เมษายน 2017

ฟินด์ฮอร์น ชุมชนทางเลือกชายฝั่งทะเลเหนือ



โดย ประชา หุตานุวัตร
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 29 เมษายน 2560

ผมมาถึงชุมชนทางเลือกชื่อฟินด์ฮอร์น ทางเหนือของสกอตแลนด์ ในวันที่ ๒๕ มีนาคม ศกนี้ เป็นวันเปลี่ยนเวลาพอดี ทำให้เวลาที่ต่างจากประเทศไทยเหลือ ๖ ชั่วโมงแทน ๗ ชั่วโมง บ่งบอกการสิ้นสุดฤดูหนาว ก้าวเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิอย่างเต็มตัว อากาศสดใส ฟ้าสีครามไร้เมฆ แดดเจิดจ้า แต่อากาศนอกบ้านหนาวจับใจ ปีนี้ ดอกแดฟโฟดิลกำลังผลิบาน ตามหน้าบ้านและตามริมทางสาธารณะทั่วไปแลเหลืองสะพรั่ง ดอกสโนว์ดร็อบสีขาวเรี่ยดินก็โผล่ขึ้นมาตามโคนไม้ใหญ่ตรงนั้นตรงนี้ ทิวลิบกำลังแย้ม อีกไม่กี่วันคงอวดสีสดฉูดฉาดแข่งกับดอกไม้หลากสีของฤดูกาลนี้

ที่นี่อยู่ทางตอนเหนือของสกอตแลนด์ ชายฝั่งทะเลเหนือ เป็นชุมชนที่ฝรั่งเรียกว่าผู้คนตั้งใจสร้างขึ้นใหม่ และภายหลังได้ชื่อเพิ่มว่าเป็นชุมชนนิเวศด้วย เมื่อเกิดชุมชนแบบนี้ทั่วยุโรป จึงรวมตัวกันเป็นเครือข่ายชุมชนนิเวศของโลกและพยายามเผยแพร่การจัดตั้งชุมชนแบบนี้ ในฐานะเป็นคำตอบหนึ่งของการหาทางออกให้แก่มนุษยชาติ เพื่อไปพ้นจากวิกฤตหลายด้านที่กำลังเผชิญอยู่

ผู้นำชุมชนหลายคนจากชุมชนเหล่านี้ทั่วยุโรป เคยมาประชุมร่วมกันที่อาศรมวงศ์สนิท เพื่อปรึกษาหารือกันเรื่องหลักสูตรที่จะให้การศึกษาเพื่อขยายชุมชนแบบนี้ อาศรมวงศ์สนิทก็เลยได้ชื่อเป็นชุมชนนิเวศไปด้วย และทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกันมา

ชุมชนฟินด์ฮอร์นสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยผู้ก่อตั้งสามคน คือ ปีเต้อ แคดดี้ (Peter Caddy) กับภรรยาคือ ไอลีน แคดดี้ (Eileen Caddy) และโดโรธี แมคเคน (Dorothy Mcclain) ไอลีนนั้นสามารถสื่อกับเทพชั้นสูงได้ ส่วนโดโรธีสามารถสื่อกับรุกขเทวากับสัตวเทวาได้ ถ้าพูดภาษาบ้านเรา สตรีทั้งสองท่านนี้ก็เป็นคนทรงนั่นเอง ส่วนปีเต้อนั้นเป็นคนเชื่อ และเป็นคนปฏิบัติ นำสิ่งที่สตรีทั้งสองรับสื่อมา ออกสู่การปฏิบัติเป็นประจำวัน

อ่านต่อ »

ตื่นรู้ในกายเพื่อจิต สู่ความผาสุกและอิสรภาพที่แท้จริงของชีวิต



โดย วิศิษฐ์ วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 22 เมษายน 2560

เมื่อเร็วๆ นี้ ผมอ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ The Practicing Mind: Developing Focus and Discipline in Your Life ของธอมัส สเติร์นเนอร์ (Thomas M. Sterner) ผมยกให้เป็นหนังสือดีที่สุดเล่มหนึ่งที่ได้อ่านในรอบหนึ่งปี

ธอมัส สเติร์นเนอร์ เป็นนักดนตรีแจ๊สและช่างจูนเปียโน ตอนหนึ่ง เขาเล่าเรื่องการจูนเปียโน ว่าด้วยการฝึกฝนตนเอง แทนที่จะใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ อย่างไม่ตั้งใจ อย่างไม่ตื่นรู้ ก็เปลี่ยนมาเป็นการใช้ชีวิตที่ตั้งใจและตื่นรู้ สังเกตความเป็นไปของชีวิต ณ ขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นเพียงการล้างหน้า การบริหารร่างกายเล็กๆ น้อยๆ เมื่อตื่นนอนก็ตาม หากเราใส่ใจ เราสามารถนำมาเป็นการปฏิบัติได้ทั้งสิ้น

ธอมัสเล่าว่า วันนั้น เขาต้องจูนเปียโนสองตัว ตัวใหญ่สำหรับนักแสดงเปียโน ตัวเล็กสำหรับวงออเครสต้าที่จะเล่นล้อไปกับนักแสดง นับว่างานหนักเอาการ เพราะการจูนเปียโนเป็นงานที่ละเอียดอ่อนและซ้ำซาก ต้องจูนสายเปียโนไปทีละสาย กว่าจะเสร็จต้องใช้เวลานานมาก

ธอมัสมีไอเดียว่าเขาจะทำงานให้ช้าลง นี่แหละครับเป็นจุดเริ่มต้นของความแตกต่าง เขาเริ่มจากเปียโนตัวแรกสำหรับนักแสดง ปกติเขาจะรวบเครื่องมือเอามากองแล้วเริ่มทำงาน แต่วันนี้ เขาค่อยๆ หยิบเครื่องมือแต่ละตัวออกมาวางเรียงอย่างเป็นระเบียบ แล้วเริ่มจูนเปียโนทีละสายอย่างช้าๆ อย่างตั้งใจไปเรื่อยๆ จนจบงาน

อ่านต่อ »

“ความดี” หลากวัย



โดย ธัญลักษณ์ ศรีสง่า
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 14 เมษายน 2560

ความตั้งใจทำ “ความดี” ของคนแต่ละช่วงวัยเป็นอย่างไร คือ คำถามที่ทีมนวัตกรรมองค์ความรู้ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) นำมาออกแบบแบบสอบถามเก็บข้อมูลการตั้งปณิธานทำความดีของคนในสังคมไทย เพื่อสนับสนุนโครงการ ๗๐ บุคคลต้นแบบ ๗ ล้านความดี “ทำดีตามรอยพ่อ สานต่องานที่พ่อทำ” และเพื่อนำข้อมูลนี้มาวิเคราะห์จัดทำเป็นรายงานสถานการณ์การตั้งใจทำความดีของคนทุกช่วงวัย ปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐

ทีมงานออกแบบประเด็นคำถามโดยเชื่อมโยงประเด็นการตั้งใจทำความดีของคนในสังคมไทย ซึ่งเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันเข้ากับแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔) ที่มุ่งขับเคลื่อนคุณธรรม ๔ ประเด็น คือ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

อย่างไรก็ตาม ทีมงานตระหนักดีว่า ท่ามกลางความหลากหลายของคนในสังคม การระบุประเด็นการตั้งใจทำความดีไว้เฉพาะคุณธรรม ๔ ประเด็นข้างต้น อาจเป็นการ “สร้างกรอบ” การความตั้งใจทำความดีของคนในสังคมมากเกินไป ด้วยเหตุนี้ แบบสอบถามจึงมีคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบเลือกนิยาม “ความดี” ที่ตนเองตั้งใจทำอย่างอิสระอีกส่วนหนึ่ง นอกเหนือจากส่วนที่เลือกตอบแบบปรนัย

อ่านต่อ »

ปฏิบัติการ “กล้าที่จะสอน” (๒)



โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 8 เมษายน 2560

จากผลของการจัดหลักสูตร “กล้าที่จะสอน” ๖ ประการดังได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้าแล้ว (ตีพิมพ์ใน มติชนรายวัน ๑ เมษายน ๒๕๖๐) ในฐานะกระบวนกร ผมรู้สึกว่าครูทั้งหลายเปิดรับและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ทั้งสองโมดุลอย่างเต็มที่ และได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนแบ่งปันและทักษะการดูแลตัวเองและการสื่อสารกับคนอื่นได้อย่างตั้งอกตั้งใจ จนนำไปประยุกต์กับการสอนในชั้นเรียนอย่างได้ผลเกินความคาดหมาย คิดว่ากิจกรรมอีกสองโมดุลข้างหน้า จะยิ่งเพิ่มศักยภาพและทักษะในการเป็นครูกล้าสอน กล้าให้พื้นที่กับชีวิตและธรรมชาติทั้งภายในตัวเองและในตัวผู้เรียนได้อย่างมีพลัง ซึ่งจะตอบโจทย์การเรียนรู้ที่เอาศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และพลิกกระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียนให้มีชีวิตชีวาและมีประสิทธิภาพ

การทำงานครั้งนี้ ยังทำให้มีความเข้าใจมากขึ้นในระบบการศึกษานั่นคือ

๑. สังคมยังมีคนที่มีใจจะสอน อยากเห็นลูกศิษย์หรือเยาวชนเติบโตทั้งทางจิตใจ มุมมอง และความสามารถทางการศึกษา และเชื่อว่าครูเหล่านี้มีความสามารถและความรู้ที่สามารถจะสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ เพียงต้องการพื้นที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยน ทบทวนชีวิต และวิธีการสอนของตัวเอง เพื่อเพิ่มพลังใจในวิชาชีพครู ดังนั้น โครงการจึงเน้นความสำคัญที่การเรียนรู้จากกันและกันมากกว่าการให้ความรู้แบบการอบรมสัมมนา ที่เน้นการรับความรู้จากวิทยากรเป็นหลัก

อ่านต่อ »

Back to Top