หัวเตียงยาย เห็นสเตร็ปซิลวางเรียงเป็นตับ เหมือนร้านขายยา หลายกล่องยังไม่ได้เปิดใช้ด้วยซ้ำ ตอนนั้นผมกับทุกคนในครอบครัวเข้าใจและตีความว่าท่านเป็นคนมีพฤติกรรมแบบย้ำคิดย้ำทำ มีทางเดียวก็คือ ต้องเข้าใจและทำใจ

อ่านต่อ »

เมื่อมองเห็นความงามของสิ่งเล็กเล็ก ก็จะเห็นคุณค่าและความหมายของโลกและจักรวาล



โดย ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 19 มีนาคม 2559

ทุกครั้งที่มีโอกาสและเวลา ผมจะออกไปชมและแสวงหาความงามในสวน ไม่ว่าจะเป็นสวนที่บ้าน สวนที่โรงแรมที่ไปพัก แหล่งท่องเที่ยวที่ไปชม เพราะทุกครั้ง จะได้ชมและค้นพบความงามที่แปลกใหม่ไม่เหมือนเดิมตลอดเวลา ช่วยให้ผ่อนคลาย ตื่นตาตื่นใจ เพลิดเพลิน และมีความสุข โดยเฉพาะความงามเล็กเล็กที่ละเอียดอ่อน ละมุนละไม เช่นดอกไม้ เกสรดอกไม้ ลวดลายและสีสันของดอกไม้ ใบหญ้า จากที่ไม่เคยสนใจเป็นพิเศษเพราะคุ้นชินสายตา เช่นดอกกะเพรา หรือโหระพา แต่เมื่อเข้าไปดูใกล้ๆ สังเกตอย่างรอบด้าน ก็มองเห็นความงามที่ละเอียดอ่อนของสิ่งที่สังเกต ทึ่งและประทับใจในความงามตามธรรมชาติ ทำให้ผมเริ่มสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างมีสติเพิ่มมากขึ้น ช้าลง ไม่เร่งรีบ เพราะยิ่งช้า ยิ่งมีสติ ยิ่งสังเกตเห็นมหัศจรรย์ความงามของธรรมชาติมากขึ้นทุกที มองเห็นความงาม คุณค่า และความหมายของสิ่งเล็กเล็กที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ทั้งระหว่างสิ่งเล็กเล็กด้วยกันไปจนถึงสิ่งที่ใหญ่กว่าเช่นโลก เช่นจักรวาล

ผมเริ่มเก็บภาพความงามเล็กเล็กที่ผมพบด้วยกล้องในมือถือ แล้วส่งต่อความงามเหล่านั้นให้เพื่อนๆและคนที่รู้จัก เพียงเพราะอยากแบ่งปันความสุขเล็กเล็กที่มอบให้ได้

ผมเรียนรู้ที่จะขอบคุณอย่างลึกซึ้งต่อสรรพสิ่งที่ช่วยให้ผมได้พบ ได้เห็น ได้สัมผัส และเข้าใจความจริง ความดี และความงามที่ไหลเลื่อนเคลื่อนไป ขอบคุณจริงๆ ...จักรวาล โลก ขุนเขา แม่น้ำ ดอกไม้ใบหญ้า คน สัตว์ เซลล์ โมเลกุล อะตอม ควาร์ค...ขอบคุณสำหรับความงาม คุณค่า และความหมายที่ให้

ปัจจุบัน ผมให้โอกาส ผมให้เวลากับตัวเองเพื่อค้นพบความเปลี่ยนแปลงที่งดงามตามธรรมชาติเสมอ ความสุขช่างงดงาม หาได้ง่ายๆ ใกล้ตัว ไม่แพง

อ่านต่อ »

ยาโยอิ คุซามะ : ป็อปอาร์ตจากสวรรค์



โดย ไพรินทร์ โชติสกุลรัตน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 12 มีนาคม 2559

“ชีวิตฉันคือ จุดๆหนึ่ง ในบรรดาล้านอนุภาค ตาข่ายสีขาวแห่งความว่างเปล่า เกิดมาจากการรวมตัวกันของจุดมหาศาลที่เชื่อมโยงกัน มันจะทำลายตัวฉันและคนอื่น และทั้งจักรวาล” ยาโยอิ คุซามะ

นี่คือคำพูดของ “ราชินีลายจุด” หนึ่งในศิลปินญี่ปุ่นที่ห้างเซ็นทรัลเอ็มบาสซีนำผลงานมาแสดงในงาน Japanese Contemporary Art Show เปิดโอกาสให้คนไทยได้ชมงานของศิลปินผู้ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกคนนี้ (นับจากจำนวนผู้เข้าชมผลงานของเธอในพิพิธภัณฑ์) คุซามะยังเป็นศิลปินหญิงที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ขายงานได้แพงที่สุดในโลกอีกด้วย เอกลักษณ์โดดเด่นจากงานศิลปะลายจุดสร้างชื่อเสียงให้กับเธอตั้งแต่ยุค 60 ทำให้เธอเป็นศิลปินป็อปอาร์ตแถวหน้าของนิวยอร์ค เคยแสดงงานร่วมกับแอนดี้ วอร์ฮอล ราชาแห่งป็อปอาร์ตหลายครั้ง วันนี้ ในวัย 87 ปี คุซามะยังคงสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและอาศัยอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวช ในกรุงโตเกียว ที่ที่เธอเรียกว่าบ้านมา 40 กว่าปีแล้ว !

ลายจุดอันโดดเด่นของเธอมีเบื้องหลังที่น่าพิศวงเป็นอย่างยิ่ง ในทางการแพทย์ ศิลปินผู้โด่งดังนี้ถูกระบุว่ามีอาการประสาทหลอน เธอบอกว่า “เมื่อเขียนรูป ลวดลายจะขยายออกจากผืนผ้าใบ ไปเต็มทั่วพื้นและผนัง พอฉันมองออกไปไกล ฉันจะเห็นภาพหลอนและฉันจะถูกโอบล้อมด้วยภาพเหล่านั้น” นอกจากนั้นเธอยังมีภาวะย้ำคิดย้ำทำอีกด้วย เราจึงเห็นงานของเธอเต็มไปด้วยภาพซ้ำๆ โดยเฉพาะจุดซ้ำๆ มากมายทั่วทั้งภาพ ตั้งแต่เด็กแล้วที่คุซามะเห็นภาพหลอนเหล่านี้ และศิลปะเป็นทางออกที่จะแปรเปลี่ยนความ “ผิดปกติ” ทางการแพทย์ให้ออกมาเป็นความสร้างสรรค์ เธอกล่าวว่า “ฉันไม่ได้ต้องการพยายามจะเป็นศิลปิน ฉันแค่พยายามจะนำรูปวงกลมสีขาวเหมือนเมล็ดข้าวฟ่างที่มากมายทวีคูณไม่รู้จบลงไปอยู่ในฝาผนังและกระดาษวาดรูป” ภาวะทางจิตนี้กลับส่งผลให้เธอผลิตผลงานออกมาอย่างสร้างสรรค์ล้ำเกินกว่าใครจะจินตนาการได้

อ่านต่อ »

ชีวิตคู่: สวรรค์หรือนรก หรือเรื่องตลก



โดย สมพล ชัยสิริโรจน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 5 มีนาคม 2559

“ชายสองคนตายลงไปพบยมบาล ยมบาลถามชายคนแรกว่า แต่งงานหรือยัง เขาตอบว่า แต่งมาแล้วยี่สิบปี ยมบาลไล่คนแรกให้ไปขึ้นสวรรค์ ยมบาลถามคนที่สองคำถามเดียวกัน ชายคนที่สองบอกว่า ยังไม่ได้แต่งงาน ยมบาลสั่งให้คนที่สองไปลงนรก ชายคนที่สองประท้วงถามว่า ทำไมเขาต้องลงนรก ยมบาลตอบว่า เพราะคนแรกเขาลงนรกมาแล้วยี่สิบปี ส่วนเจ้าคนที่สองยังไม่เคย”

แม้นเรื่องเล่านี้จะเป็นเพียงเรื่องขำขันไว้เล่าบนโต๊ะอาหาร แต่ก็สะท้อนความรู้สึกลึกๆ ของผู้คนในสังคมยุคนี้ได้ไม่น้อยว่า เขารู้สึกอย่างไรกับชีวิตแต่งงาน ไม่ว่าตัวละครในเรื่องนี้จะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม

ความรู้สึกแปลกแยกไม่สมหวังในการแต่งงาน นอกจากเกาะกินจิตใจของคนที่เกี่ยวข้อง ยังสั่นสะเทือนพื้นฐานของชีวิตครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และครอบครัวที่ไม่สามารถรับมือกับ “นรก” ของชีวิตแต่งงาน ก็แทบจะขาดทักษะที่จะรับมือกับวิกฤติของนรกรอบตัว จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิกฤติในที่สุด

อดตั้งคำถามไม่ได้ว่า อะไรทำให้การแต่งงานซึ่งต่างเป็นที่ปรารถนาของชายหญิง จนถึงกับเฉลิมฉลองกันอย่างเอิกเกริก เชิญแขกเหรื่อเพื่อนฝูงผู้หลักผู้ใหญ่มาร่วมอวยพร กลายเป็นเรื่องไม่สมปรารถนา จนเป็นนรกไปได้

อาจจะเป็นเพราะคู่แต่งงานต่างมีมโนจริตคิดไปเองว่า เมื่อปลงใจรักกันแล้ว จนตกลงอยู่กินด้วยกันนั้น เป็นเพราะต่างเข้าใจอกเข้าใจตรงกัน มีนิสัยใจคอที่ตรงกัน “น่า” จะเข้ากัน เพราะมีอะไรเหมือนกันจึงมารักกัน จนอยู่ด้วยกัน ดังนั้น เมื่อมีอะไรขัดแย้งกันไม่เข้าใจกันเกิดขึ้น ต่างคนต่างเห็นว่า “ไม่น่า” จะเป็นเช่นนั้น ต่างจึงผิดหวังในกันและกัน และสวรรค์ที่วาดไว้พังลงกลายเป็นนรก ความสุขสดชื่นหายไปกลายเป็นความขมขื่น คนรักที่คุ้นเคยใกล้ชิดแปลกแยกกลายเป็นคนแปลกหน้า

อะไรจะเกิดขึ้นเล่า หากเราวางจริตซึ่งคิดไปเองว่า เราเหมือนกันใจตรงกันจึงอยู่กินกัน แล้วกลับมองว่า เพราะเราต่างกัน แตกต่างอย่างคนละขั้ว สุดโต่งกันคนละข้างต่างหาก เราจึงโดนดึงดูดให้รักกัน ราวกับแม่เหล็กขั้วบวกดึงดูดขั้วลบ อะไรจะเกิดขึ้นหากเรารู้ทันความแตกต่างที่ว่านี้

อ่านต่อ »

ภาวนาหาอะไร?



โดย ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559

ในบรรดาคำที่ใช้แพร่หลายใน 'วงการ' จิตวิวัฒน์ จิตตปัญญา ผมไม่ชอบคำว่า "นักภาวนา" หรือ "นักปฏิบัติ" เลย และผมจะรู้สึกกระอักกระอ่วนใจอย่างบอกไม่ถูกถ้าหากใครใช้คำว่าภาวนา เป็นคำกริยา เช่น "เราไปภาวนาที่นั่นมา"​ หรือ "เราไปปฏิบัติมา ที่นี่ดีนะ" อาจจะเป็นเพราะผมมักจะพบเจอบุคคลที่เรียกตัวเองว่าเป็นนักภาวนา แต่กลับมีพฤติกรรมไม่แตกต่างจากคนทั่วไป แต่เนื่องจากผมยังไม่พร้อมที่จะสร้างคำใหม่มาประดับบรรณโลก ในวันนี้ผมจึงต้องขออนุญาตใช้ไปก่อน

การพบปะบุคคลเหล่านั้น ทำให้ผมมองว่ามันถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีตัวบ่งชี้ความเป็น "นักภาวนา" มันควรจะต้องมีหลักหมุดอะไรบางอย่างที่บอกถึงลำดับขั้นของพัฒนาการทางจิต อย่างน้อยก็เพื่อให้ตนเอง และผู้ที่รักจะเดินบนเส้นทางนี้ สามารถสังเกตและเปรียบเทียบได้ว่าตนเองเดินทางมาถึงจุดใดแล้ว

ผมต้องยอมรับกับผู้อ่านว่าความพยายามในการ "ปักหมุด" ของผมนั้น เป็นความทะเยอทะยานเกินตัว เป็นแนวคิดที่อยู่ระหว่างการพัฒนา และไม่อาจจะยืนยันด้วยหลักการวิชาการใดๆ เพราะอาศัยประสบการณ์ส่วนตัวและการสนทนากับผู้รู้ และถ้าหากผิดพลาดคลาดเคลื่อนแต่ประการใด ย่อมเป็นความด้อยปัญญาของผมเอง

เกณฑ์ในการที่ผมใช้แยกแยะก็คือ ความสามารถในการเห็นสภาวะที่เกิดขึ้นกับจิตโดยไม่ถูกสภาวะเหล่านั้นครอบงำ คือ "เห็นมัน"​ แต่ไม่ได้ "เป็นมัน" นั่นเอง ซึ่งการจะทำอย่างนั้นได้ต้องอาศัยการฝึกเรื่อง "ความรู้สึกตัว" จนจิตใจเกิดความละเอียดประณีตขึ้น สามารถเห็นรายละเอียดซึ่งเมื่อก่อนมองไม่เห็น

ผมจะข้ามเรื่องวิธีการฝึกไป โดยสามารถหาจากบทความเก่าๆ ของผม แต่ผมจะพูดถึงผลที่เกิดขึ้นจากการฝึก "ความรู้สึกตัว" ในชีวิตประจำวันเลย

อ่านต่อ »

จิตวิญญาณใหม่ของขบวนการทำงานเรื่องผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศในสังคมไทย



โดย จารุปภา วะสี
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559

ไม่นานมานี้ ผู้เขียนมีโอกาสเป็นผู้นำกระบวนการพูดคุยเพื่อถอดบทเรียนการทำงานของโครงการต่างๆ ในแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ ของสมาคมเพศวิถีศึกษา ซึ่งรับทุนดำเนินการจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในช่วงสามปีที่ผ่านมา ทำให้ได้เป็นประจักษ์พยานถึงการก่อรูปใหม่ของขบวนการทางสังคมประเด็นผู้หญิง ซึ่งมีคุณภาพบางอย่างต่างไปจากเดิม

ขบวนคนทำงานเกือบ ๕๐ ชีวิตในเวทีถอดบทเรียน มีทั้งเอ็นจีโอและเจ้าของปัญหาจากพื้นที่ที่มีความไม่เป็นธรรมทางเพศและทางสังคมซ้อนทับกันอยู่หลายชั้น คือเครือข่ายกลุ่มผู้หญิงม้ง ผู้หญิงมุสลิมจากปัตตานี คนทอผ้าไหมจากสุรินทร์ ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีที่ขอนแก่น มีคนทำงานเรื่องท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น ทั้งที่เป็นชาวบ้านในชุมชนจากอำนาจเจริญ และเจ้าหน้าที่ในระบบสุขภาพของรัฐจากสงขลา มีชาว ขสมก. ที่ผู้บริหารองค์กรกับชาวสหภาพแรงงานจับมือกันเพื่อเปลี่ยนองค์กรขนาด ๑๓,๐๐๐ คนให้ปลอดการคุกคามทางเพศ มีกลุ่มตำรวจหญิงที่กำลังสร้างระบบการทำงานสอบสวนที่ละเอียดอ่อนต่อผู้หญิงและเด็ก และมีกลุ่มนักวิชาการจากกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยที่กำลังสร้างหลักสูตรและกระบวนกรเพื่อให้หน่วยงานในระบบสุขภาพของรัฐเข้าใจเรื่องสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ

ผู้เขียนสัมผัสถึงพลังงานของความร่าเริง มีชีวิตชีวา ยอมรับและเคารพความต่างของกันและกันของคนกลุ่มนี้ หลายคนบอกว่าความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกัน ทำให้พวกเขารู้สึกเหมือนได้กลับบ้านทุกครั้งที่มาเจอกัน

อ่านต่อ »

การเรียนรู้ที่ไม่ใช่เพื่อเรียนรู้



โดย ชลนภา อนุกูล
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559

ในช่วงสัปดาห์แรกหลังปีใหม่ ข้าพเจ้ามีโอกาสเดินทางไปเยือนอีสานร่วมกับเครือข่ายร่วมพัฒนาศักยภาพผู้นำการสร้างสุขภาวะแนวใหม่ (คศน.) ช่วงระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เพื่อร่วมเรียนรู้กับกัลยาณมิตรท่านอื่นอีกเกือบสามสิบคนในฐานะนักเรียน คศน. รุ่น ๕

ในมิติการเดินทางในโลกกายภาพ การเดินทางไปอีสานถือว่าเป็นเรื่องใหม่ของข้าพเจ้า เพราะแทบไม่เคยไปเที่ยวหรือมีเหตุให้ไปอีสานเลย ภาพอีสานในหัวตั้งแต่วัยเด็กก็คือร้อนและแล้ง ผิวดินแตกระแหง ก่อนเดินทางจึงต้องเปิดแผนที่และนั่งอ่านข้อมูลของจังหวัดต่างๆ รวมทั้งสถานที่ที่จะไปในคืนก่อนเดินทาง และข้อค้นพบแรกของตนเองก็คือ มีความรู้เรื่องอีสานและประเทศไทยอยู่ในระดับแค่หางอึ่งเท่านั้น

เนื้อหาการเรียนรู้ในครั้งนี้แบ่งเป็นมิติประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการเมือง สอดคล้องตามชื่อหัวข้อกระบวนการเรียนรู้ “การเดินทางสู่ผืนแผ่นดินอีสาน เรียนรู้วัฒนธรรม ตามรอยประวัติศาสตร์ ถอดรหัสการเมืองอีสาน”

การรู้จักกับอีสานในมิติประวัติศาสตร์ผ่านชั่วโมงอีสานศึกษาบนรถกับการเยี่ยมชมโบราณสถานและสถานที่สำคัญต่างๆ ทำให้ความเข้าใจเรื่องอีสานจากเดิมที่เป็นเสมือนภาพแบน-แบนสองมิติในหัวเริ่มถูกสลักสกัดให้เป็นประติมากรรมสามมิติ เมื่อบวกมิติที่สี่ คือเวลาทางประวัติศาสตร์เข้าไปด้วย ก็ยิ่งทำให้เห็นความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของแผ่นดินอีสานมากขึ้น

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เพชรบูรณ์ กับปราสาทหินพนมรุ้งและปราสาทหินเมืองต่ำ บุรีรัมย์ ทำให้เห็นอิทธิพลของวัฒนธรรมเขมรโบราณต่อภูมิภาคแถบนี้ชัดเจน นารายณ์ราชนิเวศน์ ลพบุรี ก็ทำให้เราตื่นใจกับการเชื่อมต่อของภูมิภาคนี้กับโลกภายนอก เห็นการค้าระหว่างประเทศยุคก่อนโลกาภิวัตน์ที่ก้าวหน้าไปถึงการรับจ้างเป็นขุนนางและทหารรักษาพระองค์ และเห็นประวัติศาสตร์ของพระราชาที่เต็มไปด้วยการเมืองแห่งความไม่ไว้วางใจ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่วัดพระธาตุศรีสองรัก พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน บ้านเจ้าแม่เทียม เลย วัดทุ่งศรีเมืองและวัดสุปัฎน์ อุบลราชธานี ก็ทำให้เห็นร่องรอยการต่อสู้คัดง้างทางอำนาจระหว่างท้องถิ่นกับส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการจัดการวัฒนธรรมของรัฐผ่านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ลดทอนความศักดิ์สิทธิ์ในฐานะความเชื่อหรือศักดิ์ศรีความภาคภูมิใจของชุมชน

อ่านต่อ »

Back to Top